กรณีประเทศไทยพบผู้ต้องขังชาย วัย 37 ปี ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น จากการสอบสวนโรคย้อนหลังไป 14 วัน ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2563 พบประวัติอาศัยอยู่ในคอนโดบ้านสวนพุทธบูชา ทำงานเป็นดีเจร้านอาหาร 3 แห่ง คือ ร้านสามวันสองคืน สาขาพระราม 3 พระราม 5 และเฟิร์ส คาเฟ่ ข้าวสาร ต้องขังทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และเดินทางไปขึ้นศาลอาญา รัชดา
โดยวันนี้ (4 ก.ย.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า จากการระดมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงการติดเชื้อของผู้ต้องขังรายนี้ มีข้อสันนิษฐานเกิดขึ้นได้ใน 2 ส่วน ได้แก่ 1อาจติดจากการสัมผัสผู้ที่มาจากต่างประเทศ อาจเป็นไปได้จากการพบเจอในเวลากลางคืนที่ทำงาน และ 2.ติดจากคนในประเทศ โดยเป็นคนมีเชื้อที่ไม่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม จากการที่ทราบผลตรวจเชื้อผู้สัมผัสใกล้ชิดขณะนี้เป็นลบ การแพร่เชื้อของผู้ต้องขังรายนี้น่าจะไม่รุนแรง รวมถึงกลุ่มเสี่ยงสูงได้มีการควบคุมในพื้นที่กักตัวแล้ว ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่คนไทยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติมาตรการป้องกันตนเองใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่ชุมชน ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ทำให้การแพร่เชื้ออยู่ในอัตราต่ำ และขอความร่วมมือปฏิบัติต่อไป เพื่อที่หากพบผู้ติดเชื้อในประเทศจะเกิดเป็นเพียงกลุ่มเล็กสามารถที่จะควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาดได้โดยเร็ว ไม่ขยายวงกว้าง
ทั้งนี้ จะมีการนำรถโมบายพระราชทานที่เป็นรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยลงพื้นที่ถนนข้าวสารภายในวันที่ 5 กันยายนนี้ เพื่อดำเนินการตรวจหาเชื้อกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้ อาจจะนำไปตรวจในชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ติดเชื้อด้วย ส่วนประชาชนที่อาจจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่ผู้ติดเชื้อทำงาน หรือเดินทางไป หากสงสัยหรือกังวัลสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองเพิ่มเติม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายประสานสายด่วน 1422
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมได้ดำเนินการนำตัวอย่างเชื้อที่พบในผู้ต้องขังรายนี้ มาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อให้ทราบว่าเชื้อนั้นเป็นสายพันธุ์ใด คาดว่าจะใช้เวลาระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ หากทราบว่าผู้ต้องขังรายนี้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใด จะทำให้ทราบว่าเป็นการติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศ หรือเป็นการติดเชื้อจากที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศหลงเหลืออยู่จากการระบาดในประเทศ เนื่องจากการระบาดระลอกที่ 1 ในไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เอส(S) แพร่ระบาดได้น้อยและอาการค่อนข้างรุนแรง ส่วนที่ระบาดในต่างประเทศเป็นสายพันธ์จี(G) ซึ่งแพร่ระบาดได้มากแต่อาการไม่รุนแรง
โดยวันนี้ (4 ก.ย.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า จากการระดมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงการติดเชื้อของผู้ต้องขังรายนี้ มีข้อสันนิษฐานเกิดขึ้นได้ใน 2 ส่วน ได้แก่ 1อาจติดจากการสัมผัสผู้ที่มาจากต่างประเทศ อาจเป็นไปได้จากการพบเจอในเวลากลางคืนที่ทำงาน และ 2.ติดจากคนในประเทศ โดยเป็นคนมีเชื้อที่ไม่มีอาการ
อย่างไรก็ตาม จากการที่ทราบผลตรวจเชื้อผู้สัมผัสใกล้ชิดขณะนี้เป็นลบ การแพร่เชื้อของผู้ต้องขังรายนี้น่าจะไม่รุนแรง รวมถึงกลุ่มเสี่ยงสูงได้มีการควบคุมในพื้นที่กักตัวแล้ว ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นจากการที่คนไทยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติมาตรการป้องกันตนเองใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่ชุมชน ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ทำให้การแพร่เชื้ออยู่ในอัตราต่ำ และขอความร่วมมือปฏิบัติต่อไป เพื่อที่หากพบผู้ติดเชื้อในประเทศจะเกิดเป็นเพียงกลุ่มเล็กสามารถที่จะควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาดได้โดยเร็ว ไม่ขยายวงกว้าง
ทั้งนี้ จะมีการนำรถโมบายพระราชทานที่เป็นรถตรวจเชื้อชีวนิรภัยลงพื้นที่ถนนข้าวสารภายในวันที่ 5 กันยายนนี้ เพื่อดำเนินการตรวจหาเชื้อกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้ อาจจะนำไปตรวจในชุมชนที่เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ติดเชื้อด้วย ส่วนประชาชนที่อาจจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่ผู้ติดเชื้อทำงาน หรือเดินทางไป หากสงสัยหรือกังวัลสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองเพิ่มเติม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายประสานสายด่วน 1422
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมได้ดำเนินการนำตัวอย่างเชื้อที่พบในผู้ต้องขังรายนี้ มาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อให้ทราบว่าเชื้อนั้นเป็นสายพันธุ์ใด คาดว่าจะใช้เวลาระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ หากทราบว่าผู้ต้องขังรายนี้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใด จะทำให้ทราบว่าเป็นการติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศ หรือเป็นการติดเชื้อจากที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศหลงเหลืออยู่จากการระบาดในประเทศ เนื่องจากการระบาดระลอกที่ 1 ในไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เอส(S) แพร่ระบาดได้น้อยและอาการค่อนข้างรุนแรง ส่วนที่ระบาดในต่างประเทศเป็นสายพันธ์จี(G) ซึ่งแพร่ระบาดได้มากแต่อาการไม่รุนแรง