นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun ระบุว่า
SAM วัคซีนโควิดรุ่นที่ 2 ตัวใหม่ล่าสุด ของบริษัท Gritstone เริ่มทดลองฉีดในมนุษย์แล้ว
วัคซีนป้องกันโควิดที่ฉีดอยู่ในขณะนี้หลายพันล้านโดสทั่วโลก ล้วนเป็นวัคซีนในรุ่นที่หนึ่งทั้งสิ้น
โดยได้ผลดีกับไวรัสสายพันธุ์หลักเดิม ต่อมาเมื่อมีพัฒนาการของไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาในปัจจุบัน ก็พบว่ากระทบกับประสิทธิผลการป้องกันโรคของทุกวัคซีน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สอง เพื่อรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งนอกจากเดลต้าในปัจจุบันแล้ว ก็คาดว่าจะมีไวรัสกลายพันธุ์ที่เก่งกว่าเดลตาเพิ่มขึ้นด้วย
วัคซีนส่วนใหญ่ขณะนี้เกือบทั้งหมดยกเว้นวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย จะเน้นการใช้เฉพาะส่วนหนามของไวรัส (Spike protein) ไม่ได้ใช้ส่วนอื่นๆ ของไวรัส ไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อดีคือ ระดับภูมิคุ้มกันต่อส่วนหนามจะขึ้นสูง แต่จะมีข้อด้อยคือ ภูมิคุ้มกันจะรับมือได้เฉพาะส่วนหนามเท่านั้น ถ้ามีไวรัสกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงไปใช้ส่วนอื่นที่ไม่ใช่หนาม ในการติดเชื้อในเซลล์มนุษย์แล้ว วัคซีนก็จะมีประสิทธิผลลดลงอย่างมาก
จึงได้มีนักวิทยาศาสตร์พยายามวิจัยพัฒนาวัคซีน ให้มีส่วนประกอบนอกเหนือจากส่วนหนาม คือส่วน Nucleocapsid protein เพื่อที่จะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันมากกว่าหนึ่งชนิด
และสามารถรองรับกับไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะที่กลายพันธุ์พ้นไปจากส่วนหนามได้ด้วย
Professor A. Ustianowski หัวหน้านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และโรงพยาบาล North Manchester ของอังกฤษ ได้ร่วมกับบริษัทยาของสหรัฐอเมริกาคือ Gritstone ทำการวิจัยในสัตว์ทดลอง เป็นวัคซีนเจนเนอเรชั่นที่สองเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มฉีดในอาสาสมัครเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 โดยสองคนแรกที่ฉีด เป็นคู่สามีภรรยาคือ คุณแอนดรูว์กับคุณเฮเลนคลาก จากเมืองโบลตัน ทั้งนี้ เพื่อจะดูความปลอดภัย ดูระดับภูมิคุ้มกัน ต่อส่วนหนามและส่วนที่ไม่ใช่หนาม
ใช้ชื่อว่าแซม (SAM : Self Amplifying mRNA) เป็นวัคซีน
เจนเนอเรชั่นที่สอง (Second generation) ที่พร้อมจะรับมือไวรัสกลายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยหลักการก็คือ วัคซีนนี้เป็นกลุ่มของ mRNA ซึ่งจะใช้ทั้งส่วนหนามและส่วนที่ไม่ใช่หนามประกอบกัน
ซึ่งในส่วนที่ไม่ใช่หนามนี้ (Nucleocapsid protein) จะมีการ เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการกลายพันธุ์ค่อนข้างน้อย และไม่บ่อยนัก จึงทำให้วัคซีนที่คิดค้นขึ้นใหม่จะสามารถมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่ได้นาน และรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ได้ค่อนข้างดี เพราะวัคซีนนี้จะกระตุ้นทั้งส่วนที่เป็นทีเซลล์ (T-cell : CD8+ T-cell) และส่วนที่เป็นระดับภูมิคุ้มกัน (NAb : Neutralizing Antibody)
CEO ( A.Allen) ของบริษัท Gritstone ได้แถลงว่า ทางบริษัทได้ทำการวิจัยพัฒนาในขั้นพรีคลินิก (Pre-clinical) เรียบร้อยแล้ว และจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยร่วมกับ NIH ปลายปีนี้
ส่วนการทดลองในมนุษย์ ซึ่งเริ่มกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ คาดว่าเมื่อได้วัคซีนใหม่ จะสามารถลดปริมาณการฉีด ลดจำนวนครั้งการฉีด แต่ได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่นาน และมีความกว้างขวางในการรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ได้หลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น และสามารถนำมาใช้ฉีดเป็นเข็มสาม หรือ เข็มกระตุ้น ซึ่งคาดว่าจะดีกว่านำวัคซีนรุ่นที่หนึ่งมาฉีดเป็นเข็มกระตุ้น อย่างที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน
คงจะต้องติดตามและให้กำลังใจกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวต่อไป ที่จะพัฒนาวัคซีนตัวใหม่นี้ (SAM หรือ Multivariant Vaccine) ซึ่งต้องถือว่าอยู่ในเฟสหนึ่งของมนุษย์แล้ว คงใช้เวลาอีกพอสมควรที่จะต้องผ่านเฟสสอง เฟสสาม และอนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คาดว่าในปีหน้าก็คงจะได้ใช้วัคซีนรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นวัคซีนที่จะรับมือไวรัสกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น คงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด
SAM วัคซีนโควิดรุ่นที่ 2 ตัวใหม่ล่าสุด ของบริษัท Gritstone เริ่มทดลองฉีดในมนุษย์แล้ว
วัคซีนป้องกันโควิดที่ฉีดอยู่ในขณะนี้หลายพันล้านโดสทั่วโลก ล้วนเป็นวัคซีนในรุ่นที่หนึ่งทั้งสิ้น
โดยได้ผลดีกับไวรัสสายพันธุ์หลักเดิม ต่อมาเมื่อมีพัฒนาการของไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาในปัจจุบัน ก็พบว่ากระทบกับประสิทธิผลการป้องกันโรคของทุกวัคซีน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สอง เพื่อรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งนอกจากเดลต้าในปัจจุบันแล้ว ก็คาดว่าจะมีไวรัสกลายพันธุ์ที่เก่งกว่าเดลตาเพิ่มขึ้นด้วย
วัคซีนส่วนใหญ่ขณะนี้เกือบทั้งหมดยกเว้นวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย จะเน้นการใช้เฉพาะส่วนหนามของไวรัส (Spike protein) ไม่ได้ใช้ส่วนอื่นๆ ของไวรัส ไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน
ข้อดีคือ ระดับภูมิคุ้มกันต่อส่วนหนามจะขึ้นสูง แต่จะมีข้อด้อยคือ ภูมิคุ้มกันจะรับมือได้เฉพาะส่วนหนามเท่านั้น ถ้ามีไวรัสกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงไปใช้ส่วนอื่นที่ไม่ใช่หนาม ในการติดเชื้อในเซลล์มนุษย์แล้ว วัคซีนก็จะมีประสิทธิผลลดลงอย่างมาก
จึงได้มีนักวิทยาศาสตร์พยายามวิจัยพัฒนาวัคซีน ให้มีส่วนประกอบนอกเหนือจากส่วนหนาม คือส่วน Nucleocapsid protein เพื่อที่จะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันมากกว่าหนึ่งชนิด
และสามารถรองรับกับไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะที่กลายพันธุ์พ้นไปจากส่วนหนามได้ด้วย
Professor A. Ustianowski หัวหน้านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และโรงพยาบาล North Manchester ของอังกฤษ ได้ร่วมกับบริษัทยาของสหรัฐอเมริกาคือ Gritstone ทำการวิจัยในสัตว์ทดลอง เป็นวัคซีนเจนเนอเรชั่นที่สองเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มฉีดในอาสาสมัครเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 โดยสองคนแรกที่ฉีด เป็นคู่สามีภรรยาคือ คุณแอนดรูว์กับคุณเฮเลนคลาก จากเมืองโบลตัน ทั้งนี้ เพื่อจะดูความปลอดภัย ดูระดับภูมิคุ้มกัน ต่อส่วนหนามและส่วนที่ไม่ใช่หนาม
ใช้ชื่อว่าแซม (SAM : Self Amplifying mRNA) เป็นวัคซีน
เจนเนอเรชั่นที่สอง (Second generation) ที่พร้อมจะรับมือไวรัสกลายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยหลักการก็คือ วัคซีนนี้เป็นกลุ่มของ mRNA ซึ่งจะใช้ทั้งส่วนหนามและส่วนที่ไม่ใช่หนามประกอบกัน
ซึ่งในส่วนที่ไม่ใช่หนามนี้ (Nucleocapsid protein) จะมีการ เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการกลายพันธุ์ค่อนข้างน้อย และไม่บ่อยนัก จึงทำให้วัคซีนที่คิดค้นขึ้นใหม่จะสามารถมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่ได้นาน และรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ได้ค่อนข้างดี เพราะวัคซีนนี้จะกระตุ้นทั้งส่วนที่เป็นทีเซลล์ (T-cell : CD8+ T-cell) และส่วนที่เป็นระดับภูมิคุ้มกัน (NAb : Neutralizing Antibody)
CEO ( A.Allen) ของบริษัท Gritstone ได้แถลงว่า ทางบริษัทได้ทำการวิจัยพัฒนาในขั้นพรีคลินิก (Pre-clinical) เรียบร้อยแล้ว และจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยร่วมกับ NIH ปลายปีนี้
ส่วนการทดลองในมนุษย์ ซึ่งเริ่มกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ คาดว่าเมื่อได้วัคซีนใหม่ จะสามารถลดปริมาณการฉีด ลดจำนวนครั้งการฉีด แต่ได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่นาน และมีความกว้างขวางในการรับมือกับไวรัสกลายพันธุ์ได้หลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น และสามารถนำมาใช้ฉีดเป็นเข็มสาม หรือ เข็มกระตุ้น ซึ่งคาดว่าจะดีกว่านำวัคซีนรุ่นที่หนึ่งมาฉีดเป็นเข็มกระตุ้น อย่างที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน
คงจะต้องติดตามและให้กำลังใจกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวต่อไป ที่จะพัฒนาวัคซีนตัวใหม่นี้ (SAM หรือ Multivariant Vaccine) ซึ่งต้องถือว่าอยู่ในเฟสหนึ่งของมนุษย์แล้ว คงใช้เวลาอีกพอสมควรที่จะต้องผ่านเฟสสอง เฟสสาม และอนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คาดว่าในปีหน้าก็คงจะได้ใช้วัคซีนรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นวัคซีนที่จะรับมือไวรัสกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น คงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด