นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. กล่าวในโอกาสร่วมเป็นประธาน ในงาน Global Rubber Conference 2016 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ "Driving Transformation and Unlocking Opportunities ณ โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ว่า ในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ผู้นำเข้าและส่งออกยางพารา รวมทั้งผู้ประกอบการค้าขายเครื่องจักรแปรรูปยางรวมกว่า 25 ประเทศ เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ แลกเปลี่ยนมุมมองทางความคิดด้านอุตสาหกรรมยางพารา การพัฒนายางพาราอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่าย และสร้างโอกาสในการจับคู่ลงทุนทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยางพารา หรือ Business matching มากขึ้น
ด้าน นายจอนห์ แบฟเฟส (Dr.John Baffes) Senior Economist, The World Bank United States of America นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เตรียมนำมาตราการความช่วยเหลือต่างๆ นำเสนอในเวทีนี้ด้วย
นอกจากนี้ ในงานประชุมฯ ยังมีผู้เชี่ยวชาญในวงการยางพาราจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมนำเสนอ และวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ได้แก่ อนาคตของอุตสาหกรรมยางพารา : การคาดการณ์อุปสงค์ อุปทาน และราคา ในปี 2017รวมถึงโมเดลการฟื้นตัวของราคายางพารา สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวทางสู่การปฏิรูป วัตถุดิบที่มีความทันสมัยสำหรับการพัฒนาสินค้า : โดยนำเสนอแนวคิดใหม่ เทคโนโลยี และการเข้าถึงตลาด แนวปฏิบัติเศรษฐศาสตร์ยางพารา : เพื่อร่วมกำหนดแนวทางสู่การผลิตที่ยั่งยืน และเกมส์การเปลี่ยนแปลงการแข่งขันในอุตสาหกรรมยาง : บริบทของนวัตกรรม เทคโนโลยี วัตถุดิบ และความยั่งยืน ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางจากการจุ่ม อาทิ ถุงมือ ถุงยางอนามัย และ อุปกรณ์ทางการแพทย์
ด้าน นายจอนห์ แบฟเฟส (Dr.John Baffes) Senior Economist, The World Bank United States of America นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เตรียมนำมาตราการความช่วยเหลือต่างๆ นำเสนอในเวทีนี้ด้วย
นอกจากนี้ ในงานประชุมฯ ยังมีผู้เชี่ยวชาญในวงการยางพาราจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมนำเสนอ และวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ได้แก่ อนาคตของอุตสาหกรรมยางพารา : การคาดการณ์อุปสงค์ อุปทาน และราคา ในปี 2017รวมถึงโมเดลการฟื้นตัวของราคายางพารา สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวทางสู่การปฏิรูป วัตถุดิบที่มีความทันสมัยสำหรับการพัฒนาสินค้า : โดยนำเสนอแนวคิดใหม่ เทคโนโลยี และการเข้าถึงตลาด แนวปฏิบัติเศรษฐศาสตร์ยางพารา : เพื่อร่วมกำหนดแนวทางสู่การผลิตที่ยั่งยืน และเกมส์การเปลี่ยนแปลงการแข่งขันในอุตสาหกรรมยาง : บริบทของนวัตกรรม เทคโนโลยี วัตถุดิบ และความยั่งยืน ตลอดจนการวิเคราะห์เชิงลึกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางจากการจุ่ม อาทิ ถุงมือ ถุงยางอนามัย และ อุปกรณ์ทางการแพทย์