พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานมอบฉลากรับรองมาตรฐานการออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพพลังงานสำหรับอาคารใหม่ ว่า การบังคับใช้เกณฑ์การออกแบบอาคารใหม่ด้านพลังงาน (Building Energy Code หรือ BEC) คาดว่าจะสามารถเสนอคณะกรรมการควบคุมอาคารภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เบื้องต้นจะกำหนดให้อาคารที่ขออนุญาตสร้างใหม่หรือดัดแปลงเพิ่มที่มีขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ครอบคลุมอาคาร 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุด อาคารชุมนุม โรงมหรสพ โรงแรม อาคารสถานบริการ และอาคารศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า จะต้องออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้เกณฑ์ BEC ดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีผลบังคับปี 2560 ซึ่งจะเกิดผลประหยัดไฟฟ้าประมาณ 74 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็น 260 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 43,000 ตันคาร์บอนต่อปี
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมอาคารอยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารเพิ่มที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป แต่จะนำร่องกับอาคารขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปก่อน ส่วนปี 2561 จะเริ่มบังคับอาคารใหม่ ต่อเติม ปรับปรุงที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และปี 2562 จะเป็นอาคารสร้างใหม่ที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร เบื้องต้นคาดว่าอาจจะมีต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 3-5 ปี แต่ในภาพรวมจะส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานของประเทศที่ลดลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า คณะกรรมการควบคุมอาคารอยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารเพิ่มที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป แต่จะนำร่องกับอาคารขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปก่อน ส่วนปี 2561 จะเริ่มบังคับอาคารใหม่ ต่อเติม ปรับปรุงที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และปี 2562 จะเป็นอาคารสร้างใหม่ที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร เบื้องต้นคาดว่าอาจจะมีต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 3-5 ปี แต่ในภาพรวมจะส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานของประเทศที่ลดลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ