นายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวในการเป็นประธานการประชุม "การขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากนโยบาย...สู่การปฏิบัติการในพื้นที่" โดยระบุว่า การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการมลพิษของประเทศ อาทิ การจัดการขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย การจัดการมลพิษทางอากาศ การตรวจและบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความรู้ การรณรงค์สร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างกัน
ในส่วนของการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศให้เป็นระบบแบบแผน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยกำกับให้ทุกภาคส่วนดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ซึ่งภายใน 1 ปี มีเป้าหมายที่จะให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัดที่ปลายทางลดลงร้อยละ 5 จากปี 2559 หมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 100 ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดรวมของเสียอันตรายชุมชน ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 85 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปริมาณกากอุตสาหกรรมร้อยละ 70 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ในส่วนของการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศให้เป็นระบบแบบแผน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยกำกับให้ทุกภาคส่วนดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ซึ่งภายใน 1 ปี มีเป้าหมายที่จะให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบกำจัดที่ปลายทางลดลงร้อยละ 5 จากปี 2559 หมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 100 ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดรวมของเสียอันตรายชุมชน ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อร้อยละ 85 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปริมาณกากอุตสาหกรรมร้อยละ 70 ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ