นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุม กรธ.ในประเด็นสิทธิของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการเลือกนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า ไม่ว่ากรณีใด ส.ว.ก็ไม่มีสิทธิเสนอชื่อ แม้ว่าจะไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอได้หรือไม่ก็ตาม ซึ่งให้ ส.ว. มีหน้าที่ร่วมโหวตรายชื่อนายกรัฐมนตรีตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เสนอ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าว กรธ. เห็นว่าการบริหารบ้านเมืองโดยหลักการต้องเป็นหน้าที่ของ ส.ส.ตามที่ประชาชนเลือก โดยคาดว่าต้นสัปดาห์หน้าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้
นายอุดม กล่าวว่า กรธ. ยืนยันในหลักการเดิม คือ หากไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ตามขั้นตอนปกติ ก็ให้มีการเปิดประชุมร่วม 2 สภา คือ ส.ส. และ ส.ว. เพื่อยกเว้นข้อบังคับ ให้มีนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีได้ โดยได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา 272 เพื่อให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ มีเนื้อหาระบุว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภา ภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ตามมาตรา 268 การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 วรรค 3 ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
นายอุดม กล่าวว่า กรธ. ยืนยันในหลักการเดิม คือ หากไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ตามขั้นตอนปกติ ก็ให้มีการเปิดประชุมร่วม 2 สภา คือ ส.ส. และ ส.ว. เพื่อยกเว้นข้อบังคับ ให้มีนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีได้ โดยได้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา 272 เพื่อให้สอดคล้องกับผลการออกเสียงประชามติ มีเนื้อหาระบุว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภา ภายหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ตามมาตรา 268 การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 วรรค 3 ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา