เมื่อวานนี้ (22 ส.ค.2559) พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร รองผบ.ตร.ชี้แจงกรณีมีคำสั่งให้ตำรวจปราบปรามยาเสพติด จ.สงขลา 10 นาย กลับเข้ารับราชการ โดยตำรวจทั้ง 10 นายถูกให้ออกจากราชการระหว่างการสอบสวนกรณีกระทำผิดวินัยร้ายแรงจากการจับกุมผู้ต้องหาและต่อมาผู้ต้องหาเสียชีวิต
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2558 เมื่อ พ.ต.ท.ธเนศ พงษ์รอด หัวหน้าชุดปราบปรามยาเสพติด บก.ภ.จว.สงขลา พร้อมพวก รวม 10 นาย ได้ร่วมกันจับกุมนายธีระพัฒน์ เสรีเกียรติดิลก อายุ 33 ปีพร้อมของกลางยาไอซ์ จากนั้นนำตัวไปควบคุมไว้ที่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 5 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 7-9 มี.ค.2558 แต่ไม่ได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน ต่อมาพบว่านายธีระพัฒน์เสียชีวิตในห้องควบคุมโดยมีร่องรอยการผูกคอ
ผลชันสูตรของแพทย์นิติเวช รพ.สงขลานครินทร์ พบว่ามีกระดูกซี่โครงหัก 4 ซี่ ปอดมีรอยฉีกขาด ทำให้ทางญาติติดใจสงสัยสาเหตุการเสียชีวิตและเชื่อว่าผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมซ้อมทรมานจนเสียชีวิต จึงได้ร้องเรียนให้ทำการสอบสวน
ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตำรวจทั้ง 10 นาย และมีคำสั่งให้ทั้งหมดออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนใช้เวลาเกือบ 1 ปีในการสอบสวนและสรุปว่า ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่านายตำรวจทั้ง 10 นาย กระทำผิดวินัยร้ายแรง แต่การที่ผู้ต้องหาเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของตำรวจถือว่าเป็นความบกพร่องในการทำงาน ส่วนการควบคุมผู้ต้องหาที่เซฟเฮาส์โดยไม่แจ้งเลขาธิการ ป.ป.ส.นั้นถือว่าเป็นความผิดแต่ไม่ถึงขั้นความผิดวินัยร้ายแรง สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ตร.ที่ 231/2559 ลงวันที่ 22 เม.ย.2559 ลงโทษตำรวจทั้ง 10 นาย ฐานผิดวินัยไม่ร้ายแรงและให้กลับเข้ารับราชการ
พล.ต.อ.ชัยยงกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ศาลจังหวัดสงขลาไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตของนายธีระพัฒน์ และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2559 ว่านายธีระพัฒน์เสียชีวิตเพราะสมองขาดอากาศ จากการกดทับบริเวณลำคออันเกิดจากการทำร้ายของผู้อื่นนั้นเป็นข้อเท็จจริงใหม่ ที่ตนเพิ่งทราบหลังจากที่มีคำสั่งให้ตำรวจทั้ง 10 นายกลับเข้ารับราชการแล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ชัยยงได้ระบุว่า ได้ส่งคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาไปให้อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย (อนุฯ ก.ตร.วินัย) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาผลการสอบสวนทางวินัยตำรวจทั้ง 10 นาย
ล่าสุด พล.ต.อ.วินัย ทองสอง รองผบ.ตร.ในฐานะประธาน อนุฯ ก.ตร.วินัย มีคำสั่งให้รอสำนวนคดีอาญา ซึ่งหากผลการสอบสวนคดีอาญาระบุว่าตำรวจทั้ง 10 นาย มีความผิดจริง การพิจารณาโทษทางวินัยก็จะเปลี่ยนไปด้วย โดยโทษอาจเป็นให้ออกจากราชการหรือไล่ออกจากราชการ นอกจากนี้ได้ส่งคำสั่งศาลไปยัง สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะผู้ที่รับผิดชอบสอบสวนคดีอาญา เพื่อนำคำพากษาดังกล่าวไปประกอบการสำนวนการสอบสวนด้วย พล.ต.อ.ชัยยงกล่าว
"เท่าที่ผมตรวจสอบสำนวนการสอบสวน มีการสอบปากคำพยานรอบด้านทั้งญาติผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานที่ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ซึ่งยืนยันว่าไม่พบร่องรอยการต่อสู้ ขณะที่รายงานการชันสูตรของแพทย์นิติเวชก็เป็นไปลักษณะของการผูกคอเสียชีวิต ส่วนการที่ซี่โครงหักแพทย์ระบุว่าอาจจะเกิดจากการปั๊มหัวใจ นอกจากนี้ ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวที่เดียวกับนายธีระพัฒน์ยังยืนยันว่าไม่พบการซ้อมหรือทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อมีคำสั่งศาลออกมาว่านายธีระพัฒน์ เสียชีวิตจากการถูกทำร้ายของผู้อื่น ซึ่งแตกต่างจากผลการชันสูตรของแพทย์นิติเวช ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงใหม่ ผมก็ไม่นิ่งนอนใจรีบส่งคำสั่งศาลไปยัง ก.ตร.และปปท.ทันที" รองผบ.ตร.ระบุ
พล.ต.อ.ชัยยงยืนยันว่า การพิจารณาเรื่องนี้เป็นอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ไม่มีการช่วยเหลือนายตำรวจทั้ง 10 นายอย่างแน่นอน
"ก่อนจะลงนามในคำสั่ง ผมก็คำนึงถึงความรู้สึกของญาติผู้เสียชีวิตนะ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา หากลูกน้องทำผิดจริงผมไม่เอาไว้ แต่กรณีนี้ผมมองว่าตำรวจเขาไปทำงาน มีการจับกุมผู้ต้องหาได้ มีของกลางยาไอซ์ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็ต้องให้เขากลับเข้ารับราชการ ในส่วนคดีอาญาก็ว่ากันไป " รองผบ.ตร. กล่าว
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2558 เมื่อ พ.ต.ท.ธเนศ พงษ์รอด หัวหน้าชุดปราบปรามยาเสพติด บก.ภ.จว.สงขลา พร้อมพวก รวม 10 นาย ได้ร่วมกันจับกุมนายธีระพัฒน์ เสรีเกียรติดิลก อายุ 33 ปีพร้อมของกลางยาไอซ์ จากนั้นนำตัวไปควบคุมไว้ที่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 5 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 7-9 มี.ค.2558 แต่ไม่ได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวน ต่อมาพบว่านายธีระพัฒน์เสียชีวิตในห้องควบคุมโดยมีร่องรอยการผูกคอ
ผลชันสูตรของแพทย์นิติเวช รพ.สงขลานครินทร์ พบว่ามีกระดูกซี่โครงหัก 4 ซี่ ปอดมีรอยฉีกขาด ทำให้ทางญาติติดใจสงสัยสาเหตุการเสียชีวิตและเชื่อว่าผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมซ้อมทรมานจนเสียชีวิต จึงได้ร้องเรียนให้ทำการสอบสวน
ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตำรวจทั้ง 10 นาย และมีคำสั่งให้ทั้งหมดออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนใช้เวลาเกือบ 1 ปีในการสอบสวนและสรุปว่า ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่านายตำรวจทั้ง 10 นาย กระทำผิดวินัยร้ายแรง แต่การที่ผู้ต้องหาเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของตำรวจถือว่าเป็นความบกพร่องในการทำงาน ส่วนการควบคุมผู้ต้องหาที่เซฟเฮาส์โดยไม่แจ้งเลขาธิการ ป.ป.ส.นั้นถือว่าเป็นความผิดแต่ไม่ถึงขั้นความผิดวินัยร้ายแรง สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ตร.ที่ 231/2559 ลงวันที่ 22 เม.ย.2559 ลงโทษตำรวจทั้ง 10 นาย ฐานผิดวินัยไม่ร้ายแรงและให้กลับเข้ารับราชการ
พล.ต.อ.ชัยยงกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ศาลจังหวัดสงขลาไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตของนายธีระพัฒน์ และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2559 ว่านายธีระพัฒน์เสียชีวิตเพราะสมองขาดอากาศ จากการกดทับบริเวณลำคออันเกิดจากการทำร้ายของผู้อื่นนั้นเป็นข้อเท็จจริงใหม่ ที่ตนเพิ่งทราบหลังจากที่มีคำสั่งให้ตำรวจทั้ง 10 นายกลับเข้ารับราชการแล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ชัยยงได้ระบุว่า ได้ส่งคำสั่งศาลจังหวัดสงขลาไปให้อนุกรรมการ ก.ตร.เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย (อนุฯ ก.ตร.วินัย) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาผลการสอบสวนทางวินัยตำรวจทั้ง 10 นาย
ล่าสุด พล.ต.อ.วินัย ทองสอง รองผบ.ตร.ในฐานะประธาน อนุฯ ก.ตร.วินัย มีคำสั่งให้รอสำนวนคดีอาญา ซึ่งหากผลการสอบสวนคดีอาญาระบุว่าตำรวจทั้ง 10 นาย มีความผิดจริง การพิจารณาโทษทางวินัยก็จะเปลี่ยนไปด้วย โดยโทษอาจเป็นให้ออกจากราชการหรือไล่ออกจากราชการ นอกจากนี้ได้ส่งคำสั่งศาลไปยัง สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะผู้ที่รับผิดชอบสอบสวนคดีอาญา เพื่อนำคำพากษาดังกล่าวไปประกอบการสำนวนการสอบสวนด้วย พล.ต.อ.ชัยยงกล่าว
"เท่าที่ผมตรวจสอบสำนวนการสอบสวน มีการสอบปากคำพยานรอบด้านทั้งญาติผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานที่ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ซึ่งยืนยันว่าไม่พบร่องรอยการต่อสู้ ขณะที่รายงานการชันสูตรของแพทย์นิติเวชก็เป็นไปลักษณะของการผูกคอเสียชีวิต ส่วนการที่ซี่โครงหักแพทย์ระบุว่าอาจจะเกิดจากการปั๊มหัวใจ นอกจากนี้ ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวที่เดียวกับนายธีระพัฒน์ยังยืนยันว่าไม่พบการซ้อมหรือทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อมีคำสั่งศาลออกมาว่านายธีระพัฒน์ เสียชีวิตจากการถูกทำร้ายของผู้อื่น ซึ่งแตกต่างจากผลการชันสูตรของแพทย์นิติเวช ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงใหม่ ผมก็ไม่นิ่งนอนใจรีบส่งคำสั่งศาลไปยัง ก.ตร.และปปท.ทันที" รองผบ.ตร.ระบุ
พล.ต.อ.ชัยยงยืนยันว่า การพิจารณาเรื่องนี้เป็นอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ไม่มีการช่วยเหลือนายตำรวจทั้ง 10 นายอย่างแน่นอน
"ก่อนจะลงนามในคำสั่ง ผมก็คำนึงถึงความรู้สึกของญาติผู้เสียชีวิตนะ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา หากลูกน้องทำผิดจริงผมไม่เอาไว้ แต่กรณีนี้ผมมองว่าตำรวจเขาไปทำงาน มีการจับกุมผู้ต้องหาได้ มีของกลางยาไอซ์ หากพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็ต้องให้เขากลับเข้ารับราชการ ในส่วนคดีอาญาก็ว่ากันไป " รองผบ.ตร. กล่าว