นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานีขนถ่ายมูลฝอยย่อยรัชวิภา เพื่อตรวจความพร้อมของการดำเนินงาน และหารือในเรื่องการจัดการขยะของกรุงเทพมหานครที่มีมากกว่า 10,000 ตันต่อวัน โดยมีผู้บริหารบริษัทซีแอนด์จี เอ็นไวรอน เมทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด นายอภิรัฐ ตราดุษฎี รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ ณ สถานีขนถ่ายมูลฝอย (ย่อย) รัชวิภา เขตจตุจักร
นายจักกพันธุ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการบริหารจัดการกับขยะทั้งหมด 7 โครงการ ประกอบด้วย 1.สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยย่อย รัชวิภา ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 58 และมีโครงการขนถ่ายขยะมูลฝอยจากสถานีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยย่อย รัชวิภา ไปศูนย์กำจัดขยะหนองแขม เพื่อที่จะนำไปกำจัดโดยวิธีการเผาหรือฝังกลบซึ่งกำลังอยู่ขั้นตอนกำหนดราคากลาง เพื่อเปิดประมูลหาเอกชนบริหาร
โครงการที่ 2 คือโครงการคอมแพ็คเตอร์ตามแนวนอน 2 โครงการ ตั้งอยู่ที่โรงงานกำจัดขยะมูลฝอยท่าแร้ง สายไหม และศูนย์ฯหนองแขม ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนกำหนดราคาค่าขนถ่ายขยะ
โครงการที่ 3 เป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันต่อวัน อีก 2 จุด ที่ศูนย์กำจัดขยะหนองแขม 1 จุด และที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช 1 จุด ซึ่งทางโรงงานกำจัดมูลฝอยจะต้องไปประเมินก่อนว่าทั้ง 2 โรงงงาน มีพื้นที่รองรับที่จะก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะเป็นการก่อสร้างในรูปแบบของ BOT คือ การเปิดประมูลเพื่อให้บริษัทเอกชนมาใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องจัดการเดินเครื่องต่ออีก 20 ปี หลังจากนั้นจึงโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดให้กับกรุงเทพมหานคร และโครงการสุดท้ายคือการกำจัดขยะโดยวิธีการนำไปฝังกลบเพื่อผลิตไฟฟ้าที่อ่อนนุช ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อหาวิธีที่คุ้มค่าที่สุด
นายจักกพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 6 โครงการ โดยได้กำชับให้สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครเร่งจัดทำขึ้น เพื่อจัดการขยะของ กทม.ที่มีมากกว่า 10,000 ตันต่อวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อโครงการทั้งหมดสำเร็จ จะสามารถกำจัดขยะได้เพิ่มขึ้นกว่า 4000 ตันต่อวัน จากที่ขณะนี้กำจัดได้ 9,700 ตันต่อวัน ซึ่ง 6โครงการดังกล่าวจะทำให้กำจัดขยะได้วันละ 1 หมื่นตันเป็นอย่างน้อย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะเป็นการกำจัดขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน และไม่มีมลพิษ
ทั้งนี้สำหรับที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย (ย่อย) รัชวิภา เขตจตุจักรแห่งนี้สามารถขนถ่ายขยะได้ในปริมาณ 700 ตันต่อวัน เป็นระบบการขนถ่ายขยะมูลฝอยที่มีความสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการบีบอัด การขนถ่าย และนำไปกำจัดยังโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ที่ตั้งของโครงการ อาคารสถานีที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,000 ตารางเมตร และชั้นใต้ดินที่ลึกลงไปไม่น้อยกว่า 6 เมตร ประกอบด้วย พื้นที่ลานจอดรถบรรทุกมูลฝอย พื้นที่วางตู้บรรทุกมูลฝอย พื้นที่ส่วนสำนักงานและห้องควบคุมการเทมูลฝอย รวมทั้งระบบกระจายเสียงจากห้องควบคุมส่วนกลาง พร้อมระบบบำบัดกลิ่นและฝุ่นภายในอาคาร ที่สำคัญภายในบริเวณสถานีแห่งนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวที่มากถึง 80% ของพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ
สำหรับขั้นตอนการขนถ่ายขยะนั้น ขยะจะถูกบีบอัดลงไปในตู้บรรทุกมูลฝอย ซึ่งมีจำนวน 20 ตู้ ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะคุณภาพสูง และมีระบบป้องกันการผุกร่อนแบบพิเศษ พร้อมกับมีการใช้อุปกรณ์ Seal เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำเสียจากมูลฝอย และเมื่อตู้บรรทุกมูลฝอยเต็มแล้วก็จะมีรถบรรทุกตู้มูลฝอยจำนวน 9 คัน สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 15 ตัน นำขยะที่ถูกบีบอัดแล้วไปส่งยังศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม เพื่อดำเนินการกำจัดขยะในขั้นตอนต่อไป
นายจักกพันธุ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการบริหารจัดการกับขยะทั้งหมด 7 โครงการ ประกอบด้วย 1.สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยย่อย รัชวิภา ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 58 และมีโครงการขนถ่ายขยะมูลฝอยจากสถานีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยย่อย รัชวิภา ไปศูนย์กำจัดขยะหนองแขม เพื่อที่จะนำไปกำจัดโดยวิธีการเผาหรือฝังกลบซึ่งกำลังอยู่ขั้นตอนกำหนดราคากลาง เพื่อเปิดประมูลหาเอกชนบริหาร
โครงการที่ 2 คือโครงการคอมแพ็คเตอร์ตามแนวนอน 2 โครงการ ตั้งอยู่ที่โรงงานกำจัดขยะมูลฝอยท่าแร้ง สายไหม และศูนย์ฯหนองแขม ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนกำหนดราคาค่าขนถ่ายขยะ
โครงการที่ 3 เป็นนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 1,000 ตันต่อวัน อีก 2 จุด ที่ศูนย์กำจัดขยะหนองแขม 1 จุด และที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช 1 จุด ซึ่งทางโรงงานกำจัดมูลฝอยจะต้องไปประเมินก่อนว่าทั้ง 2 โรงงงาน มีพื้นที่รองรับที่จะก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะเป็นการก่อสร้างในรูปแบบของ BOT คือ การเปิดประมูลเพื่อให้บริษัทเอกชนมาใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วต้องจัดการเดินเครื่องต่ออีก 20 ปี หลังจากนั้นจึงโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดให้กับกรุงเทพมหานคร และโครงการสุดท้ายคือการกำจัดขยะโดยวิธีการนำไปฝังกลบเพื่อผลิตไฟฟ้าที่อ่อนนุช ซึ่งอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อหาวิธีที่คุ้มค่าที่สุด
นายจักกพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 6 โครงการ โดยได้กำชับให้สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครเร่งจัดทำขึ้น เพื่อจัดการขยะของ กทม.ที่มีมากกว่า 10,000 ตันต่อวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อโครงการทั้งหมดสำเร็จ จะสามารถกำจัดขยะได้เพิ่มขึ้นกว่า 4000 ตันต่อวัน จากที่ขณะนี้กำจัดได้ 9,700 ตันต่อวัน ซึ่ง 6โครงการดังกล่าวจะทำให้กำจัดขยะได้วันละ 1 หมื่นตันเป็นอย่างน้อย และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะเป็นการกำจัดขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน และไม่มีมลพิษ
ทั้งนี้สำหรับที่สถานีขนถ่ายมูลฝอย (ย่อย) รัชวิภา เขตจตุจักรแห่งนี้สามารถขนถ่ายขยะได้ในปริมาณ 700 ตันต่อวัน เป็นระบบการขนถ่ายขยะมูลฝอยที่มีความสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการบีบอัด การขนถ่าย และนำไปกำจัดยังโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ที่ตั้งของโครงการ อาคารสถานีที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,000 ตารางเมตร และชั้นใต้ดินที่ลึกลงไปไม่น้อยกว่า 6 เมตร ประกอบด้วย พื้นที่ลานจอดรถบรรทุกมูลฝอย พื้นที่วางตู้บรรทุกมูลฝอย พื้นที่ส่วนสำนักงานและห้องควบคุมการเทมูลฝอย รวมทั้งระบบกระจายเสียงจากห้องควบคุมส่วนกลาง พร้อมระบบบำบัดกลิ่นและฝุ่นภายในอาคาร ที่สำคัญภายในบริเวณสถานีแห่งนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวที่มากถึง 80% ของพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ
สำหรับขั้นตอนการขนถ่ายขยะนั้น ขยะจะถูกบีบอัดลงไปในตู้บรรทุกมูลฝอย ซึ่งมีจำนวน 20 ตู้ ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะคุณภาพสูง และมีระบบป้องกันการผุกร่อนแบบพิเศษ พร้อมกับมีการใช้อุปกรณ์ Seal เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำเสียจากมูลฝอย และเมื่อตู้บรรทุกมูลฝอยเต็มแล้วก็จะมีรถบรรทุกตู้มูลฝอยจำนวน 9 คัน สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 15 ตัน นำขยะที่ถูกบีบอัดแล้วไปส่งยังศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม เพื่อดำเนินการกำจัดขยะในขั้นตอนต่อไป