นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน กล่าวถึงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยานในสังกัด เพื่อรองรับการตรวจมาตรฐานตามโปรแกรม Universal Security Audit Programme (USAP) หรือยูแซป ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) หรือ ไอเคโอ หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาลงพื้นที่ตรวจมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง
ทั้งนี้ การตรวจท่าอากาศยานภูมิภาค ไอเคโอสามารถสุ่มตามข้อมูลที่ได้รับจากข่าวเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยที่เกิดขึ้นได้ โดยมีรอบเวลาการเข้ามาตรวจมาตรฐาน 2 - 4 ปี ดังนั้น กรมท่าอากาศยานจะมีการเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถเข้าตรวจตามโปรแกรมดังกล่าว โดยกรมท่าอากาศยานขอจัดสรรงบประมาณการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยาน เช่น ปี 2560 ดำเนินการ 3 ท่าอากาศยาน คือ กระบี่ อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี วงเงิน 700 ล้านบาท และปี 2561 อีก 8 ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย อุบลราชธานี ขอนแก่น นครศรีธรรมราช ตรัง พิษณุโลก นครพนม สกลนคร และนราธิวาส วงเงิน 1,800 ล้านบาท โดยท่าอากาศยานเหล่านี้เปิดให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์และมีผู้โดยสารใช้บริการคับคั่ง
สำหรับการลงทุนปรับปรุงมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัยรองรับการตรวจตามโปรแกรมยูแซป จะมีทั้งปรับปรุงพื้นที่ให้ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าระบบเมื่อโหลดกระเป๋าสัมภาระเข้าสู่ระบบเช็กอินแล้ว จะไม่สามารถสัมผัสกระเป๋าสัมภาระได้อีก ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ จะเป็นการลงทุนระบบเอกซเรย์ ตรวจหาวัตถุต้องสงสัยหรือวัตถุระเบิดต่าง ๆ เพื่อแยกออกมาทำลายทั้งหมดเป็นมาตรฐานที่จะปรับปรุงเพื่อการตรวจของไอเคโอในอนาคต
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการใช้บริการท่าอากาศยานที่กรมท่าอากาศยานกำกับดูแล 28 แห่ง ผู้ใช้บริการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรอบ 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มกว่าร้อยละ 200 ขณะที่ปี 2559 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 174 ล้านคน
ทั้งนี้ การตรวจท่าอากาศยานภูมิภาค ไอเคโอสามารถสุ่มตามข้อมูลที่ได้รับจากข่าวเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยที่เกิดขึ้นได้ โดยมีรอบเวลาการเข้ามาตรวจมาตรฐาน 2 - 4 ปี ดังนั้น กรมท่าอากาศยานจะมีการเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถเข้าตรวจตามโปรแกรมดังกล่าว โดยกรมท่าอากาศยานขอจัดสรรงบประมาณการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยาน เช่น ปี 2560 ดำเนินการ 3 ท่าอากาศยาน คือ กระบี่ อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี วงเงิน 700 ล้านบาท และปี 2561 อีก 8 ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย อุบลราชธานี ขอนแก่น นครศรีธรรมราช ตรัง พิษณุโลก นครพนม สกลนคร และนราธิวาส วงเงิน 1,800 ล้านบาท โดยท่าอากาศยานเหล่านี้เปิดให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์และมีผู้โดยสารใช้บริการคับคั่ง
สำหรับการลงทุนปรับปรุงมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัยรองรับการตรวจตามโปรแกรมยูแซป จะมีทั้งปรับปรุงพื้นที่ให้ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าระบบเมื่อโหลดกระเป๋าสัมภาระเข้าสู่ระบบเช็กอินแล้ว จะไม่สามารถสัมผัสกระเป๋าสัมภาระได้อีก ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ จะเป็นการลงทุนระบบเอกซเรย์ ตรวจหาวัตถุต้องสงสัยหรือวัตถุระเบิดต่าง ๆ เพื่อแยกออกมาทำลายทั้งหมดเป็นมาตรฐานที่จะปรับปรุงเพื่อการตรวจของไอเคโอในอนาคต
ทั้งนี้ ยอมรับว่าการใช้บริการท่าอากาศยานที่กรมท่าอากาศยานกำกับดูแล 28 แห่ง ผู้ใช้บริการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรอบ 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มกว่าร้อยละ 200 ขณะที่ปี 2559 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 174 ล้านคน