นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) แถลงเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ.2551 และแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 ว่า การจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณานำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
สำหรับหลักการและสาระสำคัญ ได้แก่ 1. ยกระดับสถานะและบทบาทของ สพม.เป็นสภาพัฒนาการเมืองแห่งชาติ 2.สพม.มีอำนาจหน้าที่นำแผนพัฒนาการเมืองแห่งชาติไปประสานหรือบังคับใช้ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการเมืองแห่งชาติ
3.เพิ่มองค์ประกอบของสมาชิกให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม โดยเพิ่มจำนวนและที่มาของสมาชิก สพม.จากภาคเอกชน ผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสื่อมวลชน และผู้แทนปราชญ์ชาวบ้าน จะมีสถานะเหมือนสภาพลเมืองแห่งชาติ 4.การจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตย ให้เป็นสถาบันหลักของประเทศในด้านการส่งเสริมสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย 5.จัดตั้งสภาพลเมืองในระดับจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะให้ภาคพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และ 6.มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง โดยให้แยกกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองออกจากสถาบันพระปกเกล้า และกำหนดให้เป็นอิสระในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบ
ส่วนการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาการเมืองในช่วง พ.ศ.2560-2564 ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เป็นกรอบแนวคิดและกระบวนทัศน์ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ 2.มุ่งให้สถาบันทางการเมืองและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางและกรอบของการปฏิบัติงาน 3.เป็นกรอบในการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสถาบันทางการเมืองและภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และ 4.เป็นแผนที่มีส่วนสำคัญในการนำทางสังคมไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและความผาสุกของประชาชนภายในประเทศอย่างยั่งยืน
นายธีรภัทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในทุกด้าน ได้แก่ 1.ธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2.การส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ 3.การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ 4.การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 5.การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 6.การส่งเสริมความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมที่มีความหลากหลาย และ 7.การกระจายอำนาจและการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม
ทั้งนี้ สพม. เห็นว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมืองที่ได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ และแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 นี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในปัจจุบัน และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศให้ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ความผาสุกของพี่น้องประชาชนชาวไทยต่อไป
สำหรับหลักการและสาระสำคัญ ได้แก่ 1. ยกระดับสถานะและบทบาทของ สพม.เป็นสภาพัฒนาการเมืองแห่งชาติ 2.สพม.มีอำนาจหน้าที่นำแผนพัฒนาการเมืองแห่งชาติไปประสานหรือบังคับใช้ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาการเมืองแห่งชาติ
3.เพิ่มองค์ประกอบของสมาชิกให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคม โดยเพิ่มจำนวนและที่มาของสมาชิก สพม.จากภาคเอกชน ผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสื่อมวลชน และผู้แทนปราชญ์ชาวบ้าน จะมีสถานะเหมือนสภาพลเมืองแห่งชาติ 4.การจัดตั้งสถาบันพัฒนาประชาธิปไตย ให้เป็นสถาบันหลักของประเทศในด้านการส่งเสริมสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย 5.จัดตั้งสภาพลเมืองในระดับจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด เพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะให้ภาคพลเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และ 6.มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง โดยให้แยกกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองออกจากสถาบันพระปกเกล้า และกำหนดให้เป็นอิสระในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบ
ส่วนการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาการเมืองในช่วง พ.ศ.2560-2564 ซึ่งจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เป็นกรอบแนวคิดและกระบวนทัศน์ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ 2.มุ่งให้สถาบันทางการเมืองและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางและกรอบของการปฏิบัติงาน 3.เป็นกรอบในการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสถาบันทางการเมืองและภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และ 4.เป็นแผนที่มีส่วนสำคัญในการนำทางสังคมไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและความผาสุกของประชาชนภายในประเทศอย่างยั่งยืน
นายธีรภัทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในทุกด้าน ได้แก่ 1.ธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2.การส่งเสริมความปรองดองสมานฉันท์ 3.การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ 4.การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 5.การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 6.การส่งเสริมความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมที่มีความหลากหลาย และ 7.การกระจายอำนาจและการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม
ทั้งนี้ สพม. เห็นว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมืองที่ได้ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ และแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 นี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในปัจจุบัน และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศให้ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ความผาสุกของพี่น้องประชาชนชาวไทยต่อไป