นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยหลังหารือปัญหาการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กิโลเมตร วงเงิน 24,180 ล้านบาท ระหว่างกระทรวงคมนาคมและจังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ว่า กระทรวงคมนาคมรับจะไปศึกษาข้อเสนอของจังหวัดนครราชสีมา ที่ยืนยันว่าต้องให้ปรับแบบรถไฟประมาณ 6-12 กิโลเมตร ช่วงสถานีจิระ ให้เป็นทางยกระดับ เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้ตามปกติ เนื่องจากมองว่าการก่อสร้างรถไฟระดับพื้นดิน และมีรั้วกั้นจะแบ่งตัวเมืองนครราชสีมาเป็น 2 ฝั่ง กระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนและการเติบโตของเมือง
อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้จะพิจารณาว่าหากดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวจะมีผลกระทบด้านใดบ้าง รวมถึงมีต้นทุน และค่าใช้จ่ายเท่าใด
ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษา 1 สัปดาห์ จากนั้นจะนำมาหารือร่วมกับทางจังหวัดนครราชสีมาอีกครั้ง คาดว่า 2-3 สัปดาห์จะเสนอให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก่อนที่ ร.ฟ.ท. จะเปิดให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาในวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยมี 3 ทางเลือก ได้แก่ ไม่มีการยกระดับจะใช้ระดับพื้นดินตามแบบเดิม ยกระดับ แต่เป็นระยะทางสั้น ๆ ประมาณ 6-7 กิโลเมตร หรือยกระดับทั้งระบบ ประมาณ 12 กิโลเมตร
ทั้งนี้ หากเลือกทางเลือกที่ 1 ก็สามารถเดินหน้าประมูลรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญางานก่อสร้างโยธาฉบับที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระระยะทาง 70 กม.ราคากลาง 7,060 ล้านบาทได้เลย
แต่หากเลือกทางเลือกที่ 2 และ 3 ต้องออกแบบและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ รวมทั้งไม่มั่นใจด้วยว่าต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกหรือไม่ เพราะการยกระดับคาดว่าต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท อีกทั้งจะกระทบกับการเปิดประมูลที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยน่าจะทำให้โครงการก่อสร้างชะลอออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการก่อสร้างรถไฟระดับพื้นดิน จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนจริง แต่ ร.ฟ.ท. ก็พยายามออกแบบการก่อสร้างให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปจากเดิมน้อยที่สุด และที่ผ่านมาเมื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นก็ได้หยิบยกประเด็นเรื่องนี้มาพูดคุยกันแล้ว ซึ่ง ร.ฟ.ท. ก็รับที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ เช่น ก่อสร้างสะพานหรือทางกลับรถ (ยูเทิร์น) เป็นต้น
นายอานนท์ ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมรับฟังข้อเสนอของประชาชน เพราะถ้าไม่รับฟังสุดท้ายเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาเข้าพื้นที่ก่อสร้างก็อาจเกิดปัญหาเข้าพื้นที่ก่อสร้างไม่ได้อยู่ดี
อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้จะพิจารณาว่าหากดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวจะมีผลกระทบด้านใดบ้าง รวมถึงมีต้นทุน และค่าใช้จ่ายเท่าใด
ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษา 1 สัปดาห์ จากนั้นจะนำมาหารือร่วมกับทางจังหวัดนครราชสีมาอีกครั้ง คาดว่า 2-3 สัปดาห์จะเสนอให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ก่อนที่ ร.ฟ.ท. จะเปิดให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาในวันที่ 1 กันยายนนี้ โดยมี 3 ทางเลือก ได้แก่ ไม่มีการยกระดับจะใช้ระดับพื้นดินตามแบบเดิม ยกระดับ แต่เป็นระยะทางสั้น ๆ ประมาณ 6-7 กิโลเมตร หรือยกระดับทั้งระบบ ประมาณ 12 กิโลเมตร
ทั้งนี้ หากเลือกทางเลือกที่ 1 ก็สามารถเดินหน้าประมูลรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญางานก่อสร้างโยธาฉบับที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางถนนจิระระยะทาง 70 กม.ราคากลาง 7,060 ล้านบาทได้เลย
แต่หากเลือกทางเลือกที่ 2 และ 3 ต้องออกแบบและศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ รวมทั้งไม่มั่นใจด้วยว่าต้องนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกหรือไม่ เพราะการยกระดับคาดว่าต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท อีกทั้งจะกระทบกับการเปิดประมูลที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยน่าจะทำให้โครงการก่อสร้างชะลอออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการก่อสร้างรถไฟระดับพื้นดิน จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนจริง แต่ ร.ฟ.ท. ก็พยายามออกแบบการก่อสร้างให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปจากเดิมน้อยที่สุด และที่ผ่านมาเมื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นก็ได้หยิบยกประเด็นเรื่องนี้มาพูดคุยกันแล้ว ซึ่ง ร.ฟ.ท. ก็รับที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ เช่น ก่อสร้างสะพานหรือทางกลับรถ (ยูเทิร์น) เป็นต้น
นายอานนท์ ยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมรับฟังข้อเสนอของประชาชน เพราะถ้าไม่รับฟังสุดท้ายเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาเข้าพื้นที่ก่อสร้างก็อาจเกิดปัญหาเข้าพื้นที่ก่อสร้างไม่ได้อยู่ดี