นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า ได้เซ็นอนุมัติงบประมาณเพื่อการจัดการหนี้ให้กับสำนักงานสาขา 77 จังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 4 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 308 ล้านบาท โดยงบประมาณส่วนหนึ่งได้รับคืนจากเกษตรกรที่นำเงินมาชำระหนี้มีอยู่กว่า 600 ล้านบาท ขณะนี้กำลังประสานกับสหกรณ์ทั่วประเทศ ให้นำหนี้เร่งด่วนของสหกรณ์มาเทียบกับของสมาชิกที่มาขึ้นทะเบียนหนี้ที่ได้ผ่านคณะกรรมการจัดการหนี้ที่มีมติเห็นชอบแล้ว โดยมีคณะอนุกรรมการจังหวัด ตรวจสอบ และอนุมัติ
สำหรับโครงการซื้อหนี้ 3,000 ล้านบาท ที่บอร์ดใหญ่ กฟก.อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้ และเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือออกจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถึงนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในอดีตกองทุนเคยรับเงินก้อนใหญ่ๆ มาแล้ว 2 ครั้ง อีกทั้งในหนังสือก็มีการเสนอความประสงค์อยากให้กองทุนไปช่วยคนแก่และคนพิการ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของ กฟก.ที่มีวัตถุประสงค์หลักตาม พ.ร.บ. คือการซื้อหนี้เกษตรกรและการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อไม่ให้เกษตรกรกลับไปเป็นหนี้อีก
นายวัชระพันธุ์ กล่าวยืนยันว่า การบริหารงานและภารกิจของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติ เพื่อให้ประโยชน์เกิดกับเกษตรกรผู้เดือดร้อนจริง ที่ผ่านมามีความพยายามแทรกแซง บิดเบือนข้อมูล มีการนำม็อบเข้ามากดดันให้กฟก.เข้าไปรับซื้อหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการเกษตร อาทิ เป็น เต็นท์รถเช่า หรือเครื่องสูบน้ำ และมีมูลหนี้ยอดหนี้สูงมากเกิน 2.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานซื้อหนี้เกษตรกร ปีงบประมาณ 2559 ( 1 ตุลาคม 2558 - 30 มิถุนายน 2559) จำนวน 26 ราย 26 บัญชี จำนวนเงิน 15.2 ล้านบาท น้อยกว่าปีงบประมาณ 2558 ที่ดำเนินการซื้อหนี้ จำนวน 2,000 คน 2,400 บัญชี ใช้เงินชำระหนี้ 300 ล้านบาท สาเหตุที่ปีงบประมาณนี้ซื้อได้น้อย เนื่องจากทางสำนักงานเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ เป็นไปตามที่ สตง.เสนอ ก็คือ เป็นหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ในแต่ละสัญญาเมื่อรวมทุกสัญญาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท เป็นหนี้ค้างชำระ (NPL) ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นหนี้ที่เกิดจากประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะเป็นบุคคลค้ำประกันไม่ได้ เป็นต้น
สำหรับโครงการซื้อหนี้ 3,000 ล้านบาท ที่บอร์ดใหญ่ กฟก.อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้ และเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือออกจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถึงนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในอดีตกองทุนเคยรับเงินก้อนใหญ่ๆ มาแล้ว 2 ครั้ง อีกทั้งในหนังสือก็มีการเสนอความประสงค์อยากให้กองทุนไปช่วยคนแก่และคนพิการ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของ กฟก.ที่มีวัตถุประสงค์หลักตาม พ.ร.บ. คือการซื้อหนี้เกษตรกรและการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อไม่ให้เกษตรกรกลับไปเป็นหนี้อีก
นายวัชระพันธุ์ กล่าวยืนยันว่า การบริหารงานและภารกิจของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติ เพื่อให้ประโยชน์เกิดกับเกษตรกรผู้เดือดร้อนจริง ที่ผ่านมามีความพยายามแทรกแซง บิดเบือนข้อมูล มีการนำม็อบเข้ามากดดันให้กฟก.เข้าไปรับซื้อหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการเกษตร อาทิ เป็น เต็นท์รถเช่า หรือเครื่องสูบน้ำ และมีมูลหนี้ยอดหนี้สูงมากเกิน 2.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานซื้อหนี้เกษตรกร ปีงบประมาณ 2559 ( 1 ตุลาคม 2558 - 30 มิถุนายน 2559) จำนวน 26 ราย 26 บัญชี จำนวนเงิน 15.2 ล้านบาท น้อยกว่าปีงบประมาณ 2558 ที่ดำเนินการซื้อหนี้ จำนวน 2,000 คน 2,400 บัญชี ใช้เงินชำระหนี้ 300 ล้านบาท สาเหตุที่ปีงบประมาณนี้ซื้อได้น้อย เนื่องจากทางสำนักงานเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ เป็นไปตามที่ สตง.เสนอ ก็คือ เป็นหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ในแต่ละสัญญาเมื่อรวมทุกสัญญาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท เป็นหนี้ค้างชำระ (NPL) ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นหนี้ที่เกิดจากประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเป็นหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะเป็นบุคคลค้ำประกันไม่ได้ เป็นต้น