นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ก.ย.59 นี้ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง และคณะกรรมการกำกับตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐปี 2556 เจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีอีเอ็ม ผู้รับสัมปทานของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนแรกและสายสีม่วง เพื่อแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อสถานีเตาปูนของรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน กับสถานีบางซื่อ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนแรกช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 1/2559
ทั้งนี้ การเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 16 ต.ค. จากนั้นส่งผลสรุปการเจรจาให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้ความเห็นเพิ่มเติม แล้วนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบก่อนที่ส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะเดียวกันดำเนินการคู่ขนานโดยส่งผลสรุปการเจรจาให้สำนักอัยการสูงสุด เพื่อตรวจร่างสรุปผลเจรจาก่อนลงนามสัญญาภายใน 30 วัน พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าลงนามสัญญาได้ในเดือน ธ.ค.59 เพื่อเร่งวางระบบและเปิดให้บริการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า 2 สายประมาณเดือน มี.ค.60
"ตามกรอบแล้วกำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าว เจรจากับ BEM ตามข้อสังเกตของหน่วยงาน เช่น การศึกษาข้อสัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เรื่องค่าโดยสารที่ใช้ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน ต้องศึกษาวิเคราะห์ทางการเงินหลายรูปแบบ รวมทั้งบริหารจัดการสายสีน้ำเงินเดิมอย่างไร ซึ่งต้องนำเสนอข้อดี-ข้อเสีย เพื่อเป็นแนวทางเลือก เช่น การหมดสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนแรก (หัวลำโพง-บางซื่อ) ในปี 72 หรือหากต่อสัญญาสัมปทานปี 92 ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ ทำการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นหลัก” นายพีระยุทธกล่าว
ทั้งนี้ การเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในวันที่ 16 ต.ค. จากนั้นส่งผลสรุปการเจรจาให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้ความเห็นเพิ่มเติม แล้วนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นชอบก่อนที่ส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะเดียวกันดำเนินการคู่ขนานโดยส่งผลสรุปการเจรจาให้สำนักอัยการสูงสุด เพื่อตรวจร่างสรุปผลเจรจาก่อนลงนามสัญญาภายใน 30 วัน พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าลงนามสัญญาได้ในเดือน ธ.ค.59 เพื่อเร่งวางระบบและเปิดให้บริการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า 2 สายประมาณเดือน มี.ค.60
"ตามกรอบแล้วกำหนดให้คณะกรรมการดังกล่าว เจรจากับ BEM ตามข้อสังเกตของหน่วยงาน เช่น การศึกษาข้อสัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เรื่องค่าโดยสารที่ใช้ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน ต้องศึกษาวิเคราะห์ทางการเงินหลายรูปแบบ รวมทั้งบริหารจัดการสายสีน้ำเงินเดิมอย่างไร ซึ่งต้องนำเสนอข้อดี-ข้อเสีย เพื่อเป็นแนวทางเลือก เช่น การหมดสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนแรก (หัวลำโพง-บางซื่อ) ในปี 72 หรือหากต่อสัญญาสัมปทานปี 92 ต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ ทำการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นหลัก” นายพีระยุทธกล่าว