องคมนตรี ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัตินับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสานประโยชน์กับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามบริบทพื้นที่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน 39,864 คน ซึ่งทางจังหวัดได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิในด้านการสร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้ปัจจุบัน ร้อยละ 95 ของจำนวนผู้ว่างงานจากผลกระทบสถานการณ์โควิดได้กลับสู่อาชีพแล้ว
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิยังดำเนินการโครงการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประจำปี 2563 จำนวน 12 โครงการ 40 กิจกรรม ในพื้นที่ 83 หมู่บ้าน 467 โรงเรียน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ
นอกจากนี้ องคมนตรียังได้บรรยายพิเศษ เรื่อง คุณลักษณะบัณทิตราชภัฏในสถานการณ์ที่ท้าทายให้กับกับนักศึกษา จำนวน 1,500 คน และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในการยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยและการจัดกิจกรรมนักศึกษา เพื่อฝึกทักษะวิศวกรสังคม 4 ประการ ได้แก่ ทักษะการคิดเชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย ทักษะการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง ระดมสรรพกำลังทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหา และทักษะการสร้างนวัตกรรมชุมชนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของนักศึกษาต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน 39,864 คน ซึ่งทางจังหวัดได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิในด้านการสร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้ปัจจุบัน ร้อยละ 95 ของจำนวนผู้ว่างงานจากผลกระทบสถานการณ์โควิดได้กลับสู่อาชีพแล้ว
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิยังดำเนินการโครงการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ประจำปี 2563 จำนวน 12 โครงการ 40 กิจกรรม ในพื้นที่ 83 หมู่บ้าน 467 โรงเรียน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ
นอกจากนี้ องคมนตรียังได้บรรยายพิเศษ เรื่อง คุณลักษณะบัณทิตราชภัฏในสถานการณ์ที่ท้าทายให้กับกับนักศึกษา จำนวน 1,500 คน และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในการยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยและการจัดกิจกรรมนักศึกษา เพื่อฝึกทักษะวิศวกรสังคม 4 ประการ ได้แก่ ทักษะการคิดเชิงเหตุ-ผล เห็นปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย ทักษะการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง ระดมสรรพกำลังทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหา และทักษะการสร้างนวัตกรรมชุมชนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของนักศึกษาต่อไปในอนาคต