นายธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)ยืนยันว่า ไม่ค้านใช้ ม.44 เร่งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แต่ควรให้คนไทยเข้าไปทำงานร่วมเพื่อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้มีข่าวลงคลาดเคลื่อนว่า ทาง วสท.คัดค้านการใช้ มาตรา 44 ในการเร่งรัดโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งไม่เป็นความจริง การลงทุนอย่างรวดเร็วเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่แถลงข่าวออกมา คือ ขอโอกาสให้ภาครัฐกำหนดให้การทำงานให้วิศวกรคนไทย หรือช่างของคนไทยมีโอกาสเข้าร่วมงานกับการทำงานของคนจีนด้วย เพื่อให้เกิดการการโอนถ่ายเทคโนโลยีในทุกระดับ และเมื่องานก่อสร้างเสร็จสิ้น คนไทยจะได้ดูแลระบบโครงการได้เอง หรือมีความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟไดด้วยตัวเองบ้าง ซึ่งการก่อสร้างในอดีตทุกโครงการ หากมีต่างชาติเข้ามาก่อสร้าง คนไทยจะมีส่วนร่วมทั้งนั้น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงินโครงการขุดท่าเรือน้ำลึกสัตหีบที่สหรัฐฯ ดำเนินการ ในขณะที่โครงการถไฟฟ้าในจีนในเกาหลีใต้ ที่เริ่มแรกก็เป็นต่างชาติมาก่อสร้าง แต่ก็ต้องมีวิศวกรจีน เกาหลีใต้ทำงานประกบไปด้วย
นายธเนศ ระบุด้วยว่า สภาวิศวกร ซึ่งเป็นคนละหน่วยงาน กับ วสท.มีทำหน้าที่ดูแลวิศวกร ทั้งขึ้นทะเบียน และกำกับดูแล ส่วนวิศวกรรมสถานฯหรือ วสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีอายุ 74 ปีแล้ว ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการพัฒนาวิชาชีพให้กับวิศวกรและบุคคลทั่วไป รวมถึงมีบทบาทให้ความช่วยเหลือประชาชน ทาง วสท.ได้ติดตาม โครงการนี้ และเห็นด้วยกับสภาวิศวกรที่ได้เสนอให้นิติบุคลวิศวกรรม และวิศวกร จีนที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในโครงการนี้ต้องผ่านการจดทะเบียนรับรองการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมของ สภาวิศวกร เพราะการเข้าทํางานวิศวกรรมควบคุมในประเทศต่างๆ วิศวกรผู้นั้นจําเป็นต้องมีความรู้ ทั้งในด้านกฎหมายก่อสร้าง สภาพการรับน้ำหนักบรรทุกของดินฐานราก สภาวะ และการตอบสนอง ของน้ำหนักบรรทุกสําคัญ เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม และแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การใช้กฎหมายมาตราพิเศษเพื่อยกเว้นให้วิศวกรจีนเช่นนี้จะสร้างความ เหลื่อมล้ำในการทํางานวิศวกรรมของวิศวกรต่างชาติ
ทั้งนี้ วสท.เสนอว่า รัฐบาลควรกําหนดให้มีการถ่ายโอน เทคโนโลยี (technology transferring) โดยสามารถดําเนินการได้ตั้งแต่การคํานวณออกแบบ (design) การกําหนดรายการประกอบแบบ และวัสดุ (specifications) การก่อสร้าง และการติดตั้ง (construction and erection) รวมทั้งการซ่อม และบํารุงรักษา (repair and maintenance)
นายธเนศ ระบุด้วยว่า สภาวิศวกร ซึ่งเป็นคนละหน่วยงาน กับ วสท.มีทำหน้าที่ดูแลวิศวกร ทั้งขึ้นทะเบียน และกำกับดูแล ส่วนวิศวกรรมสถานฯหรือ วสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีอายุ 74 ปีแล้ว ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการพัฒนาวิชาชีพให้กับวิศวกรและบุคคลทั่วไป รวมถึงมีบทบาทให้ความช่วยเหลือประชาชน ทาง วสท.ได้ติดตาม โครงการนี้ และเห็นด้วยกับสภาวิศวกรที่ได้เสนอให้นิติบุคลวิศวกรรม และวิศวกร จีนที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในโครงการนี้ต้องผ่านการจดทะเบียนรับรองการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมของ สภาวิศวกร เพราะการเข้าทํางานวิศวกรรมควบคุมในประเทศต่างๆ วิศวกรผู้นั้นจําเป็นต้องมีความรู้ ทั้งในด้านกฎหมายก่อสร้าง สภาพการรับน้ำหนักบรรทุกของดินฐานราก สภาวะ และการตอบสนอง ของน้ำหนักบรรทุกสําคัญ เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม และแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การใช้กฎหมายมาตราพิเศษเพื่อยกเว้นให้วิศวกรจีนเช่นนี้จะสร้างความ เหลื่อมล้ำในการทํางานวิศวกรรมของวิศวกรต่างชาติ
ทั้งนี้ วสท.เสนอว่า รัฐบาลควรกําหนดให้มีการถ่ายโอน เทคโนโลยี (technology transferring) โดยสามารถดําเนินการได้ตั้งแต่การคํานวณออกแบบ (design) การกําหนดรายการประกอบแบบ และวัสดุ (specifications) การก่อสร้าง และการติดตั้ง (construction and erection) รวมทั้งการซ่อม และบํารุงรักษา (repair and maintenance)