การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (13 ก.ค.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ... วาระ 2 และ 3 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถประทับรับฟ้องและพิพากษาคดีลับหลังจำเลยที่หลบหนีได้ โดยไม่นับอายุความกรณีจำเลยหลบหนีคดีที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของศาล จนกว่าจะได้รับตัวมาลงโทษ เพื่อป้องกันการหลบหนีฟอกตัวรอหมดอายุความแล้วกลับเข้ามาใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนกรณีจำเลยหลบหนีคดีที่ศาลออกหมายจับแล้ว หากไม่สามารถจับตัวจำเลยได้ภาย 3 เดือน ให้ศาลสามารถพิพากษาคดีลับหลังจำเลยได้ โดยจำเลยยังสามารถขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีได้ภายใน 1 ปี เพื่อมาต่อสู้หากมีหลักฐานใหม่ รวมทั้งคดีที่ศาลพิพากษาประหารชีวิต ศาลต้องอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และร่างกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ย้อนหลังต่อคดีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล
ขณะที่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วย พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า หลักการที่ให้พิพากษาลับหลังจำเลยจะขัดต่อหลักกฎหมายเดิมที่ให้จำเลยต้องแสดงตัวต่อศาล บางส่วนก็มองว่า การให้ศาลพิพากษาลับหลังจำเลยจะเป็นการขัดต่อหลักสากล และตัดสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยหรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. มีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วาระ 3 ด้วยคะแนน 176 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถประทับรับฟ้องและพิพากษาคดีลับหลังจำเลยที่หลบหนีได้ โดยไม่นับอายุความกรณีจำเลยหลบหนีคดีที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของศาล จนกว่าจะได้รับตัวมาลงโทษ เพื่อป้องกันการหลบหนีฟอกตัวรอหมดอายุความแล้วกลับเข้ามาใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนกรณีจำเลยหลบหนีคดีที่ศาลออกหมายจับแล้ว หากไม่สามารถจับตัวจำเลยได้ภาย 3 เดือน ให้ศาลสามารถพิพากษาคดีลับหลังจำเลยได้ โดยจำเลยยังสามารถขอให้ศาลรื้อฟื้นคดีได้ภายใน 1 ปี เพื่อมาต่อสู้หากมีหลักฐานใหม่ รวมทั้งคดีที่ศาลพิพากษาประหารชีวิต ศาลต้องอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และร่างกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ย้อนหลังต่อคดีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล
ขณะที่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วย พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า หลักการที่ให้พิพากษาลับหลังจำเลยจะขัดต่อหลักกฎหมายเดิมที่ให้จำเลยต้องแสดงตัวต่อศาล บางส่วนก็มองว่า การให้ศาลพิพากษาลับหลังจำเลยจะเป็นการขัดต่อหลักสากล และตัดสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยหรือไม่
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. มีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วาระ 3 ด้วยคะแนน 176 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป