สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากเมืองโฮโนลูลู ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ที่ประชุมประจำปีว่าด้วยการอนุรักษ์โลกของสหภาพนานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ( ไอยูซีเอ็น ) ที่เมืองโฮโนลูลู บนเกาะฮาวาย ซึ่งมีตัวแทนรวม 1,300 คน จากมากกว่า 160 ประเทศเข้าร่วม มีมติเห็นชอบท่วมท้นในการประชุมเมื่อวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม เรียกร้องให้ทุกประเทศบนโลกร่วมกันยุติการค้างาช้าง แม้เป็นการเปิดตลาดอย่างถูกกฎหมายก็ตาม
ทั้งนี้ มติดังกล่าวได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้างาช้างรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและนามิเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ค้าและผู้ซื้อรายใหญ่ พยายามคัดค้านผ่านการเสนอให้มีการปรับแก้เนื้อหาในแถลงการณ์มากถึง 20 ครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธจากที่ประชุม ขณะที่รายละเอียดเกี่ยวกับการอกเสียงไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่กฎของไอยูซีเอ็นระบุว่า การผ่านมติใดก็ตามต้องได้รับความเห็นชอบเกินครึ่ง จากที่ประชุม
แม้มติของที่ประชุมไอยูซีเอ็นไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย แต่ทุกฝ่ายเชื่อว่ามติที่ออกมาถือเป็นชัยชนะของช้างที่จำนวนประชากรลดลงมาก และน่าจะมีผลในเชิงจิตวิทยาให้นานาประเทศร่วมกันปรับแก้กฎหมายในเรื่องนี้ เนื่องจากถือเป็นครั้งแรกที่การประชุมระดับนานาชาติในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมติอย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้มีการปิดตลาดค้างาช้าง นับตั้งแต่อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส ห้ามการค้างาของช้างป่าแอฟริกันเมื่อปี 2532
ทั้งนี้ มติดังกล่าวได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้างาช้างรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่ญี่ปุ่นและนามิเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ค้าและผู้ซื้อรายใหญ่ พยายามคัดค้านผ่านการเสนอให้มีการปรับแก้เนื้อหาในแถลงการณ์มากถึง 20 ครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธจากที่ประชุม ขณะที่รายละเอียดเกี่ยวกับการอกเสียงไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่กฎของไอยูซีเอ็นระบุว่า การผ่านมติใดก็ตามต้องได้รับความเห็นชอบเกินครึ่ง จากที่ประชุม
แม้มติของที่ประชุมไอยูซีเอ็นไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย แต่ทุกฝ่ายเชื่อว่ามติที่ออกมาถือเป็นชัยชนะของช้างที่จำนวนประชากรลดลงมาก และน่าจะมีผลในเชิงจิตวิทยาให้นานาประเทศร่วมกันปรับแก้กฎหมายในเรื่องนี้ เนื่องจากถือเป็นครั้งแรกที่การประชุมระดับนานาชาติในเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมติอย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้มีการปิดตลาดค้างาช้าง นับตั้งแต่อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส ห้ามการค้างาของช้างป่าแอฟริกันเมื่อปี 2532