(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China takes on the US -in space
By Alan Boyd
05/06/2008
ในการประเมินภาพรวมของการสั่งสมกำลังอาวุธในทั่วโลก เจ้าหน้าที่ทหารระดับท็อปของจีนหลายคน ได้กล่าวหาวอชิงตันว่า กำลังโหมกระพือการแข่งขันอาวุธ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเข้าควบคุม “บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้” (the commanding heights) จีนนั้นเชื่อว่าการประจันหน้ากันในอวกาศ โดยที่น่าจะเป็นการเจอกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯมากที่สุด คือสิ่งที่หลีกหนีอย่างไรก็คงไม่พ้น และกำลังเตรียมตัวเพื่อรับมือกับเรื่องเช่นนี้ สำหรับทางด้านสหรัฐฯเอง ก็ปรากฏว่ากำลังปรับตัวให้พร้อมรับความเป็นไปได้ที่จะถูกจีนเข้าโจมตีระบบสื่อสารและตรวจการณ์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในอวกาศของตน
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ซิดนีย์ – บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางทหารของจีนเชื่อว่า การประจันหน้ากันในอวกาศ โดยอาจจะเป็นการเจอกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯนั้น คือสิ่งที่หลีกหนีอย่างไรก็คงไม่พ้น สิ่งที่พวกเขายังไม่ได้พูดกันออกมาก็คือ พวกเขาคาดหมายว่าจะเป็นฝ่ายชนะหรือเปล่า
ในการประเมินภาพรวมของการสั่งสมกำลังอาวุธในทั่วโลก เจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านลดกำลังอาวุธ 2 คนของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน (People’s Liberation Army หรือ PLA) ได้ออกมากล่าวหาทางการวอชิงตันในสัปดาห์นี้ว่า กำลังโหมกระพือการแข่งขันอาวุธ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเข้าควบคุม “บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้” (the commanding heights)
“ในอนาคตอันไม่ยาวไกลนัก แน่นอนเหลือเกินว่าอวกาศจะกลายเป็นเวทีของการต่อสู้กันระหว่างประเทศต่างๆ” สือเหนิงอู่ แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศของจีน กล่าว
ทำนองเดียวกัน คำพูดของ พลโท หม่าเสี่ยวเถียน รองเสนาธิการทหารของพีแอลเอ ณ การประชุมประจำปีด้านกลาโหมและความมั่นคงที่สิงคโปร์ ซึ่งเรียกกันว่า “การสนทนาแชงกรีลา” (Shangri-La Dialogue) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (การประชุมปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน ณ โรงแรมแชงกรีลา สิงคโปร์ –ผู้แปล) ดูจะมีความคลุมเครือน้อยกว่าเสียอีก เขาไม่ได้เอ่ยอ้างถึงสหรัฐฯเลย (นอกเหนือจากการรวมเอาเรื่องพายุเฮอร์ริเคน “แคทรีนา” เข้าไว้ในรายการภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ มานี้) แต่ได้ระบุว่า “การขยายกลุ่มพันธมิตรทางทหาร” และ “พัฒนาการและการขยายระบบป้องกันขีปนาวุธ” คือส่วนหนึ่งของการท้าทายใหญ่ทางด้านความมั่นคงซึ่งภูมิภาคแถบนี้กำลังเผชิญอยู่
อันที่จริง พีแอลเอได้เคยออกคำทำนายแห่งการประจันหน้ากัน อันชวนให้หดหู่มืดมนทำนองเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว และโดยปกติจะพ่วงมาด้วยการเรียกร้องให้มีการเจรจาทำสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธ ซึ่งเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นการที่จีนยอมรับว่ายังขาดความสามารถที่จะแข่งขันด้วย รวมทั้งอาจจะถูกใช้เป็นม่านกำบังความล้าหลังในด้านการวิจัยและพัฒนาของปักกิ่งเอง
ทว่านับแต่ที่พวกเขาประสบความสำเร็จในการยิงขีปนาวุธจากพื้นดิน ขึ้นไปทำลายดาวเทียมตรวจอากาศที่ล้าสมัยดวงหนึ่งของพวกเขาซึ่งกำลังอยู่ในวงโคจรรอบนอกเมื่อเดือนมกราคม 2007 กองทัพจีนก็สามารถที่จะพูดจาและดำเนินการต่างๆ จากจุดยืนที่ค่อนข้างแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม
ขีปนาวุธแบบ 4 ท่อนลูกนี้ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบๆ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อตอนพุ่งใส่ดาวเทียม ได้ก่อให้เกิดแรงกระทบกระแทกที่รุนแรงทรงพลังมาก จนกระทั่งเศษซากที่หลงเหลือปลิวฟุ้งกระจายไปเป็นระยะทางราวครึ่งโลก ส่อให้เห็นเจตนาที่จะทิ้งร่องรอยให้ปรากฏในเชิงยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ตอบโต้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ด้วยการใช้จรวดลูกหนึ่งยิ่งดาวเทียมของตนเองดวงหนึ่งที่กำลังตกกลับลงมาสู่โลก ณ บริเวณเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นการทำลายข้อผูกพันในยุคทศวรรษ 1980 ที่ว่าจะไม่ดำเนินการทดสอบ “ระบบอาวุธเพื่อทำลายดาวเทียมที่กำลังอยู่ในวงโคจร” (Anti-Satellite weapons หรือ ASATs)
เวลานี้มี 32 ประเทศในโลกที่ทราบกันว่ามีสมรรถนะทางด้านขีปนาวุธ โดยทางชาติเอเชียก็ประกอบด้วยพวกประเทศที่เป็นคู่ปรปักษ์กันอยู่อย่าง อินเดียและปากีสถาน, เกาหลีใต้และเหนือ, นอกจากนั้นยังมี อิสราเอล, ซีเรีย, ไต้หวัน, อิหร่าน, เวียดนาม, อียิปต์, และซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนถึงรัสเซีย, จีน, และสหรัฐฯ ประเทศเหล่านี้รายไหนๆ ก็มีความสามารถทางเทคนิคที่จะเปิดการสู้รบทางทหารในอวกาศได้ ถึงแม้ประเทศส่วนมากอาจจะทำได้เพียงขอบเขตที่จำกัด นั่นคือแค่การโจมตีด้วยจรวดที่ยิงจากพื้นดินสู่อากาศเท่านั้น
ประเทศเหล่านี้แทบทั้งหมดต่างเป็นผู้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยอวกาศ (Outer Space Treaty) อันเป็นข้อตกลงที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติในปี 1967 ภายหลังการเจรจากันอย่างวกเวียนอ้อมค้อมระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียต โดยที่จีนก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ชาติซึ่งยอมรับเนื้อหาของมาตราต่างๆ ในสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างเต็มที่
ทางฝ่ายจีนได้ตั้งข้อสังเกต ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากองค์การรณรงค์เพื่อสันติภาพบางแห่ง ว่าสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นเศษซากของสงครามเย็น โดยจัดทำขึ้นในยุคสมัยที่แนวความคิดเรื่องการมีดาวเทียมติดอาวุธและโคจรอยู่รอบๆ โลก ตามแบบภาพยนตร์แห่งจินตนาการอนาคตชุด สตาร์ วอร์ส ยังคงเป็นสมบัติเฉพาะของพวกนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น
แต่หน้าที่ความผูกพันหลักของผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือ จะต้องไม่นำเอา “อาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างชนิดอื่นๆ”, ค่ายทหารหรือป้อมปราการทางทหาร ไปประจำไว้ในวงโคจรรอบๆ โลก หรือบนเทห์ฟากฟ้าใดๆ ตลอดจนไม่ดำเนินการทดสอบอาวุธ หรือดำเนินการเคลื่อนไหวทางทหารในอาณาบริเวณดังกล่าว
สำหรับอาวุธตามแบบแผนนั้น การนำไปประจำในอวกาศถือเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายชนิดไม่มีข้อกังขา นอกจากนั้น ยังไม่มีข้อห้ามใดๆ ในเรื่องการยิงขีปนาวุธที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นดินขึ้นไปในอวกาศอีกด้วย เนื่องจากทั้งสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตต่างก็กำลังพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป ตลอดจนโครงการอวกาศแบบสันติกันอยู่ในตอนที่มีการลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้
ทำนองเดียวกัน มีการตีความกันไปอย่างกว้างขวางมากว่า “อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้าง” นั้นครอบคลุมถึงอะไรบ้าง โดยที่มีข้อเท็จจริงดังที่พวกเจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯชี้กันเอาไว้ ว่าในทางปฏิบัติแล้วอะไรก็ตามที่สามารถพุ่งทะยานขึ้นไปในอวกาศได้ ย่อมสามารถใช้เล่นงานดาวเทียมได้ทั้งนั้น แม้จะไม่ได้มีการละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้เลย
จีนนั้น เป็นชาติที่อยู่ในแถวหน้าของความพยายามที่จะขยายข้อตกลงนี้ให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น กระนั้นก็ตาม แม้กระทั่งเวอร์ชั่นที่ฝ่ายจีนเสนอออกมาในสหประชาชาติ ในรูปของร่างสนธิสัญญาเมื่อปี 2002 ก็ยังคงห่างไกลนักจากสิ่งที่พวกกลุ่มรณรงค์ลดกำลังอาวุธเรียกร้องกัน นั่นคือ การยุติการแข่งขันอาวุธ
ร่างสนธิสัญญาของฝ่ายจีน ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากประเทศจำนวนหนึ่งที่มีความแตกต่างหลากหลายมาก อาทิ รัสเซีย (ซึ่งเข้าแทนที่สหภาพโซเวียตในฐานะผู้ลงนามรายหนึ่งในสนธิสัญญาอวกาศ), ซิมบับเว, ซีเรีย, เบลารุส, และเวียดนาม ได้เสนอให้ห้ามการติดตั้งอาวุธที่มีฐานอยู่ในอวกาศทุกชนิด กระนั้นก็ตาม ขีปนาวุธที่มีฐานอยู่ในภาคพื้นดิน ก็ยังคงถูกเพิกเฉยตามเคย
บางทีปักกิ่งอาจเพียงอยากมองโลกตามสภาพความเป็นจริงเท่านั้น เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงที่สมเหตุสมผลในเรื่องที่จะต้องยอมให้มีการพัฒนาจรวดสำหรับใช้ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ตลอดจนโครงการอวกาศในขอบเขตกว้างไกลกว่านั้น ทว่ากลุ่มอนุรักษนิยมทรงอำนาจในสหรัฐฯ กลับมองด้วยความระแวงว่า จีนเสนอเรื่องนี้ออกมา เพราะมีแรงจูงใจในทางมุ่งร้ายแอบแฝงอยู่
“ทั้งๆ ที่จีนกำลังพยายามเรียกร้องรวมพลังแนวร่วมหลายๆ ชาติ ตลอดจนมติมหาชน เพื่อคัดค้าน ‘กระบวนการทำให้อวกาศกลายเป็นอาวุธ’ แต่ปักกิ่งก็กลับยังคงแอบเดินหน้าพัฒนาอาวุธของตนที่ใช้อวกาศเป็นฐานขึ้นมา รวมทั้งพัฒนายุทธวิธีที่จะทำลายทรัพย์สินทางทหารของฝ่ายอเมริกัน” แลร์รี เอ็ม เวิร์ตเซล รองประธานฝ่ายนโยบายการต่างประเทศและการกลาโหมศึกษา ของมูลนิธิ เฮริเทจ ฟาวน์เดชั่น กล่าวโจมตีเอาไว้ในบทวิจารณ์ชิ้นหนึ่ง
“ยุทธศาสตร์ของจีนในที่นี้ก็คือ การมุ่งลดทอนความเหนือกว่าทางการทหารของอเมริกัน ด้วยการพยายามจำกัด และถึงที่สุดแล้วก็จะพยายามลบล้างทรัพย์สินด้านกลาโหมที่ตั้งฐานอยู่ในอวกาศอยู่แล้วในเวลานี้ของสหรัฐฯ ตลอดจนเพื่อขัดขวางการนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้าประจำการ โดยที่พวกผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวนี้ จะเป็นเครื่องป้องกันชั้นดีที่สุดจากการถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธข้ามทวีป”
เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ของจีนได้ประกาศยืนอยู่เคียงข้างรัสเซีย ในการรณรงค์ที่ดำเนินมายาวนานแล้วของฝ่ายมอสโก ที่จะสกัดกั้นการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เอเชียตะวันออกจำนวนมาก โดยที่ส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าวนี้จะปฏิบัติการจากฐานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ปักกิ่งนั้นกำลังวิตกว่าการตัดตั้งระบบดังกล่าวของอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยจรวดสกัดกั้นที่ตั้งฐานอยู่ในอวกาศ จะสามารถขัดขวางขีปนาวุธของพีแอลเอที่กำลังได้รับการปรับปรุงให้ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีวัตถุประสงค์ที่จะเล็งเป้าหมายโจมตีไปยังเกาะไต้หวันซึ่งฝ่ายจีนเรียกว่าเป็นดินแดนกบฎ ตลอดจนฐานทัพต่างๆ ของสหรัฐฯในแถบแปซิฟิก
แน่นอนทีเดียว กลไกทางทหารของจีนไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆ ขณะที่นักการทูตแดนมังกรกำลังดำเนินการสร้างอุปสรรคขัดขวางฝ่ายอเมริกัน นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงหลายรายบอกว่า จีนกำลังทุ่มเทเงินทองเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งรบกวนการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม, การพัฒนาอาวุธแสงเลเซอร์, และการปรับปรุงจรวดที่มีขนาดน้ำหนักบรรทุกมากๆ ของตนให้ดีขึ้นไปอีก
สถาบันวิจัยทางเทคโนโลยีของจีน กำลังดำเนินการพัฒนาอาวุธ ASAT ชั้นสูง ที่เรียกขานกันว่า “ดาวเทียมเกาะหลัง” (piggyback satellite) ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดจิ๋วที่จะนำตัวเองเกาะติดเข้ากับดาวเทียมของฝ่ายศัตรู, สถานีอวกาศ หรือเลเซอร์ที่มีฐานอยู่ในอวกาศ แล้วก่อกวนการสื่อสาร หรือกระทั่งระเบิดทำลายเป้าหมาย
เวลานี้กำลังมีการพัฒนาดาวเทียมจิ๋วรุ่นหนึ่งซึ่งจะมีขนาดเล็กมากจนกระทั่งยากที่จะตรวจจับจากภาคพื้นดิน ดาวเทียมจิ๋วรุ่นนี้ว่ากันว่าเป็นอาวุธป้องกันตัว แต่มันก็ยังคงมีสมรรถนะในทางตรวจการณ์, สอดแนม, สื่อสาร, และ ในทางทฤษฎี ก็สามารถที่จะทำลายดาวเทียมอื่นๆ ได้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีพาหนะปล่อยดาวเทียมสู่อวกาศแบบเคลื่อนย้ายได้รวม 3 แบบ ได้แก่ แบบ เคที-1 (KT-1), เคที-2 (KT-2), และ เคที-2เอ (KT-2A) ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ปล่อย “ดาวเทียมนาโน” (nano-sats) เหล่านี้ พวกเจ้าหน้าที่เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) บอกว่า เคที-2 และ เคที-2 เอ ยังจะมีสมรรถนะในการเล็งเป้าหมายไปยังวงโคจรแบบ “วงโคจรปฐพีสมวาร” (geosynchronous orbit วงโคจรที่มีคาบการหมุนรอบโลกเท่าๆ กับการหมุนรอบตัวเองของโลก จึงทำให้เสมือนกับอยู่คงที่ในอวกาศ) และแบบ “วงโคจรผ่านขั้วโลก”(polar orbit วงโคจรที่ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้) ซึ่งพวกดาวเทียมทหารของสหรัฐฯใช้กันอยู่
พวกนักยุทธศาสตร์ฝ่ายอเมริกันยังคงให้ความสำคัญกับความเห็นต่างๆ ที่แสดงไว้เมื่อปี 2003 ของ นาวาเอก เฉินจงชาง แห่งสถาบันวิจัยกองทัพเรือจีน โดยเขาวาดวิสัยทัศน์ไว้ว่า กองทหารฝ่ายที่อ่อนแอกว่า –ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าน่าจะหมายถึงจีน สามารถที่จะสร้างความปราชัยให้แก่กองทหารฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าได้ ด้วยการเข้าโจมตีระบบการสื่อสารและการตรวจการณ์ที่มีฐานอยู่ในอวกาศ
“อำนาจควบคุมเหนืออวกาศจะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับชัยชนะทางทหาร โดยที่อวกาศกำลังกลายเป็น ‘บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้’ แห่งการสู้รบสมัยใหม่” นี่เป็นคำกล่าวของเฉินที่ถูกอ้างอิงเอาไว้ในรายงานประจำปีว่าด้วยสมรรถนะทางทหารของจีนที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯทำส่งรัฐสภาอเมริกัน
การทดสอบการต่อต้านทำลายดาวเทียมที่จีนกระทำเมื่อปีที่แล้ว บางทีอาจจะวางแผนเพื่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองมากกว่าดอกผลทางทหาร เพราะถึงอย่างไรจีนก็สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้อยู่แล้ว อีกทั้งยังมีโครงการขีปนาวุธข้ามทวีปที่เข้มแข็ง ดูเหมือนกับว่าปักกิ่งกำลังส่งสัญญาณไปยังวอชิงตันว่า ตนเองสามารถที่จะทำให้ดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับต่ำๆ ทั้งหลายกลายเป็นอัมพาตได้ ถ้าหากสหรัฐฯกระทำการอย่างเช่น ก้าวล้ำเส้นในประเด็นเรื่องอธิปไตยของไต้หวัน
อลัน บอยด์ รายงานข่าวเกี่ยวกับเอเชียมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี เวลานี้เขาพำนักอยู่ในนครซิดนีย์”
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
จีนแข่งขันกับสหรัฐฯในอวกาศ (ตอนจบ)
China takes on the US -in space
By Alan Boyd
05/06/2008
ในการประเมินภาพรวมของการสั่งสมกำลังอาวุธในทั่วโลก เจ้าหน้าที่ทหารระดับท็อปของจีนหลายคน ได้กล่าวหาวอชิงตันว่า กำลังโหมกระพือการแข่งขันอาวุธ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเข้าควบคุม “บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้” (the commanding heights) จีนนั้นเชื่อว่าการประจันหน้ากันในอวกาศ โดยที่น่าจะเป็นการเจอกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯมากที่สุด คือสิ่งที่หลีกหนีอย่างไรก็คงไม่พ้น และกำลังเตรียมตัวเพื่อรับมือกับเรื่องเช่นนี้ สำหรับทางด้านสหรัฐฯเอง ก็ปรากฏว่ากำลังปรับตัวให้พร้อมรับความเป็นไปได้ที่จะถูกจีนเข้าโจมตีระบบสื่อสารและตรวจการณ์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในอวกาศของตน
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ซิดนีย์ – บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางทหารของจีนเชื่อว่า การประจันหน้ากันในอวกาศ โดยอาจจะเป็นการเจอกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯนั้น คือสิ่งที่หลีกหนีอย่างไรก็คงไม่พ้น สิ่งที่พวกเขายังไม่ได้พูดกันออกมาก็คือ พวกเขาคาดหมายว่าจะเป็นฝ่ายชนะหรือเปล่า
ในการประเมินภาพรวมของการสั่งสมกำลังอาวุธในทั่วโลก เจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านลดกำลังอาวุธ 2 คนของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน (People’s Liberation Army หรือ PLA) ได้ออกมากล่าวหาทางการวอชิงตันในสัปดาห์นี้ว่า กำลังโหมกระพือการแข่งขันอาวุธ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเข้าควบคุม “บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้” (the commanding heights)
“ในอนาคตอันไม่ยาวไกลนัก แน่นอนเหลือเกินว่าอวกาศจะกลายเป็นเวทีของการต่อสู้กันระหว่างประเทศต่างๆ” สือเหนิงอู่ แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศของจีน กล่าว
ทำนองเดียวกัน คำพูดของ พลโท หม่าเสี่ยวเถียน รองเสนาธิการทหารของพีแอลเอ ณ การประชุมประจำปีด้านกลาโหมและความมั่นคงที่สิงคโปร์ ซึ่งเรียกกันว่า “การสนทนาแชงกรีลา” (Shangri-La Dialogue) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (การประชุมปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน ณ โรงแรมแชงกรีลา สิงคโปร์ –ผู้แปล) ดูจะมีความคลุมเครือน้อยกว่าเสียอีก เขาไม่ได้เอ่ยอ้างถึงสหรัฐฯเลย (นอกเหนือจากการรวมเอาเรื่องพายุเฮอร์ริเคน “แคทรีนา” เข้าไว้ในรายการภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังๆ มานี้) แต่ได้ระบุว่า “การขยายกลุ่มพันธมิตรทางทหาร” และ “พัฒนาการและการขยายระบบป้องกันขีปนาวุธ” คือส่วนหนึ่งของการท้าทายใหญ่ทางด้านความมั่นคงซึ่งภูมิภาคแถบนี้กำลังเผชิญอยู่
อันที่จริง พีแอลเอได้เคยออกคำทำนายแห่งการประจันหน้ากัน อันชวนให้หดหู่มืดมนทำนองเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว และโดยปกติจะพ่วงมาด้วยการเรียกร้องให้มีการเจรจาทำสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธ ซึ่งเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นการที่จีนยอมรับว่ายังขาดความสามารถที่จะแข่งขันด้วย รวมทั้งอาจจะถูกใช้เป็นม่านกำบังความล้าหลังในด้านการวิจัยและพัฒนาของปักกิ่งเอง
ทว่านับแต่ที่พวกเขาประสบความสำเร็จในการยิงขีปนาวุธจากพื้นดิน ขึ้นไปทำลายดาวเทียมตรวจอากาศที่ล้าสมัยดวงหนึ่งของพวกเขาซึ่งกำลังอยู่ในวงโคจรรอบนอกเมื่อเดือนมกราคม 2007 กองทัพจีนก็สามารถที่จะพูดจาและดำเนินการต่างๆ จากจุดยืนที่ค่อนข้างแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม
ขีปนาวุธแบบ 4 ท่อนลูกนี้ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบๆ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อตอนพุ่งใส่ดาวเทียม ได้ก่อให้เกิดแรงกระทบกระแทกที่รุนแรงทรงพลังมาก จนกระทั่งเศษซากที่หลงเหลือปลิวฟุ้งกระจายไปเป็นระยะทางราวครึ่งโลก ส่อให้เห็นเจตนาที่จะทิ้งร่องรอยให้ปรากฏในเชิงยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ตอบโต้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ด้วยการใช้จรวดลูกหนึ่งยิ่งดาวเทียมของตนเองดวงหนึ่งที่กำลังตกกลับลงมาสู่โลก ณ บริเวณเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นการทำลายข้อผูกพันในยุคทศวรรษ 1980 ที่ว่าจะไม่ดำเนินการทดสอบ “ระบบอาวุธเพื่อทำลายดาวเทียมที่กำลังอยู่ในวงโคจร” (Anti-Satellite weapons หรือ ASATs)
เวลานี้มี 32 ประเทศในโลกที่ทราบกันว่ามีสมรรถนะทางด้านขีปนาวุธ โดยทางชาติเอเชียก็ประกอบด้วยพวกประเทศที่เป็นคู่ปรปักษ์กันอยู่อย่าง อินเดียและปากีสถาน, เกาหลีใต้และเหนือ, นอกจากนั้นยังมี อิสราเอล, ซีเรีย, ไต้หวัน, อิหร่าน, เวียดนาม, อียิปต์, และซาอุดีอาระเบีย ตลอดจนถึงรัสเซีย, จีน, และสหรัฐฯ ประเทศเหล่านี้รายไหนๆ ก็มีความสามารถทางเทคนิคที่จะเปิดการสู้รบทางทหารในอวกาศได้ ถึงแม้ประเทศส่วนมากอาจจะทำได้เพียงขอบเขตที่จำกัด นั่นคือแค่การโจมตีด้วยจรวดที่ยิงจากพื้นดินสู่อากาศเท่านั้น
ประเทศเหล่านี้แทบทั้งหมดต่างเป็นผู้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยอวกาศ (Outer Space Treaty) อันเป็นข้อตกลงที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติในปี 1967 ภายหลังการเจรจากันอย่างวกเวียนอ้อมค้อมระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียต โดยที่จีนก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ชาติซึ่งยอมรับเนื้อหาของมาตราต่างๆ ในสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างเต็มที่
ทางฝ่ายจีนได้ตั้งข้อสังเกต ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากองค์การรณรงค์เพื่อสันติภาพบางแห่ง ว่าสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นเศษซากของสงครามเย็น โดยจัดทำขึ้นในยุคสมัยที่แนวความคิดเรื่องการมีดาวเทียมติดอาวุธและโคจรอยู่รอบๆ โลก ตามแบบภาพยนตร์แห่งจินตนาการอนาคตชุด สตาร์ วอร์ส ยังคงเป็นสมบัติเฉพาะของพวกนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น
แต่หน้าที่ความผูกพันหลักของผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ก็คือ จะต้องไม่นำเอา “อาวุธนิวเคลียร์หรืออาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างชนิดอื่นๆ”, ค่ายทหารหรือป้อมปราการทางทหาร ไปประจำไว้ในวงโคจรรอบๆ โลก หรือบนเทห์ฟากฟ้าใดๆ ตลอดจนไม่ดำเนินการทดสอบอาวุธ หรือดำเนินการเคลื่อนไหวทางทหารในอาณาบริเวณดังกล่าว
สำหรับอาวุธตามแบบแผนนั้น การนำไปประจำในอวกาศถือเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายชนิดไม่มีข้อกังขา นอกจากนั้น ยังไม่มีข้อห้ามใดๆ ในเรื่องการยิงขีปนาวุธที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นดินขึ้นไปในอวกาศอีกด้วย เนื่องจากทั้งสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตต่างก็กำลังพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป ตลอดจนโครงการอวกาศแบบสันติกันอยู่ในตอนที่มีการลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้
ทำนองเดียวกัน มีการตีความกันไปอย่างกว้างขวางมากว่า “อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้าง” นั้นครอบคลุมถึงอะไรบ้าง โดยที่มีข้อเท็จจริงดังที่พวกเจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯชี้กันเอาไว้ ว่าในทางปฏิบัติแล้วอะไรก็ตามที่สามารถพุ่งทะยานขึ้นไปในอวกาศได้ ย่อมสามารถใช้เล่นงานดาวเทียมได้ทั้งนั้น แม้จะไม่ได้มีการละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้เลย
จีนนั้น เป็นชาติที่อยู่ในแถวหน้าของความพยายามที่จะขยายข้อตกลงนี้ให้ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น กระนั้นก็ตาม แม้กระทั่งเวอร์ชั่นที่ฝ่ายจีนเสนอออกมาในสหประชาชาติ ในรูปของร่างสนธิสัญญาเมื่อปี 2002 ก็ยังคงห่างไกลนักจากสิ่งที่พวกกลุ่มรณรงค์ลดกำลังอาวุธเรียกร้องกัน นั่นคือ การยุติการแข่งขันอาวุธ
ร่างสนธิสัญญาของฝ่ายจีน ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากประเทศจำนวนหนึ่งที่มีความแตกต่างหลากหลายมาก อาทิ รัสเซีย (ซึ่งเข้าแทนที่สหภาพโซเวียตในฐานะผู้ลงนามรายหนึ่งในสนธิสัญญาอวกาศ), ซิมบับเว, ซีเรีย, เบลารุส, และเวียดนาม ได้เสนอให้ห้ามการติดตั้งอาวุธที่มีฐานอยู่ในอวกาศทุกชนิด กระนั้นก็ตาม ขีปนาวุธที่มีฐานอยู่ในภาคพื้นดิน ก็ยังคงถูกเพิกเฉยตามเคย
บางทีปักกิ่งอาจเพียงอยากมองโลกตามสภาพความเป็นจริงเท่านั้น เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงที่สมเหตุสมผลในเรื่องที่จะต้องยอมให้มีการพัฒนาจรวดสำหรับใช้ปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ตลอดจนโครงการอวกาศในขอบเขตกว้างไกลกว่านั้น ทว่ากลุ่มอนุรักษนิยมทรงอำนาจในสหรัฐฯ กลับมองด้วยความระแวงว่า จีนเสนอเรื่องนี้ออกมา เพราะมีแรงจูงใจในทางมุ่งร้ายแอบแฝงอยู่
“ทั้งๆ ที่จีนกำลังพยายามเรียกร้องรวมพลังแนวร่วมหลายๆ ชาติ ตลอดจนมติมหาชน เพื่อคัดค้าน ‘กระบวนการทำให้อวกาศกลายเป็นอาวุธ’ แต่ปักกิ่งก็กลับยังคงแอบเดินหน้าพัฒนาอาวุธของตนที่ใช้อวกาศเป็นฐานขึ้นมา รวมทั้งพัฒนายุทธวิธีที่จะทำลายทรัพย์สินทางทหารของฝ่ายอเมริกัน” แลร์รี เอ็ม เวิร์ตเซล รองประธานฝ่ายนโยบายการต่างประเทศและการกลาโหมศึกษา ของมูลนิธิ เฮริเทจ ฟาวน์เดชั่น กล่าวโจมตีเอาไว้ในบทวิจารณ์ชิ้นหนึ่ง
“ยุทธศาสตร์ของจีนในที่นี้ก็คือ การมุ่งลดทอนความเหนือกว่าทางการทหารของอเมริกัน ด้วยการพยายามจำกัด และถึงที่สุดแล้วก็จะพยายามลบล้างทรัพย์สินด้านกลาโหมที่ตั้งฐานอยู่ในอวกาศอยู่แล้วในเวลานี้ของสหรัฐฯ ตลอดจนเพื่อขัดขวางการนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้าประจำการ โดยที่พวกผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวนี้ จะเป็นเครื่องป้องกันชั้นดีที่สุดจากการถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธข้ามทวีป”
เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ของจีนได้ประกาศยืนอยู่เคียงข้างรัสเซีย ในการรณรงค์ที่ดำเนินมายาวนานแล้วของฝ่ายมอสโก ที่จะสกัดกั้นการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เอเชียตะวันออกจำนวนมาก โดยที่ส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าวนี้จะปฏิบัติการจากฐานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ปักกิ่งนั้นกำลังวิตกว่าการตัดตั้งระบบดังกล่าวของอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยจรวดสกัดกั้นที่ตั้งฐานอยู่ในอวกาศ จะสามารถขัดขวางขีปนาวุธของพีแอลเอที่กำลังได้รับการปรับปรุงให้ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีวัตถุประสงค์ที่จะเล็งเป้าหมายโจมตีไปยังเกาะไต้หวันซึ่งฝ่ายจีนเรียกว่าเป็นดินแดนกบฎ ตลอดจนฐานทัพต่างๆ ของสหรัฐฯในแถบแปซิฟิก
แน่นอนทีเดียว กลไกทางทหารของจีนไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆ ขณะที่นักการทูตแดนมังกรกำลังดำเนินการสร้างอุปสรรคขัดขวางฝ่ายอเมริกัน นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงหลายรายบอกว่า จีนกำลังทุ่มเทเงินทองเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งรบกวนการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม, การพัฒนาอาวุธแสงเลเซอร์, และการปรับปรุงจรวดที่มีขนาดน้ำหนักบรรทุกมากๆ ของตนให้ดีขึ้นไปอีก
สถาบันวิจัยทางเทคโนโลยีของจีน กำลังดำเนินการพัฒนาอาวุธ ASAT ชั้นสูง ที่เรียกขานกันว่า “ดาวเทียมเกาะหลัง” (piggyback satellite) ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดจิ๋วที่จะนำตัวเองเกาะติดเข้ากับดาวเทียมของฝ่ายศัตรู, สถานีอวกาศ หรือเลเซอร์ที่มีฐานอยู่ในอวกาศ แล้วก่อกวนการสื่อสาร หรือกระทั่งระเบิดทำลายเป้าหมาย
เวลานี้กำลังมีการพัฒนาดาวเทียมจิ๋วรุ่นหนึ่งซึ่งจะมีขนาดเล็กมากจนกระทั่งยากที่จะตรวจจับจากภาคพื้นดิน ดาวเทียมจิ๋วรุ่นนี้ว่ากันว่าเป็นอาวุธป้องกันตัว แต่มันก็ยังคงมีสมรรถนะในทางตรวจการณ์, สอดแนม, สื่อสาร, และ ในทางทฤษฎี ก็สามารถที่จะทำลายดาวเทียมอื่นๆ ได้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีพาหนะปล่อยดาวเทียมสู่อวกาศแบบเคลื่อนย้ายได้รวม 3 แบบ ได้แก่ แบบ เคที-1 (KT-1), เคที-2 (KT-2), และ เคที-2เอ (KT-2A) ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ปล่อย “ดาวเทียมนาโน” (nano-sats) เหล่านี้ พวกเจ้าหน้าที่เพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) บอกว่า เคที-2 และ เคที-2 เอ ยังจะมีสมรรถนะในการเล็งเป้าหมายไปยังวงโคจรแบบ “วงโคจรปฐพีสมวาร” (geosynchronous orbit วงโคจรที่มีคาบการหมุนรอบโลกเท่าๆ กับการหมุนรอบตัวเองของโลก จึงทำให้เสมือนกับอยู่คงที่ในอวกาศ) และแบบ “วงโคจรผ่านขั้วโลก”(polar orbit วงโคจรที่ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้) ซึ่งพวกดาวเทียมทหารของสหรัฐฯใช้กันอยู่
พวกนักยุทธศาสตร์ฝ่ายอเมริกันยังคงให้ความสำคัญกับความเห็นต่างๆ ที่แสดงไว้เมื่อปี 2003 ของ นาวาเอก เฉินจงชาง แห่งสถาบันวิจัยกองทัพเรือจีน โดยเขาวาดวิสัยทัศน์ไว้ว่า กองทหารฝ่ายที่อ่อนแอกว่า –ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าน่าจะหมายถึงจีน สามารถที่จะสร้างความปราชัยให้แก่กองทหารฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าได้ ด้วยการเข้าโจมตีระบบการสื่อสารและการตรวจการณ์ที่มีฐานอยู่ในอวกาศ
“อำนาจควบคุมเหนืออวกาศจะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับชัยชนะทางทหาร โดยที่อวกาศกำลังกลายเป็น ‘บรรดาจุดสูงซึ่งจะทำให้สามารถครองความเหนือกว่าไว้ได้’ แห่งการสู้รบสมัยใหม่” นี่เป็นคำกล่าวของเฉินที่ถูกอ้างอิงเอาไว้ในรายงานประจำปีว่าด้วยสมรรถนะทางทหารของจีนที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯทำส่งรัฐสภาอเมริกัน
การทดสอบการต่อต้านทำลายดาวเทียมที่จีนกระทำเมื่อปีที่แล้ว บางทีอาจจะวางแผนเพื่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองมากกว่าดอกผลทางทหาร เพราะถึงอย่างไรจีนก็สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้อยู่แล้ว อีกทั้งยังมีโครงการขีปนาวุธข้ามทวีปที่เข้มแข็ง ดูเหมือนกับว่าปักกิ่งกำลังส่งสัญญาณไปยังวอชิงตันว่า ตนเองสามารถที่จะทำให้ดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับต่ำๆ ทั้งหลายกลายเป็นอัมพาตได้ ถ้าหากสหรัฐฯกระทำการอย่างเช่น ก้าวล้ำเส้นในประเด็นเรื่องอธิปไตยของไต้หวัน
อลัน บอยด์ รายงานข่าวเกี่ยวกับเอเชียมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี เวลานี้เขาพำนักอยู่ในนครซิดนีย์”
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)