นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงวันนี้ (30 มิ.ย.) ว่า รัฐบาลกำลังผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำแล้ว หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวแทนผู้ค้ายางพาราบุกกระทรวงกลาโหมขอให้ใช้มาตรา 44 แก้ราคายางพาราตกต่ำ และพรรคประชาธิปัตย์ที่มีฐานเสียงจากชาวสวนยางภาคใต้ ส่งอดีต ส.ส.ยื่นแนวทางการแก้ไขปัญหาให้รัฐบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐโดยประกาศให้นำยางพาราในสต๊อกจากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน รักษาเสถียรภาพราคายาง ที่ยังคงอยู่จากการประมูลยางประมาณ 104,000 ตัน มาใช้ในประเทศ โดยให้หน่วยงานต่างๆ เสนอแนวทางว่าจะเอายางพาราไปทำอะไรได้บ้างและตอนนี้มี 10 หน่วยงานที่เสนอความต้องการใช้ยางพารามาแล้ว รวมประมาณ 20,000 ตัน ทั้งการจัดทำสนามเด็กเล่น ปูพื้นจากยางพารา สนามฟุตซอล โครงการยางล้อประชารัฐ และอื่นๆ อีกหลายโครงการ
นอกจากการเพิ่มการใช้ยางพาราของหน่วยงานรัฐแล้ว จะผลักดันการจัดตั้งหน่วยธุรกิจของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ซึ่งแบ่งการสนับสนุนเป็น 4ส่วน คือปัจจัยการผลิต ตลาดยางทั้งผลผลิตยางและไม้ยางโลจิสติกส์ การจัดหาเงินทุนรวมถึงสวัสดิการให้แก่เกษตรกร ส่วนด้านการสร้างเสถียรภาพราคายางได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ปัจจุบันไทยมีบริษัทร่วมทุนกับ 3 ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ กยท. ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อเแก้ปัญหาเสถียรภาพของราคายางเช่น ข้อตกลงเรื่องการจำกัดการส่งออกโดย นายออมสินจะเดินทางไปประชุมกับตัวแทนของมาเลเซียช่วงต้นเดือดกรกฎาคมนี้
นายออมสิน ยังกล่าวว่า เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยความร่วมมือจากผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ทั้ง 5 ราย รวมทั้ง กยท.ลงเงินร่วมกันรายละ 200 ล้านบาท รวม 1,200 ล้านบาท ทำหน้าที่ในการซื้อยางทั้งในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ และตลาดกลางในประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐโดยประกาศให้นำยางพาราในสต๊อกจากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน รักษาเสถียรภาพราคายาง ที่ยังคงอยู่จากการประมูลยางประมาณ 104,000 ตัน มาใช้ในประเทศ โดยให้หน่วยงานต่างๆ เสนอแนวทางว่าจะเอายางพาราไปทำอะไรได้บ้างและตอนนี้มี 10 หน่วยงานที่เสนอความต้องการใช้ยางพารามาแล้ว รวมประมาณ 20,000 ตัน ทั้งการจัดทำสนามเด็กเล่น ปูพื้นจากยางพารา สนามฟุตซอล โครงการยางล้อประชารัฐ และอื่นๆ อีกหลายโครงการ
นอกจากการเพิ่มการใช้ยางพาราของหน่วยงานรัฐแล้ว จะผลักดันการจัดตั้งหน่วยธุรกิจของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ซึ่งแบ่งการสนับสนุนเป็น 4ส่วน คือปัจจัยการผลิต ตลาดยางทั้งผลผลิตยางและไม้ยางโลจิสติกส์ การจัดหาเงินทุนรวมถึงสวัสดิการให้แก่เกษตรกร ส่วนด้านการสร้างเสถียรภาพราคายางได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ปัจจุบันไทยมีบริษัทร่วมทุนกับ 3 ประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ กยท. ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อเแก้ปัญหาเสถียรภาพของราคายางเช่น ข้อตกลงเรื่องการจำกัดการส่งออกโดย นายออมสินจะเดินทางไปประชุมกับตัวแทนของมาเลเซียช่วงต้นเดือดกรกฎาคมนี้
นายออมสิน ยังกล่าวว่า เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยความร่วมมือจากผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ทั้ง 5 ราย รวมทั้ง กยท.ลงเงินร่วมกันรายละ 200 ล้านบาท รวม 1,200 ล้านบาท ทำหน้าที่ในการซื้อยางทั้งในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ และตลาดกลางในประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง