การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (2 มิ.ย.) พิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้เสนอ โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ชี้แจงว่า กรธ.ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้วยวิธีการจัดการสัมมนาและนำร่าง พ.ร.ป.ขึ้นสู่เว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา และส่งความคิดเห็นมายัง กรธ. จากนั้น กรธ.ได้นำความเห็นทั้งหมดมาประกอบการพิจารณาและจัดทำบทวิเคราะห์ส่งมาให้ สนช.แล้ว
นายมีชัย กล่าวว่า กรธ.ไม่ได้แก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ จากที่ศาลฎีกาได้ยกร่างเบื้องต้นมา เพียงเพิ่มเติม 2 ประเด็น เพื่อขจัดปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คือ เพิ่มเติมการกำหนดวิธีการใช้ระบบไต่สวนของศาลฎีกาให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การพิจารณาของศาล ไม่ใช่มีเพียงการเอาแพ้เอาชนะในเชิงเทคนิค หรือ ทนายความที่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย และ เพิ่มการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย กรณีจำเลยหลบหนี เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินคดีได้ จึงได้ปิดช่องโหว่เรื่องนี้ โดยคำนึงถึงหลักสากล
ด้าน สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่สนับสนุนร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้ แต่เป็นห่วงเรื่องจำเลยที่หลบหนีไปต่างประเทศ แล้วตั้งทนายความมาต่อสู้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีกับจำเลยที่หลบหนีได้ และกลับมีการสร้างมวลชนทำให้เกิดความขัดแย้ง ขณะที่ จำเลยอาจจะกลับเข้ามาได้อีกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจ ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องไม่ล่าช้า และการพิจารณาคดีควรเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี
จากนั้นที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวด้วยคะแนน 190 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 19 คน กรอบการดำเนินงาน 45 วัน แปรญัตติ 7 วัน
นายมีชัย กล่าวว่า กรธ.ไม่ได้แก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ จากที่ศาลฎีกาได้ยกร่างเบื้องต้นมา เพียงเพิ่มเติม 2 ประเด็น เพื่อขจัดปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คือ เพิ่มเติมการกำหนดวิธีการใช้ระบบไต่สวนของศาลฎีกาให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การพิจารณาของศาล ไม่ใช่มีเพียงการเอาแพ้เอาชนะในเชิงเทคนิค หรือ ทนายความที่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย และ เพิ่มการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย กรณีจำเลยหลบหนี เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินคดีได้ จึงได้ปิดช่องโหว่เรื่องนี้ โดยคำนึงถึงหลักสากล
ด้าน สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่สนับสนุนร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้ แต่เป็นห่วงเรื่องจำเลยที่หลบหนีไปต่างประเทศ แล้วตั้งทนายความมาต่อสู้ ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีกับจำเลยที่หลบหนีได้ และกลับมีการสร้างมวลชนทำให้เกิดความขัดแย้ง ขณะที่ จำเลยอาจจะกลับเข้ามาได้อีกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจ ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมต้องไม่ล่าช้า และการพิจารณาคดีควรเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี
จากนั้นที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวด้วยคะแนน 190 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 19 คน กรอบการดำเนินงาน 45 วัน แปรญัตติ 7 วัน