การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) วันนี้ (3 ก.ค.) มี น.ส.วลัยลักษณ์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท.คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานแผนการปฏิรูปการปฏิบัติงานในรัฐสภา ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ย้ำว่า สาระสำคัญของรายงานฉบับนี้ คือ การยกเลิกการจัดสรรงบประมาณการศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ ส.ส. – ส.ว. ยกเลิกการจัดหาแท็บเล็ตให้แก่สมาชิกรัฐสภา และโอนสถาบันพระปกเกล้ามาสังกัดรัฐสภา จากเดิมที่ขึ้นตรงกับประธานรัฐสภา ยกเลิกหลักสูตรที่สร้างความเชื่อมโยงกับนักการเมือง ผู้มีอำนาจ องค์กรอิสระ จนสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้า ศึกษาวิจัยไม่สอดรับกับการทำงานของรัฐสภา มุ่งเน้นเหมือนเป็นสถาบันสร้างค่านิยมให้เฉพาะกลุ่มการเมือง และกลุ่มนักธุรกิจ จนเป็นการทำงานที่ผิดวัตถุประสงค์
อย่างไรก็ตาม มี สปท.จำนวน 48 คน ไม่เห็นด้วยกับการโอนสถาบันพระปกเกล้าไปสังกัดรัฐสภา จึงได้ทำหนังสือถึงประธาน สปท. ขอให้พิจารณาถึงความเป็นอิสระของสถาบันพระปกเกล้า จนมีสมาชิกกังวลว่า สปท. จะไม่เห็นชอบรายงานฉบับนี้ โดยนำประเด็นของสถาบันพระปกเกล้ามาเป็นข้ออ้าง
นอกจากนี้ ในรายงานดังกล่าวมีเรื่องการห้ามศึกษาดูงานต่างประเทศอยู่ด้วย จึงมีสมาชิกเสนอญัตติให้ลงมติแยก 2 เรื่อง แต่สมาชิกคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย และขอให้กรรมาธิการฯ นำความเห็นของสมาชิกไปปรับแก้ให้เสร็จสิ้น ขณะที่กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ไม่ได้ห้ามสมาชิกรัฐสภาไปต่างประเทศทั้งหมด หากเป็นการไปประชุมก็ยังสามารถทำได้ แต่ห้ามเรื่องการไปดูงาน
ท้ายที่สุด ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายงานฉบับนี้ ด้วยมติ 88 เสียง ไม่เห็นชอบ 12 เสียง และงดออกเสียง 48 เสียง
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ย้ำว่า สาระสำคัญของรายงานฉบับนี้ คือ การยกเลิกการจัดสรรงบประมาณการศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการ ส.ส. – ส.ว. ยกเลิกการจัดหาแท็บเล็ตให้แก่สมาชิกรัฐสภา และโอนสถาบันพระปกเกล้ามาสังกัดรัฐสภา จากเดิมที่ขึ้นตรงกับประธานรัฐสภา ยกเลิกหลักสูตรที่สร้างความเชื่อมโยงกับนักการเมือง ผู้มีอำนาจ องค์กรอิสระ จนสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้า ศึกษาวิจัยไม่สอดรับกับการทำงานของรัฐสภา มุ่งเน้นเหมือนเป็นสถาบันสร้างค่านิยมให้เฉพาะกลุ่มการเมือง และกลุ่มนักธุรกิจ จนเป็นการทำงานที่ผิดวัตถุประสงค์
อย่างไรก็ตาม มี สปท.จำนวน 48 คน ไม่เห็นด้วยกับการโอนสถาบันพระปกเกล้าไปสังกัดรัฐสภา จึงได้ทำหนังสือถึงประธาน สปท. ขอให้พิจารณาถึงความเป็นอิสระของสถาบันพระปกเกล้า จนมีสมาชิกกังวลว่า สปท. จะไม่เห็นชอบรายงานฉบับนี้ โดยนำประเด็นของสถาบันพระปกเกล้ามาเป็นข้ออ้าง
นอกจากนี้ ในรายงานดังกล่าวมีเรื่องการห้ามศึกษาดูงานต่างประเทศอยู่ด้วย จึงมีสมาชิกเสนอญัตติให้ลงมติแยก 2 เรื่อง แต่สมาชิกคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วย และขอให้กรรมาธิการฯ นำความเห็นของสมาชิกไปปรับแก้ให้เสร็จสิ้น ขณะที่กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ไม่ได้ห้ามสมาชิกรัฐสภาไปต่างประเทศทั้งหมด หากเป็นการไปประชุมก็ยังสามารถทำได้ แต่ห้ามเรื่องการไปดูงาน
ท้ายที่สุด ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายงานฉบับนี้ ด้วยมติ 88 เสียง ไม่เห็นชอบ 12 เสียง และงดออกเสียง 48 เสียง