น.พ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยวันนี้ (19 เม.ย.) ว่า ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีสถาบันการศึกษาที่อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนาวัคซีน โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รวบรวมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มวิจัยในขั้นทดลองควบคู่ไปกับความพยายามที่จะร่วมมือกับต่างประเทศที่วิจัยพัฒนาวัคซีน เพื่อให้ไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ การนำวัคซีนต้นแบบ หรือนำวัคซีนที่ต่างประเทศทดสอบจากสัตว์ทดลองเข้าสู่คน หากสามารถทำความร่วมมือและมีแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีข้อตกลงกันได้ จะเป็นหนทางที่ไทยจะเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด ซึ่งประเทศที่มีความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีน ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และอังกฤษ ที่สามารถทดสอบในคนระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ได้แล้ว พร้อมกันนั้น ต้องพัฒนาวัคซีนต้นแบบด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำ สร้างคนของเราให้พร้อมเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและมีโรงงานผลิตของตัวเอง
นพ.นคร กล่าวอีกว่า ทางไทยได้เจรจาทำความร่วมมือกับจีน ซึ่งได้หารือเบื้องต้นกับทางสถานทูตจีนติดตามความก้าวหน้าในความร่วมมือการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) จะทำให้ไทยสามารถร่วมในขั้นตอนทดสอบวัคซีนของหน่วยงานจีน ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานกับการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบด้วยตัวเองเพื่อให้เข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น
ด้าน นางสุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขั้นของการทดสอบวัคซีนในหนูทดลอง 2 ครั้งแล้ว โดยได้เจาะเซรั่มส่งมาให้กรมฯ ตรวจภูมิคุ้มกันว่าจะขึ้นมากน้อยเพียงใด ส่วนทางมหาวิทยาลัยมหิดล ขอให้กรมฯ เพิ่มจำนวนไวรัสในปริมาณที่มากเพียงพอจะนำไปฆ่าเชื้อให้เป็นวัคซีนเชื้อตายเพื่อนำไปทดสอบในสัตว์ทดลองและนำมาตรวจระดับภูมิคุ้มกันต่อไป
ทั้งนี้ การนำวัคซีนต้นแบบ หรือนำวัคซีนที่ต่างประเทศทดสอบจากสัตว์ทดลองเข้าสู่คน หากสามารถทำความร่วมมือและมีแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีข้อตกลงกันได้ จะเป็นหนทางที่ไทยจะเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด ซึ่งประเทศที่มีความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีน ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และอังกฤษ ที่สามารถทดสอบในคนระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ได้แล้ว พร้อมกันนั้น ต้องพัฒนาวัคซีนต้นแบบด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำ สร้างคนของเราให้พร้อมเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญและมีโรงงานผลิตของตัวเอง
นพ.นคร กล่าวอีกว่า ทางไทยได้เจรจาทำความร่วมมือกับจีน ซึ่งได้หารือเบื้องต้นกับทางสถานทูตจีนติดตามความก้าวหน้าในความร่วมมือการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) จะทำให้ไทยสามารถร่วมในขั้นตอนทดสอบวัคซีนของหน่วยงานจีน ซึ่งจะดำเนินการคู่ขนานกับการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบด้วยตัวเองเพื่อให้เข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น
ด้าน นางสุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขั้นของการทดสอบวัคซีนในหนูทดลอง 2 ครั้งแล้ว โดยได้เจาะเซรั่มส่งมาให้กรมฯ ตรวจภูมิคุ้มกันว่าจะขึ้นมากน้อยเพียงใด ส่วนทางมหาวิทยาลัยมหิดล ขอให้กรมฯ เพิ่มจำนวนไวรัสในปริมาณที่มากเพียงพอจะนำไปฆ่าเชื้อให้เป็นวัคซีนเชื้อตายเพื่อนำไปทดสอบในสัตว์ทดลองและนำมาตรวจระดับภูมิคุ้มกันต่อไป