การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (13 ก.ค.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ... ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย ตัวแทนจาก สนช. กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานกรรมาธิการวิสามัญ ฯ กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ได้พิจารณาข้อโต้แย้ง 6 ประเด็น ประกอบด้วย มาตรา 11 วรรคสาม เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการสรรหา กกต. / มาตรา 12 วรรคหนึ่ง เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กกต. ที่ระบุว่า ไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ในอาณัติของพรรคการเมืองใดๆ มาตรา 26 อำนาจหน้าที่ของ กกต. แต่ละคนในการสั่งระงับการเลือกตั้งที่เห็นว่าไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง มาตรา 27 ที่กำหนดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กกต. ให้ควบคุมดูแลการจัดการเลือกตั้งสมาชิสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ กกต.มอบอำนาจให้เลขาธิการ กกต. หรือพนักงานของสำนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและไต่สวนได้ และมาตรา 70 ที่บัญญัติให้ กกต. ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ เสร็จแล้ว โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า ทั้ง 6 ประเด็นดังกล่าว ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สำหรับขั้นตอนการพิจารณาเมื่อที่ประชุม สนช. รับฟังการชี้แจงแล้ว จะลงมติทั้งร่างว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ซึ่งหากเห็นชอบจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 126 เสียง แต่หากคะแนนเสียงไม่เห็นชอบเกิน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่า 167 เสียง จะส่งผลให้ร่างกฎหมายนี้ตกไป และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอเข้ามาใหม่ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานกรรมาธิการวิสามัญ ฯ กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ได้พิจารณาข้อโต้แย้ง 6 ประเด็น ประกอบด้วย มาตรา 11 วรรคสาม เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการสรรหา กกต. / มาตรา 12 วรรคหนึ่ง เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กกต. ที่ระบุว่า ไม่มีพฤติการณ์ยอมตนอยู่ในอาณัติของพรรคการเมืองใดๆ มาตรา 26 อำนาจหน้าที่ของ กกต. แต่ละคนในการสั่งระงับการเลือกตั้งที่เห็นว่าไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง มาตรา 27 ที่กำหนดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กกต. ให้ควบคุมดูแลการจัดการเลือกตั้งสมาชิสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ กกต.มอบอำนาจให้เลขาธิการ กกต. หรือพนักงานของสำนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและไต่สวนได้ และมาตรา 70 ที่บัญญัติให้ กกต. ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ เสร็จแล้ว โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า ทั้ง 6 ประเด็นดังกล่าว ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สำหรับขั้นตอนการพิจารณาเมื่อที่ประชุม สนช. รับฟังการชี้แจงแล้ว จะลงมติทั้งร่างว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ซึ่งหากเห็นชอบจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 126 เสียง แต่หากคะแนนเสียงไม่เห็นชอบเกิน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่า 167 เสียง จะส่งผลให้ร่างกฎหมายนี้ตกไป และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอเข้ามาใหม่ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด