นายพนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านกระบวนการรับรองและเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตอย่างสมบูรณ์ ของไตรมาสที่ 4 ปี 2559 และไตรมาสที่ 1 ปี 2560 โดยมีเอกชนได้รับประกาศนียบัตรในครั้งนี้จำนวน 64 ราย ตามโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ซึ่งเอกชนเข้าร่วมโครงการเหล่านี้ ทำให้ปัญหาการทุจริตในระบบน้อยลง ทั้งนี้ นายพนัส เชื่อว่า หากทุกฝ่ายไม่ยอมที่จะจ่ายสินบนในรูปแบบต่าง ๆ จะทำในระบบความโปร่งใสของประเทศไทยจะกลับมาดีขึ้นได้แน่นอน
สำหรับโครงการ CAC จะมุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนทัศนคติผู้นำภาคธุรกิจปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการุทจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตและร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในวงกว้าง การผลักดันให้ภาครัฐปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างโปร่งใส ยอมรับการมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้จากภาค เอกชนและประชาสังคม เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะจากการทุจริตคอร์รัปชั่น และการส่งเสริมและขยายเครือข่ายการประกอบธุรกิจที่สะอาดปราศจากการผูกขาดหรือซื้อความได้เปรียบจากเงินสินบนโดยเน้นไปที่การใช้ระบบกลไกตลาดและการแข่งขันด้วยราคา และคุณภาพของสินค้าและบริการ
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต เป็นระบบมีความเป็นธรรม สามารถวัดผลเป็นรูปธรรม และครอบคลุมเรื่องการบริหารความเสี่ยงไว้ โดยบริษัท ประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตขององค์กรเป็นประจำทุกกลุ่มงานที่ลักษณะงานอาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริต เช่น งานจัดซื้อจัดจ้าง งานโครงการ งาน CSR จัดให้มีระบบการจัดซื้อ ระบบการตลาด ที่มีมาตรฐานสากล
สำหรับโครงการ CAC จะมุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนทัศนคติผู้นำภาคธุรกิจปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการุทจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตและร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในวงกว้าง การผลักดันให้ภาครัฐปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างโปร่งใส ยอมรับการมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้จากภาค เอกชนและประชาสังคม เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะจากการทุจริตคอร์รัปชั่น และการส่งเสริมและขยายเครือข่ายการประกอบธุรกิจที่สะอาดปราศจากการผูกขาดหรือซื้อความได้เปรียบจากเงินสินบนโดยเน้นไปที่การใช้ระบบกลไกตลาดและการแข่งขันด้วยราคา และคุณภาพของสินค้าและบริการ
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต เป็นระบบมีความเป็นธรรม สามารถวัดผลเป็นรูปธรรม และครอบคลุมเรื่องการบริหารความเสี่ยงไว้ โดยบริษัท ประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตขององค์กรเป็นประจำทุกกลุ่มงานที่ลักษณะงานอาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริต เช่น งานจัดซื้อจัดจ้าง งานโครงการ งาน CSR จัดให้มีระบบการจัดซื้อ ระบบการตลาด ที่มีมาตรฐานสากล