เวลา 10.00 น.วานนี้ (14ต.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ฝั่งสำนักงานก.พ. นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง และตัวแทนแนวร่วมกู้ชีพ พร้อมนายกัมพล เพิงมาก ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง ภาคกลาง และภาคตะวันออก เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอ และเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมรายชื่อตัวแทนกู้ชีพชาวสวนยางจากทั่วประเทศ จำนวน 25 คน ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ผ่านศูนย์บริการประชาชนฯ
นายสุนทร กล่าวว่า ตามที่แนวทางร่วมกู้ชีพชาวสวนยางประกาศเขตภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ จ.สุราษฎร์ธานี จนถึงปัจจุบัน แนวร่วมกู้ชีพฯ แต่ล่ะจังหวัดได้ทยอยประกาศเขตภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำในหลายพื้นที่ ที่เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ให้เกษตรกรแสดงออกอย่างถูกกฎหมาย เพื่อสะท้อนความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำให้รัฐบาลได้รับรู้ โดยขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน คือ
1. ให้ชดเชยส่วนต่างของยางพาราที่กิโลละ 60 บาท เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ ให้กับชาวสวนยางที่จดทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย
2. ให้อนุมัติกองทุนข้าวสาร ที่แนวร่วมกู้ชีพเคยเสนอต่อนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
3. ให้ชะลอการตัดโค่นยางพารา ตามนโยบายทวงคืนพื้นป่า และตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองระดับจังหวัด โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม เพื่อแยะพื้นที่สวนยาง ของคนจนและนายทุน ตามคำสั่ง
4. ให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และคนกรีดยางในที่ดินดังกล่าว สามารถจดทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ได้มีการยื่นรายชื่อตัวแทน แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางทั่วประเทศจำนวน25 คน เพื่อขอพูดคุยโดยตรงกับนายกรัฐมนตรี ในการหาทางออกจากปัญหาครั้งนี้ ขณะเดียวกันแนวร่วมกู้ชีพฯ ขอเสนอโครงการชดเชยส่วนต่างโครงการยางพารา ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือชาวสวนยางรายย่อยไม่เกิน 15 ไร่ เป็นการชดเชยรายได้แก่เกษตรที่คำนวณมาจากผลผลิตยางต่อปี คูณกับส่วนต่างราคา ตามที่คณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการชดเชยส่วนต่างราคายางพารา แทนการรับซื้อผลผลิตเก็บเข้าสต็อกกำหนด เพื่อให้ความช่วยเหลือนี้ครอบคลุมไปถึงคนกรีดยางด้วย
" ที่พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดชี้นำล่วงหน้าว่า โครงการช่วยเหลือเกษตรรายย่อย ทำเกษตรกรเสียนิสัย และทำให้กลไกตลาดบิดเบือนนั้น การพูดเช่นนี้ พล.ต.สรรเสริญ ทราบหรือไม่ว่าไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล เกษตรกรกำลังจะตาย เลือดกำลังไหล ลูกต้องออกจากโรงเรียน บอกให้ใช้โครงการระยะยาว มันไม่ถูกต้อง วันนี้พี่น้องเขาเตรียมการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ วันที่ 15 ต.ค.นี้ ที่ จ.นครศรีธรรมราช แค่บอกว่ารัฐบาลไม่มีเงิน ก็พูดตรงๆ ไม่ต้องพูดลีลาอ้อมค้อม เอาแบบแมนๆ เราจะได้เดินหน้าได้ถูกต้องว่า ต้องเดินหน้าอย่างไร ซึ่งรัฐบาลต้องไปคุยกับชาวสวนยางเอง หากรัฐบาลหรือนายกฯ ยังเพิกเฉย จะมีการเคลื่อนไหวเร็วๆ นี้ แน่นอน”นายสุนทร กล่าว
นายสุนทร กล่าวว่า ตามที่แนวทางร่วมกู้ชีพชาวสวนยางประกาศเขตภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำ ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ จ.สุราษฎร์ธานี จนถึงปัจจุบัน แนวร่วมกู้ชีพฯ แต่ล่ะจังหวัดได้ทยอยประกาศเขตภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำในหลายพื้นที่ ที่เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ให้เกษตรกรแสดงออกอย่างถูกกฎหมาย เพื่อสะท้อนความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำให้รัฐบาลได้รับรู้ โดยขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน คือ
1. ให้ชดเชยส่วนต่างของยางพาราที่กิโลละ 60 บาท เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ ให้กับชาวสวนยางที่จดทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย
2. ให้อนุมัติกองทุนข้าวสาร ที่แนวร่วมกู้ชีพเคยเสนอต่อนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
3. ให้ชะลอการตัดโค่นยางพารา ตามนโยบายทวงคืนพื้นป่า และตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองระดับจังหวัด โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม เพื่อแยะพื้นที่สวนยาง ของคนจนและนายทุน ตามคำสั่ง
4. ให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และคนกรีดยางในที่ดินดังกล่าว สามารถจดทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ได้มีการยื่นรายชื่อตัวแทน แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางทั่วประเทศจำนวน25 คน เพื่อขอพูดคุยโดยตรงกับนายกรัฐมนตรี ในการหาทางออกจากปัญหาครั้งนี้ ขณะเดียวกันแนวร่วมกู้ชีพฯ ขอเสนอโครงการชดเชยส่วนต่างโครงการยางพารา ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือชาวสวนยางรายย่อยไม่เกิน 15 ไร่ เป็นการชดเชยรายได้แก่เกษตรที่คำนวณมาจากผลผลิตยางต่อปี คูณกับส่วนต่างราคา ตามที่คณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการชดเชยส่วนต่างราคายางพารา แทนการรับซื้อผลผลิตเก็บเข้าสต็อกกำหนด เพื่อให้ความช่วยเหลือนี้ครอบคลุมไปถึงคนกรีดยางด้วย
" ที่พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดชี้นำล่วงหน้าว่า โครงการช่วยเหลือเกษตรรายย่อย ทำเกษตรกรเสียนิสัย และทำให้กลไกตลาดบิดเบือนนั้น การพูดเช่นนี้ พล.ต.สรรเสริญ ทราบหรือไม่ว่าไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาล เกษตรกรกำลังจะตาย เลือดกำลังไหล ลูกต้องออกจากโรงเรียน บอกให้ใช้โครงการระยะยาว มันไม่ถูกต้อง วันนี้พี่น้องเขาเตรียมการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ วันที่ 15 ต.ค.นี้ ที่ จ.นครศรีธรรมราช แค่บอกว่ารัฐบาลไม่มีเงิน ก็พูดตรงๆ ไม่ต้องพูดลีลาอ้อมค้อม เอาแบบแมนๆ เราจะได้เดินหน้าได้ถูกต้องว่า ต้องเดินหน้าอย่างไร ซึ่งรัฐบาลต้องไปคุยกับชาวสวนยางเอง หากรัฐบาลหรือนายกฯ ยังเพิกเฉย จะมีการเคลื่อนไหวเร็วๆ นี้ แน่นอน”นายสุนทร กล่าว