พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้พบปะอย่างไม่เป็นทางการกับ นายมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ บริษัทเฟซบุ๊กระหว่างเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 24 ที่สาธารณรัฐเปรู โดย พล.อ.อ.ประจิน ได้เชิญนายซัคเกอร์เบิร์กเดินทางมาเยือนประเทศไทยในช่วงต้นปี 2560 ซึ่งนายซัคเกอร์เบิร์กได้ตอบรับว่า หากมีโอกาสก็ยินดีที่จะเดินทางมาเยือนประเทศไทย
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน หารือกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจสหรัฐอเมริกา – เอเปค (U.S. – APEC Business Coalition) ซึ่งมีคณะนักธุรกิจสหรัฐฯ จากกว่า 20 บริษัทชั้นนำจากหลายสาขาธุรกิจ อาทิ เหมืองแร่ พลังงาน การเงิน การตลาด และสุขภาพ เป็นต้น
โอกาสนี้ได้กล่าวแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกับภาคเอกชน และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจโลกของไทย จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี พ.ศ. 2560 นั้น ประเทศไทยยังคงเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย และการปฎิรูปประเทศอย่างรอบด้าน
พล.อ.อ.ประจิน เชื่อมั่นว่า การปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง และกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ไทยหรือที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 จะช่วยให้ไทยพร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้น เชื่อมั่นว่า การปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง และกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ไทยหรือที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 จะช่วยให้ไทยพร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน หารือกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจสหรัฐอเมริกา – เอเปค (U.S. – APEC Business Coalition) ซึ่งมีคณะนักธุรกิจสหรัฐฯ จากกว่า 20 บริษัทชั้นนำจากหลายสาขาธุรกิจ อาทิ เหมืองแร่ พลังงาน การเงิน การตลาด และสุขภาพ เป็นต้น
โอกาสนี้ได้กล่าวแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกับภาคเอกชน และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจโลกของไทย จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี พ.ศ. 2560 นั้น ประเทศไทยยังคงเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย และการปฎิรูปประเทศอย่างรอบด้าน
พล.อ.อ.ประจิน เชื่อมั่นว่า การปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง และกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ไทยหรือที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 จะช่วยให้ไทยพร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้น เชื่อมั่นว่า การปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง และกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ไทยหรือที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 จะช่วยให้ไทยพร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน