วันนี้ (20 มิ.ย.) กรมเจ้าท่า เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา 3 มาตรการ แก้ปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ และผู้เลี้ยงปลาในกระชังได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย โดยตามที่มีการเสนอข่าวกรณีที่ประชาชนที่มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำ ผู้เลี้ยงปลาในกระชังได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 โดยขอให้ทบทวนในเรื่องค่าปรับ การกำหนดหลักเกณฑ์การบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจน ตลอดจนขอให้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปก่อนนั้น กรมเจ้าท่า ขอชี้แจงในประเด็นดังกล่าว ดังนี้
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และให้ผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ แจ้งต่อกรมเจ้าท่าหรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ตามแบบการแจ้ง ผ่านช่องทางและวิธีที่กำหนด ภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดลงไปในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ชายหาดสาธารณประโยชน์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาลำน้ำสำหรับการพาณิชยนาวี การเกษตรกรรม และการป้องกันอุทกภัย โดยการออกพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 เป็นการดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราวในขณะนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในขณะนี้กรมเจ้าท่าได้รับทราบ และตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อวิธีชีวิตของชุมชนริมน้ำ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง วิถีชีวิตการดำรงชีพชาวประมง อัตราโทษปรับที่สูง รวมทั้งในเรื่องระยะเวลาในการแจ้งแล้ว
ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าจึงได้เสนอมาตรการเพื่อแก้ปัญหา ลดผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. ค่าปรับ 2. ค่าตอบแทนรายปี และ 3. ขยายระยะเวลาการแจ้ง โดยได้ดำเนินการเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งหากมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวกรมเจ้าท่าจะรีบดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบต่อไป
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2560 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ซึ่งได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และให้ผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ แจ้งต่อกรมเจ้าท่าหรือสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ตามแบบการแจ้ง ผ่านช่องทางและวิธีที่กำหนด ภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดลงไปในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ชายหาดสาธารณประโยชน์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาลำน้ำสำหรับการพาณิชยนาวี การเกษตรกรรม และการป้องกันอุทกภัย โดยการออกพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 เป็นการดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราวในขณะนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในขณะนี้กรมเจ้าท่าได้รับทราบ และตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อวิธีชีวิตของชุมชนริมน้ำ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง วิถีชีวิตการดำรงชีพชาวประมง อัตราโทษปรับที่สูง รวมทั้งในเรื่องระยะเวลาในการแจ้งแล้ว
ทั้งนี้ กรมเจ้าท่าจึงได้เสนอมาตรการเพื่อแก้ปัญหา ลดผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. ค่าปรับ 2. ค่าตอบแทนรายปี และ 3. ขยายระยะเวลาการแจ้ง โดยได้ดำเนินการเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งหากมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวกรมเจ้าท่าจะรีบดำเนินการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบต่อไป