นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผยว่า ภาระหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2559 มีจำนวน 5.988 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.73 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มียอดเพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีม่วง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กู้สำหรับปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นทางรถไฟสายตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
ทั้งนี้ สบน.คาดการณ์ว่าปี 2560 ภาระหนี้สาธารณะประมาณร้อยละ 45.5 ของจีดีพี อยู่ในกรอบบริหารจัดการได้ เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ ทั้งระบบบริหารจัดการน้ำ รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ สำหรับด้านคมนาคมประมาณ 80,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและโครงการเริ่มต้นลงทุนปี 2560 จะมีเงินภาครัฐออกสู่ระบบประมาณ 220,000 ล้านบาท นับเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจปี 2560 เพราะจะมีหลายโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ไปแล้วจะเร่งทำการลงทุนได้ เช่น รถไฟทางคู่ มาบกระเบา-จิระ เส้นหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ รถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง สีส้ม
ทั้งนี้ สบน.คาดการณ์ว่าปี 2560 ภาระหนี้สาธารณะประมาณร้อยละ 45.5 ของจีดีพี อยู่ในกรอบบริหารจัดการได้ เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ ทั้งระบบบริหารจัดการน้ำ รถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ สำหรับด้านคมนาคมประมาณ 80,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและโครงการเริ่มต้นลงทุนปี 2560 จะมีเงินภาครัฐออกสู่ระบบประมาณ 220,000 ล้านบาท นับเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจปี 2560 เพราะจะมีหลายโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ไปแล้วจะเร่งทำการลงทุนได้ เช่น รถไฟทางคู่ มาบกระเบา-จิระ เส้นหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ รถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง สีส้ม