ดร.วีระ แข็งกสิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะดูแลศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมเรื่องการบูรณาการงานการศึกษาเพื่อความมั่นคงและพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งจัดโดยสำนักงาน คปต.ส่วนหน้า ที่ จ.สงขลา โดยการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกภาคส่วน องค์การภาคีเครือข่าย และผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาต้องน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางการพัฒนา และประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เพื่อความสุข สงบ สันติ สมานฉันท์และความเจริญที่ยั่งยืน และทุกหน่วยงานต้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2564 ทาง ศธ. เน้นเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง ดังนี้ 1.พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจเข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินงาน 2.เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ 3.ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4.ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด โดยขอฝ่ายความมั่นคงผลึกกำลังอย่างแน่นแฟ้นกับหน่วยงานทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ร่วมแรง ร่วมใจพัฒนานักเรียน นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคมและขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อพัฒนางานพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2564 ทาง ศธ. เน้นเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคง ดังนี้ 1.พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจเข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดำเนินงาน 2.เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ 3.ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นสื่อจัดการเรียนการสอนในพื้นที่ที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลาย เพื่อวางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารและใช้ภาษาที่สามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4.ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด โดยขอฝ่ายความมั่นคงผลึกกำลังอย่างแน่นแฟ้นกับหน่วยงานทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ร่วมแรง ร่วมใจพัฒนานักเรียน นักศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคมและขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อพัฒนางานพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้