คณะนักวิทยาศาสตร์ในบราซิลเตรียมปล่อยยุงที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมออกไปกำจัดยุงลายในธรรมชาติที่เป็นพาหะนำโรคเขตร้อนเช่นไข้ซิกา ไข้เลือดออกเดงกี่ ไข้เหลือง ไข้ชิคุนกุนยา โดยยุงที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมจะไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียในธรรมชาติ ซึ่งจะมียุงลายรวมอยู่ด้วย ทำให้ลูกยุงที่เกิดมามีความบกพร่องทางพันธุกรรมและตายลงในเวลาอันสั้น
ทั้งนี้ จากผลการทดลองภาคสนาม 5 ครั้ง ระหว่างปี 2554-2557 ที่ปานามา หมู่เกาะเคย์แมน และรัฐบาเยีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล พบว่าประชากรยุงลายในธรรมชาติลดลงถึงร้อยละ 90
ทั้งนี้ จากผลการทดลองภาคสนาม 5 ครั้ง ระหว่างปี 2554-2557 ที่ปานามา หมู่เกาะเคย์แมน และรัฐบาเยีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล พบว่าประชากรยุงลายในธรรมชาติลดลงถึงร้อยละ 90