พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรณีการเช่าเหมาลำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการเดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและสหรัฐอเมริกา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่า ในคณะเดินทางดังกล่าว มีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการไปชี้แจงข้อมูลที่เดินทางไปจำนวน 38 คน และเดินทางกลับเพิ่มอีก 3 คน เป็น 41 คน ซึ่งในจำนวนนี้ไม่มีรายชื่อของผู้ประกาศข่าวหญิงของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์
ส่วนกรณีที่มีรายชื่อของผู้บริหารของบริษัทเอกชนร่วมคณะด้วยนั้น พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า เป็นหนึ่งในคณะทำงานของกระทรวงกลาโหม ในตำแหน่งฝ่ายประสานงานด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลและ คสช. มาตั้งแต่ต้น
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่จำเป็นต้องใช้คณะเดินทางจำนวนมาก เนื่องจากหลังเหตุการณ์วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทั้งไทยและสหรัฐอเมริกาต่างมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทุกโอกาสที่จะได้ร่วมเวทีกับสหรัฐฯ ในการชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ ปัญหาการประมง และการบินพลเรือน ซึ่งการดำเนินการของรัฐบาลในระยะที่ผ่านมา ทำให้สหรัฐฯ เห็นถึงความตั้งใจ และยกตัวอย่างประเทศไทยให้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สะท้อนถึงความเชื่อมั่น และผลประโยชน์อื่นๆ ของประเทศที่จะตามมา
ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่สามารถประเมินความคุ้มค่าในการเดินทางครั้งนี้ได้ เนื่องจากความสำเร็จด้านความมั่นคง ไม่สามารถวัดผลด้วยตัวเลข แต่การเดินทางไปครั้งนี้เป็นการทำงานในมิติต่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และเกิดความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินขณะนี้ กรณีดังกล่าวยังไม่กระทบกับภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม แต่จะเป็นการหมิ่นประมาทให้บุคคลใดเสียหายหรือไม่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องดำเนินการฟ้องร้องด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนตัวมองว่าการที่สังคมออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้ สะท้อนถึงความตื่นตัวในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่ทางกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบตามช่องทางและกระบวนการที่ถูกต้อง
ส่วนกรณีที่มีรายชื่อของผู้บริหารของบริษัทเอกชนร่วมคณะด้วยนั้น พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า เป็นหนึ่งในคณะทำงานของกระทรวงกลาโหม ในตำแหน่งฝ่ายประสานงานด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลและ คสช. มาตั้งแต่ต้น
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่จำเป็นต้องใช้คณะเดินทางจำนวนมาก เนื่องจากหลังเหตุการณ์วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทั้งไทยและสหรัฐอเมริกาต่างมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทุกโอกาสที่จะได้ร่วมเวทีกับสหรัฐฯ ในการชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ ปัญหาการประมง และการบินพลเรือน ซึ่งการดำเนินการของรัฐบาลในระยะที่ผ่านมา ทำให้สหรัฐฯ เห็นถึงความตั้งใจ และยกตัวอย่างประเทศไทยให้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สะท้อนถึงความเชื่อมั่น และผลประโยชน์อื่นๆ ของประเทศที่จะตามมา
ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่สามารถประเมินความคุ้มค่าในการเดินทางครั้งนี้ได้ เนื่องจากความสำเร็จด้านความมั่นคง ไม่สามารถวัดผลด้วยตัวเลข แต่การเดินทางไปครั้งนี้เป็นการทำงานในมิติต่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และเกิดความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินขณะนี้ กรณีดังกล่าวยังไม่กระทบกับภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม แต่จะเป็นการหมิ่นประมาทให้บุคคลใดเสียหายหรือไม่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องดำเนินการฟ้องร้องด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนตัวมองว่าการที่สังคมออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้ สะท้อนถึงความตื่นตัวในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่ทางกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบตามช่องทางและกระบวนการที่ถูกต้อง