ผู้จัดการรายวัน360-"พาณิชย์"นัดภาคเอกชนถกด่วน รับมือ "ทรัมป์" ออกคำสั่งตรวจสอบประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ เผยไทยได้ดุลลำดับที่ 11 ยันไทยมีจุดยืนชัดเจน ไม่ทำค่าเงินอ่อน และส่งเสริมการลงทุนทั้งดึงเข้ามาและออกไปลงทุน ระบุสหรัฐฯ ไม่ได้พุ่งเป้ามาที่ไทยโดยตรง ด้านคลังมองกระทบไทยไม่มาก เชื่อสุดท้ายแล้วทั้ง 16 ประเทศจะหารือกันได้ แนะจับตา หากสหรัฐฯ เล่นบทเข้ม ไทยมีสิทธิเจอคงบัญชี PWL ตัด GSP ถูกใช้มาตรการAD เพิ่มขึ้น
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ จะเชิญผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ เอกชนที่เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ รวมถึงผู้นำเข้าสินค้าสหรัฐฯ และนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่ลงทุนในไทย มาหารือเพื่อประเมินผลกระทบต่อไทย หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามคำสั่งพิเศษเพื่อดำเนินการตรวจสอบการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับ 16 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ส่วนรายละเอียดในคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ ต้องศึกษาดูรายละเอียดก่อนว่ามีมิติอะไรบ้าง
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยืนยันว่า ไทยและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในเรื่องการค้าการลงทุน ซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่จะร่วมมือด้านพันธมิตรทางการค้า โดยใช้ความเข้มแข็งที่สหรัฐฯ มีในสาขาวิจัยและพัฒนามาร่วมมือกับไทยและส่งออกไปประเทศที่สาม และไทยก็สนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศรวมถึงสหรัฐฯ เช่น อาหาร ซึ่ง ซีพี. ก็มีการเข้าไปซื้อกิจการด้านอาหารในสหรัฐฯ โดยมองว่าไทยและสหรัฐฯ ยังมีความร่วมมือต่อกันในหลายด้านๆ ต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุถึงผลกระทบต่อไทยในระยะยาวได้ ต้องรอการหารือก่อน แต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยันเป้าหมายตัวเลขการส่งออกปี 2560 ขยายตัว 5% ไว้ก่อน
นอกจากนี้ ในด้านการค้า ไทยยืนยันว่าจะเดินหน้าทำการค้ากับประเทศทั่วโลก ไม่เฉพาะสหรัฐฯ แต่สิ่งที่ชัดเจนสุด คือ ไทยไม่มีการแทรกแซงค่าเงิน ที่ผ่านมา ไทยมักถูกบ่นว่าค่าเงินแข็งค่าสุดในภูมิภาค เป็นเครื่องพิสูจน์ชัดเจนว่าไทยไม่มีการแทรกแซงค่าเงิน
เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งให้หาสาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จาก 16 ประเทศ และไทยได้ดุลการค้าอยู่ในลำดับที่ 11 โดยกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวภายในระยะเวลา 90 วัน และอีกฉบับเป็นการสั่งการให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด การจัดการกับปัญหาการละเมิดกฎหมายการค้า ภาษีอากร และทรัพย์สินทางปัญญา
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า จะมีการประมวลผล และติดตามการกำหนดนโยบายของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด และจะร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน แต่ถ้าถามว่าจะกระทบแรงมั้ย ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่รู้ว่าสหรัฐฯ จะทำอะไรต่อ ต้องรอดูต่อไป แต่เชื่อว่า สหรัฐฯ ไม่ได้พุ่งเป้ามาที่ไทยโดยเฉพาะ เพราะในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ก็พุ่งเป้าไปที่จีนกับเม็กซิโก แต่ที่ไทยต้องกังวล เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทย
"เห็นว่า ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการใดๆ กับไทย อยากเรียกร้องให้สหรัฐฯ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกมิติที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งด้านการค้า การลงทุน ความมั่นคง การศึกษา วัฒนธรรม เป็นต้น"น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบหนักสุดจากกรณีนี้ คือ จีน ขณะที่ไทยน่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยหรือน้อยมาก เนื่องจากมีบางอุตสาหกรรมของจีนนำเข้าชิ้นส่วนจากไทยเพื่อผลิตสินค้า และส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่น ยางพาราที่นำไปผลิตยางรถยนต์ ซึ่งผลกระทบจะเป็นอย่างไร คงต้องรอผลการเจรจากับสหรัฐฯ ก่อน แต่ในส่วนของไทย มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ไม่มาก และขาดดุลกับอีกหลายประเทศ โดยเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว ทั้ง 16 ประเทศในรายชื่อของสหรัฐฯ จะมีการหารือร่วมกันในลักษณะทวิภาคี เพื่อหาทางออกและข้อสรุปต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของไทยที่เป็นปัญหากับสหรัฐฯ ในขณะนี้ และสหรัฐฯ อาจหยิบยกมากำหนดเป็นมาตรการใช้กับไทย เช่น การจัดสถานะของไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษต่อไป , การเข้มงวดเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในสินค้าประมง อ้อย สิ่งทอ , การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหรัฐฯ อาจตัดสิทธิสินค้าบางรายการ , สินค้าไทยบางรายการถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนการทุ่มตลาด (AD/CVD) เป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเพียงแค่การประเมิน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2560 ที่กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (TIFA JC) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ประจำปี 2560 ซึ่งเป็นการหารืออย่างเป็นทางการครั้งแรกกับสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลใหม่ของนายทรัมป์ ซึ่งไทยได้มีการหยิบยกกรณีนี้ขึ้นหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ และขอทราบความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ จะเชิญผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปตลาดสหรัฐฯ เอกชนที่เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ รวมถึงผู้นำเข้าสินค้าสหรัฐฯ และนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่ลงทุนในไทย มาหารือเพื่อประเมินผลกระทบต่อไทย หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามคำสั่งพิเศษเพื่อดำเนินการตรวจสอบการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับ 16 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ส่วนรายละเอียดในคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ ต้องศึกษาดูรายละเอียดก่อนว่ามีมิติอะไรบ้าง
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยืนยันว่า ไทยและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นในเรื่องการค้าการลงทุน ซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่จะร่วมมือด้านพันธมิตรทางการค้า โดยใช้ความเข้มแข็งที่สหรัฐฯ มีในสาขาวิจัยและพัฒนามาร่วมมือกับไทยและส่งออกไปประเทศที่สาม และไทยก็สนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศรวมถึงสหรัฐฯ เช่น อาหาร ซึ่ง ซีพี. ก็มีการเข้าไปซื้อกิจการด้านอาหารในสหรัฐฯ โดยมองว่าไทยและสหรัฐฯ ยังมีความร่วมมือต่อกันในหลายด้านๆ ต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุถึงผลกระทบต่อไทยในระยะยาวได้ ต้องรอการหารือก่อน แต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงยืนยันเป้าหมายตัวเลขการส่งออกปี 2560 ขยายตัว 5% ไว้ก่อน
นอกจากนี้ ในด้านการค้า ไทยยืนยันว่าจะเดินหน้าทำการค้ากับประเทศทั่วโลก ไม่เฉพาะสหรัฐฯ แต่สิ่งที่ชัดเจนสุด คือ ไทยไม่มีการแทรกแซงค่าเงิน ที่ผ่านมา ไทยมักถูกบ่นว่าค่าเงินแข็งค่าสุดในภูมิภาค เป็นเครื่องพิสูจน์ชัดเจนว่าไทยไม่มีการแทรกแซงค่าเงิน
เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งให้หาสาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จาก 16 ประเทศ และไทยได้ดุลการค้าอยู่ในลำดับที่ 11 โดยกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ และสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวภายในระยะเวลา 90 วัน และอีกฉบับเป็นการสั่งการให้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด การจัดการกับปัญหาการละเมิดกฎหมายการค้า ภาษีอากร และทรัพย์สินทางปัญญา
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า จะมีการประมวลผล และติดตามการกำหนดนโยบายของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด และจะร่วมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน แต่ถ้าถามว่าจะกระทบแรงมั้ย ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่รู้ว่าสหรัฐฯ จะทำอะไรต่อ ต้องรอดูต่อไป แต่เชื่อว่า สหรัฐฯ ไม่ได้พุ่งเป้ามาที่ไทยโดยเฉพาะ เพราะในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ก็พุ่งเป้าไปที่จีนกับเม็กซิโก แต่ที่ไทยต้องกังวล เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทย
"เห็นว่า ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการใดๆ กับไทย อยากเรียกร้องให้สหรัฐฯ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกมิติที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งด้านการค้า การลงทุน ความมั่นคง การศึกษา วัฒนธรรม เป็นต้น"น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบหนักสุดจากกรณีนี้ คือ จีน ขณะที่ไทยน่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยหรือน้อยมาก เนื่องจากมีบางอุตสาหกรรมของจีนนำเข้าชิ้นส่วนจากไทยเพื่อผลิตสินค้า และส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่น ยางพาราที่นำไปผลิตยางรถยนต์ ซึ่งผลกระทบจะเป็นอย่างไร คงต้องรอผลการเจรจากับสหรัฐฯ ก่อน แต่ในส่วนของไทย มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ไม่มาก และขาดดุลกับอีกหลายประเทศ โดยเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว ทั้ง 16 ประเทศในรายชื่อของสหรัฐฯ จะมีการหารือร่วมกันในลักษณะทวิภาคี เพื่อหาทางออกและข้อสรุปต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของไทยที่เป็นปัญหากับสหรัฐฯ ในขณะนี้ และสหรัฐฯ อาจหยิบยกมากำหนดเป็นมาตรการใช้กับไทย เช่น การจัดสถานะของไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษต่อไป , การเข้มงวดเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในสินค้าประมง อ้อย สิ่งทอ , การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหรัฐฯ อาจตัดสิทธิสินค้าบางรายการ , สินค้าไทยบางรายการถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนการทุ่มตลาด (AD/CVD) เป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเพียงแค่การประเมิน
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2560 ที่กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (TIFA JC) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ประจำปี 2560 ซึ่งเป็นการหารืออย่างเป็นทางการครั้งแรกกับสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลใหม่ของนายทรัมป์ ซึ่งไทยได้มีการหยิบยกกรณีนี้ขึ้นหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ และขอทราบความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย