ศูนย์กลางประสานงาน นักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 เนื้อหาดังนี้
แถลงการณ์ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ที่ออกมารับรองว่าการเคลื่อนไหวของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนน้อยที่มีพฤติการณ์พาดพิงสถาบันฯ เป็นเรื่องที่สมควรนั้น ทางศูนย์กลางประสานงาน นักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.) มีข้อคิดเห็นแย้งอยู่มากทีเดียว เพราะ 1. กรณีนี้อาจารย์มีผลประโยชน์ ไม่เป็นกลาง เช่น
1.1 อาจารย์เป็นผู้มีผลประโยชน์จากนักศึกษาโดยตรง ถ้าทำให้นักศึกษา ไม่พอใจก็อาจจะถูกคัดค้าน หรือถูกโห่ฮาป่า หรือโดนนักศึกษาต่อต้าน วิชาที่สอนก็จะมีผู้ลงทะเบียนเรียนน้อย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้น อาจารย์เองจึงจำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของเด็ก ขาดความเป็นกลาง ซึ่งอาจารย์ควรพิจารณาตัวเองก่อนว่า ในฐานะคนไทยที่มีกิน มีคนเคารพนับถือ เสวยสุขอยู่ได้ทุกวันนั้น เป็นเพราะแผ่นดินไทยมีเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนไทยในชาติเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นอยู่โดยสงบและสันติจนกลายเป็นประเทศที่มีชาวต่างชาติต้องการเข้ามาพักอาศัยอยู่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก นั่นก็เพราะประเทศไทยมีประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่งดงาม หลากหลายที่ ทำให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า มีศาสนา มีศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นต้นธารของการเกิดประเพณีวัฒนธรรมไทยขึ้น โดยเฉพาะราชวงศ์จักรีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อประเทศไทย ในการเชื่อมโยงชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารให้เป็นหนึ่งเดียวกันตลอดมา ถ้าอาจารย์ยังมีบุพการีอยู่ก็ลองถามท่านดูว่าการตัดสินใจของอาจารย์ครั้งนี้ถูกต้อง หรือตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองกันแน่ หรืออาจารย์จะไม่พูดกันแล้วก็ไม่รู้
1.2 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ การเป็นอาจารย์ที่มีตัวตนและขึ้นสู่ตำแหน่งต่างๆ ได้นั้นจำเป็นต้องมีประชากรในมหาวิทยาลัยสนับสนุน ดังนั้นอาจารย์เหมือนกับนักการเมืองทั่วๆ ไป บางมหาวิทยาลัยยังต้องซื้อเสียงเลย อาจารย์จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเด็ก บุคลากรทางธุรการ และเพื่อนอาจารย์ด้วยกัน แถลงการณ์ของอาจารย์ที่ออกมาจึง ทับซ้อนอยู่กับผลประโยชน์ของตัวเองอย่างโงหัวไม่ขึ้น ทำไมไม่ลองหันกลับไปดูสังคมตะวันตกที่อาจารย์ภูมิใจนักหนาว่าปัจจุบันมีสภาพของสถาบันครอบครัวและความเป็นอยู่โดยทั่วไปของคนจนเป็นอย่างไรบ้าง
1.3 มหาวิทยาลัยของรัฐล้วนผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีรายได้ มีความเป็นอยู่อย่างอิ่มหนำสำราญบน ที่ดินดังกล่าวนี้ ปัจจุบันก็ยังพยายามอ้างสถาบันฯ มาแย่งที่โรงเรียนอาชีวะ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นแรกๆ ยังต้องเดินมาขอยาที่วังสระปทุม ฯลฯ อาจารย์ควรกลับไปคิดถึงเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วย
1.4 นอกเหนือจากการตรวจข้อสอบแล้ว การช่วยทำงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ ของอาจารย์นั้น ถ้าทำการสืบค้นดูจะพบว่ามาจากต่างชาติเกือบครึ่งหนึ่ง ที่เหลือมาจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ซึ่งรายได้ส่วนนี้ล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น รวมถึงรายได้จากการเขียนตำราต่างๆ ด้วย ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างไปจากอาชีพอื่นๆ เลยโดยเฉพาะความเป็นอยู่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ซึ่งถ้า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์มาเห็นเข้า คงจะต้องร้องไห้ยิ่งกว่าตอนที่ลงไปห้ามไม่ให้นักศึกษาจัดชุมนุมเมื่อ 5 ตุลาคม 2519 เสียอีก
2. ในแถลงการณ์ของอาจารย์บอกว่า “สังคมไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงมือปฏิบัติงานผ่านเทโนโลยีต่างๆ เช่นกลุ่มอาชีวะ ฝ่ายอาจารย์ย้ำต่อว่า “ไม่มีสถานที่ใดเหมาะสมไปกว่ามหาวิทยาลัยสำหรับ การให้สมาชิกในสังคมได้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบร่วมกันอย่างสันติ”
อยากจะถามกลับว่า การขึ้นป้ายต่างๆ ที่มีข้อความสร้างความแตกแยกในสังคม การด่าคนอื่นได้แต่ตัวเองไม่ยอมให้คนด่ากลับบ้าง การสอนให้เด็กด่าพ่อแม่ การมั่วสุมกันไปมาของแกนนำนักศึกษาหลังเวที การรับเงินมาจัดงาน การพูดไม่จริงในการอ้างอิงประวัติศาสตร์ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เป็นแนวทางสันติวิธีหรือไม่ และเหมาะสมที่จะทำในมหาวิทยาลัยหรือไม่ การอ้างชื่อสหพันธ์นิสิตนักศึกษา ทั้งๆ ที่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เขาไม่ได้รับรู้ด้วย พออีกฝ่ายอ้างบ้างก็ไปว่าเขาเป็นศูนย์เถื่อน ถ้าอยากเป็น “ประชาธิปไตย” จริงๆ ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่นด้วย จึงจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง พวกอาจารย์คิดถึงเรื่องแบบนี้บ้างไหม หรือยอมให้ใช้ชื่อโดยไม่ได้อ่านรายละเอียด (น่าจะมากกว่าครั้งหนึ่ง)
แถลงการณ์ ศอปส. ฉบับนี้เพียงต้องการให้อาจารย์ทุกท่านมีความคิดอิสระ คิดแบบผู้ใหญ่ คิดแบบคนไทย โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะคาดคะเนได้ เทคโนโลยีนานาชนิดกำลังผสานกันผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ขึ้น มนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ ให้ได้ รากฐานทางวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ “คน” ยังเป็น “มนุษย์” อยู่ต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว
ส่วนแกนนำอ้วนๆ 3-4 คน ที่อาจารย์เอาอกเอาใจอยู่ในขณะนี้ อีก 2-3 ปีก็จะเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น ดังนั้น กฎหมายจึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามที่อาจารย์เคยร่ำร้องไว้หลายกรณี แต่ทำไมเด็กทำผิดกฎหมาย อาจารย์จึงออกมาปกป้องกัน ถามจริงๆ นอกจากอาจารย์สิบกว่าคนที่อ่านชื่อดูก็รู้แล้วว่า ไม่เป็นกลาง พวกอาจารย์ที่ร่วมลงชื่อเคยไปฟังเด็กอ้วนเหล่านี้พูดบ้างไหม ถ้าจะห้ามปรามต้องห้ามด้วยกันทั้งสองฝ่าย การพูดกระทบพาดพิงสถาบันฯ ระดับนี้ก็เหมือนกับการด่าพ่อแม่ของพวกอาชีวะและประชาชนส่วนใหญ่ อาจารย์รู้บ้างไหม จะให้พวกเขาอดทนอยู่ต่อไปขนาดไหน
นักเรียนอาชีวะนั้น เคยผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นแนวหน้าให้นิสิตนักศึกษาเจ็บตายมากกว่าก็ไม่พูด ไม่เคยเรียกร้องว่าเป็นวีรชน พอถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พวกเขาก็เปลี่ยนใจจากการป้องกันนิสิตนักศึกษา เพราะประชาชน ไม่เอานิสิตนักศึกษา แม้แต่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ก็ยังไม่เห็นด้วยเพราะถูกบังคับให้วิจารณ์ตัวเอง ปัจจุบันการที่รุ่นพี่ข่มขู่นิสิตนักศึกษาให้เข้าร่วมชุมนุมก็เกิดขึ้นแล้วและหนักกว่าเดิมอีก ดังนั้น การเคลื่อนไหวของเครือข่ายเด็กอาชีวะในปัจจุบัน ศิษย์เก่าอาชีวะ และประชาชนที่เคยเข้าร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ เห็นว่าการเคลื่อนไหวของอาชีวะและประชาชนในเวลาต่อไปจะเป็นไปในทิศทางไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับบทบาทของนิสิตนักศึกษาส่วนน้อยกลุ่มนี้เอง ซึ่งอาจารย์ควรลงไปฟังเวลาพวกเขาชุมนุมกันบ้าง จะได้ว่ากล่าวตักเตือนและรับรู้เรื่องจริงที่เกิดขึ้น อย่าเซ็นชื่อเพราะถูกเพื่อนอาจารย์ขอร้องมา หรือกลัวเด็กประท้วง มนุษย์กำลังเข้าสู่มิติที่มหัศจรรย์ด้วยอำนาจเทคโนโลยีในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแล้ว อาจารย์ยังล่ารายชื่อทางโทรศัพท์กันอยู่แบบเดิมน่าจะใช้ไม่ได้แล้ว อยากปกป้องนักศึกษาต้องรีบลงมานั่งฟังพวกเขาพูดด้วยตัวเอง มาดูพฤติกรรมหลังเวที มาดูว่าเสบียงอาหารลำเลียงกันมาอย่างไร มาดูว่าหลังจบการอภิปรายแล้วใครไปกับใคร มีการ์ดสีเสื้อมาดูแลหรือไม่ ซึ่งพวกนักศึกษาอาจจะไม่รู้ มีการปีนไปปิดกล้องวงจรปิด ใช้ทะเบียนรถปลอม ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ลำพังเด็กๆ จะทำกันเองได้หรือ แม้อาจารย์จะไม่ได้สอนโรงเรียนอาชีวะหรืออายุน้อยกว่าก็ตาม แต่พวกเราก็ยังเคารพและกราบขออภัยมาด้วยถ้าล่วงเกินมากไป
แถลงการณ์ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ที่ออกมารับรองว่าการเคลื่อนไหวของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนน้อยที่มีพฤติการณ์พาดพิงสถาบันฯ เป็นเรื่องที่สมควรนั้น ทางศูนย์กลางประสานงาน นักศึกษา อาชีวะ ประชาชน ปกป้องสถาบันฯ (ศอปส.) มีข้อคิดเห็นแย้งอยู่มากทีเดียว เพราะ 1. กรณีนี้อาจารย์มีผลประโยชน์ ไม่เป็นกลาง เช่น
1.1 อาจารย์เป็นผู้มีผลประโยชน์จากนักศึกษาโดยตรง ถ้าทำให้นักศึกษา ไม่พอใจก็อาจจะถูกคัดค้าน หรือถูกโห่ฮาป่า หรือโดนนักศึกษาต่อต้าน วิชาที่สอนก็จะมีผู้ลงทะเบียนเรียนน้อย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้น อาจารย์เองจึงจำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของเด็ก ขาดความเป็นกลาง ซึ่งอาจารย์ควรพิจารณาตัวเองก่อนว่า ในฐานะคนไทยที่มีกิน มีคนเคารพนับถือ เสวยสุขอยู่ได้ทุกวันนั้น เป็นเพราะแผ่นดินไทยมีเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนไทยในชาติเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นอยู่โดยสงบและสันติจนกลายเป็นประเทศที่มีชาวต่างชาติต้องการเข้ามาพักอาศัยอยู่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก นั่นก็เพราะประเทศไทยมีประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่งดงาม หลากหลายที่ ทำให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า มีศาสนา มีศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้ว โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นต้นธารของการเกิดประเพณีวัฒนธรรมไทยขึ้น โดยเฉพาะราชวงศ์จักรีที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อประเทศไทย ในการเชื่อมโยงชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารให้เป็นหนึ่งเดียวกันตลอดมา ถ้าอาจารย์ยังมีบุพการีอยู่ก็ลองถามท่านดูว่าการตัดสินใจของอาจารย์ครั้งนี้ถูกต้อง หรือตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองกันแน่ หรืออาจารย์จะไม่พูดกันแล้วก็ไม่รู้
1.2 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ การเป็นอาจารย์ที่มีตัวตนและขึ้นสู่ตำแหน่งต่างๆ ได้นั้นจำเป็นต้องมีประชากรในมหาวิทยาลัยสนับสนุน ดังนั้นอาจารย์เหมือนกับนักการเมืองทั่วๆ ไป บางมหาวิทยาลัยยังต้องซื้อเสียงเลย อาจารย์จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเด็ก บุคลากรทางธุรการ และเพื่อนอาจารย์ด้วยกัน แถลงการณ์ของอาจารย์ที่ออกมาจึง ทับซ้อนอยู่กับผลประโยชน์ของตัวเองอย่างโงหัวไม่ขึ้น ทำไมไม่ลองหันกลับไปดูสังคมตะวันตกที่อาจารย์ภูมิใจนักหนาว่าปัจจุบันมีสภาพของสถาบันครอบครัวและความเป็นอยู่โดยทั่วไปของคนจนเป็นอย่างไรบ้าง
1.3 มหาวิทยาลัยของรัฐล้วนผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีรายได้ มีความเป็นอยู่อย่างอิ่มหนำสำราญบน ที่ดินดังกล่าวนี้ ปัจจุบันก็ยังพยายามอ้างสถาบันฯ มาแย่งที่โรงเรียนอาชีวะ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นแรกๆ ยังต้องเดินมาขอยาที่วังสระปทุม ฯลฯ อาจารย์ควรกลับไปคิดถึงเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วย
1.4 นอกเหนือจากการตรวจข้อสอบแล้ว การช่วยทำงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ ของอาจารย์นั้น ถ้าทำการสืบค้นดูจะพบว่ามาจากต่างชาติเกือบครึ่งหนึ่ง ที่เหลือมาจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ซึ่งรายได้ส่วนนี้ล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ต้องเสียภาษีทั้งสิ้น รวมถึงรายได้จากการเขียนตำราต่างๆ ด้วย ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างไปจากอาชีพอื่นๆ เลยโดยเฉพาะความเป็นอยู่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ซึ่งถ้า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์มาเห็นเข้า คงจะต้องร้องไห้ยิ่งกว่าตอนที่ลงไปห้ามไม่ให้นักศึกษาจัดชุมนุมเมื่อ 5 ตุลาคม 2519 เสียอีก
2. ในแถลงการณ์ของอาจารย์บอกว่า “สังคมไทยกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงมือปฏิบัติงานผ่านเทโนโลยีต่างๆ เช่นกลุ่มอาชีวะ ฝ่ายอาจารย์ย้ำต่อว่า “ไม่มีสถานที่ใดเหมาะสมไปกว่ามหาวิทยาลัยสำหรับ การให้สมาชิกในสังคมได้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบร่วมกันอย่างสันติ”
อยากจะถามกลับว่า การขึ้นป้ายต่างๆ ที่มีข้อความสร้างความแตกแยกในสังคม การด่าคนอื่นได้แต่ตัวเองไม่ยอมให้คนด่ากลับบ้าง การสอนให้เด็กด่าพ่อแม่ การมั่วสุมกันไปมาของแกนนำนักศึกษาหลังเวที การรับเงินมาจัดงาน การพูดไม่จริงในการอ้างอิงประวัติศาสตร์ ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เป็นแนวทางสันติวิธีหรือไม่ และเหมาะสมที่จะทำในมหาวิทยาลัยหรือไม่ การอ้างชื่อสหพันธ์นิสิตนักศึกษา ทั้งๆ ที่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เขาไม่ได้รับรู้ด้วย พออีกฝ่ายอ้างบ้างก็ไปว่าเขาเป็นศูนย์เถื่อน ถ้าอยากเป็น “ประชาธิปไตย” จริงๆ ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นคนอื่นด้วย จึงจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง พวกอาจารย์คิดถึงเรื่องแบบนี้บ้างไหม หรือยอมให้ใช้ชื่อโดยไม่ได้อ่านรายละเอียด (น่าจะมากกว่าครั้งหนึ่ง)
แถลงการณ์ ศอปส. ฉบับนี้เพียงต้องการให้อาจารย์ทุกท่านมีความคิดอิสระ คิดแบบผู้ใหญ่ คิดแบบคนไทย โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะคาดคะเนได้ เทคโนโลยีนานาชนิดกำลังผสานกันผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ขึ้น มนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆ ให้ได้ รากฐานทางวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ “คน” ยังเป็น “มนุษย์” อยู่ต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว
ส่วนแกนนำอ้วนๆ 3-4 คน ที่อาจารย์เอาอกเอาใจอยู่ในขณะนี้ อีก 2-3 ปีก็จะเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น ดังนั้น กฎหมายจึงควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามที่อาจารย์เคยร่ำร้องไว้หลายกรณี แต่ทำไมเด็กทำผิดกฎหมาย อาจารย์จึงออกมาปกป้องกัน ถามจริงๆ นอกจากอาจารย์สิบกว่าคนที่อ่านชื่อดูก็รู้แล้วว่า ไม่เป็นกลาง พวกอาจารย์ที่ร่วมลงชื่อเคยไปฟังเด็กอ้วนเหล่านี้พูดบ้างไหม ถ้าจะห้ามปรามต้องห้ามด้วยกันทั้งสองฝ่าย การพูดกระทบพาดพิงสถาบันฯ ระดับนี้ก็เหมือนกับการด่าพ่อแม่ของพวกอาชีวะและประชาชนส่วนใหญ่ อาจารย์รู้บ้างไหม จะให้พวกเขาอดทนอยู่ต่อไปขนาดไหน
นักเรียนอาชีวะนั้น เคยผ่านเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นแนวหน้าให้นิสิตนักศึกษาเจ็บตายมากกว่าก็ไม่พูด ไม่เคยเรียกร้องว่าเป็นวีรชน พอถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พวกเขาก็เปลี่ยนใจจากการป้องกันนิสิตนักศึกษา เพราะประชาชน ไม่เอานิสิตนักศึกษา แม้แต่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ก็ยังไม่เห็นด้วยเพราะถูกบังคับให้วิจารณ์ตัวเอง ปัจจุบันการที่รุ่นพี่ข่มขู่นิสิตนักศึกษาให้เข้าร่วมชุมนุมก็เกิดขึ้นแล้วและหนักกว่าเดิมอีก ดังนั้น การเคลื่อนไหวของเครือข่ายเด็กอาชีวะในปัจจุบัน ศิษย์เก่าอาชีวะ และประชาชนที่เคยเข้าร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ เห็นว่าการเคลื่อนไหวของอาชีวะและประชาชนในเวลาต่อไปจะเป็นไปในทิศทางไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับบทบาทของนิสิตนักศึกษาส่วนน้อยกลุ่มนี้เอง ซึ่งอาจารย์ควรลงไปฟังเวลาพวกเขาชุมนุมกันบ้าง จะได้ว่ากล่าวตักเตือนและรับรู้เรื่องจริงที่เกิดขึ้น อย่าเซ็นชื่อเพราะถูกเพื่อนอาจารย์ขอร้องมา หรือกลัวเด็กประท้วง มนุษย์กำลังเข้าสู่มิติที่มหัศจรรย์ด้วยอำนาจเทคโนโลยีในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแล้ว อาจารย์ยังล่ารายชื่อทางโทรศัพท์กันอยู่แบบเดิมน่าจะใช้ไม่ได้แล้ว อยากปกป้องนักศึกษาต้องรีบลงมานั่งฟังพวกเขาพูดด้วยตัวเอง มาดูพฤติกรรมหลังเวที มาดูว่าเสบียงอาหารลำเลียงกันมาอย่างไร มาดูว่าหลังจบการอภิปรายแล้วใครไปกับใคร มีการ์ดสีเสื้อมาดูแลหรือไม่ ซึ่งพวกนักศึกษาอาจจะไม่รู้ มีการปีนไปปิดกล้องวงจรปิด ใช้ทะเบียนรถปลอม ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ลำพังเด็กๆ จะทำกันเองได้หรือ แม้อาจารย์จะไม่ได้สอนโรงเรียนอาชีวะหรืออายุน้อยกว่าก็ตาม แต่พวกเราก็ยังเคารพและกราบขออภัยมาด้วยถ้าล่วงเกินมากไป