นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพ - หนองคาย) จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างเส้นทางระยะแรกภายในประเทศ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ล่าสุดได้สรุปมูลค่าโครงการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมิถุนายน จำนวนกว่า 170,000 ล้านบาท ความยาว 253 กิโลเมตร แบ่งร่างสัญญาเป็น 2 ส่วน คือ ใช้ผู้รับเหมาและอุปกรณ์ไทยในการก่อสร้าง และลงนามจ้างออกแบบ ผู้รับคุมงานและระบบรถไฟในเดือนกรกฎาคม มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป โดยจีนได้ส่งคณะสำรวจพื้นที่ร่วมกับไทยโดยการก่อสร้างร้อยละ 80 จะเป็นเส้นทางแนวเดียวกับทางรถไฟ แต่ความกว้างของรางจะกว้างกว่ารางรถไฟปกติใช้เทคนิคการติดตั้งระบบไฟฟ้าจ่ายพลังงานเป็นระบบแขวน
ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมที่จีน และจะดำเนินการฝึกอบรมด้านศูนย์ซ่อมและการเดินรถ และการศึกษาระบบขับรถไฟ อีกทั้งจะร่วมสภาสถาปนิกของจีนศึกษาเทคโนโลยีร่วมกัน ยืนยันว่าการก่อสร้างจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากใช้วัสดุภายในประเทศ เกิดการพัฒนาธุรกิจของสถานีรายทางถือเป็นสิทธิของไทย แต่ใช้เทคโนโลยีของจีน เพราะเป็นการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศ อีกทั้งจีนยังมีประสบการณ์การทำรถไฟความเร็วสูงนานกว่า 20 ปี มีเส้นทางรถไฟในประเทศมากถึง 20,000 กิโลเมตร
ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมที่จีน และจะดำเนินการฝึกอบรมด้านศูนย์ซ่อมและการเดินรถ และการศึกษาระบบขับรถไฟ อีกทั้งจะร่วมสภาสถาปนิกของจีนศึกษาเทคโนโลยีร่วมกัน ยืนยันว่าการก่อสร้างจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากใช้วัสดุภายในประเทศ เกิดการพัฒนาธุรกิจของสถานีรายทางถือเป็นสิทธิของไทย แต่ใช้เทคโนโลยีของจีน เพราะเป็นการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างประเทศ อีกทั้งจีนยังมีประสบการณ์การทำรถไฟความเร็วสูงนานกว่า 20 ปี มีเส้นทางรถไฟในประเทศมากถึง 20,000 กิโลเมตร