น.พ.พลวรรธ พิทยพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในการเปิดเวทีความร่วมมือวางกรอบการใช้โซเชียลมีเดียของบุคคลากรด้านสุขภาพและสาธารณสุข ป้องกันการโพสต์ แชร์ เปลี่ยนโลกออนไลน์ ให้ปลอดการละเมิดสิทธิสุขภาพ พบว่าตัวเลขการสำรวจเมื่อปี 2557 ไตรมาสที่ 2 มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เข้าอินเทอร์เน็ต
ได้ในประเทศไทยมีถึง 94 ล้านเครื่อง และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกประมาณ 2-3 ล้านเครื่องต่อไตรมาสโดยโซเชียลมีเดียที่คนนิยมใช้มากที่สุด คือเฟสบุ๊กมีผู้ใช้ 30 ล้านคน ยูทิวบ์ มีผู้ใช้ 26.5 ล้านคน ทวิตเตอร์ มีผู้ใช้ 4.5 ล้านคน และอินสตาแกรม 1.7 ล้านคน และล่าสุดนิยมใช้ไลน์มากขึ้น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเร็วทำให้ทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อสารได้ง่ายและเร็ว แต่ไม่มีการกลั่นกรอง ทำให้มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ ปัจจุบันประชาชนการโพสต์ภาพเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ รูปครอบครัวในห้องคลอด รูปผู้ป่วยประกอบการขอรับบริจาคเงิน เลือด และอวัยวะ รวมถึงการบันทึกภาพและเสียงระหว่างการรักษา อาจละเมิดสิทธิผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว ผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีโอกาสถูกละเมิดสิทธิได้ แม้แต่กระทรวงเองยังถูกปลอมข้อมูลเว็บไซต์แล้วนำภาพของผู้ป่วยมาตัดต่อเพื่อให้คนเข้ามาคลิกอ่านแล้วนำยอดคลิกไปหาโฆษณา ซึ่งปีนี้ถูกปลอมเว็บมา 3 ครั้งแล้ว ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญ มีการตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลข้อมูลโดยเฉพาะ ดังนั้นจะเห็นว่าเรื่องสำนึกของคนเป็นเรื่องสำคัญมาก การมีกฎข้อบังคับก็เป็นเรื่องที่ดี แต่จะเป็นการบีบให้สิทธิของคนน้อยลงหรือไม่ ขนาดพื้นที่บนโซเชียลฯ ยังโดนจำกัดอนาคตอาจจะทำให้มีการหันไปใช้วิธีการอื่น ๆ อีกก็ได้
ได้ในประเทศไทยมีถึง 94 ล้านเครื่อง และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีกประมาณ 2-3 ล้านเครื่องต่อไตรมาสโดยโซเชียลมีเดียที่คนนิยมใช้มากที่สุด คือเฟสบุ๊กมีผู้ใช้ 30 ล้านคน ยูทิวบ์ มีผู้ใช้ 26.5 ล้านคน ทวิตเตอร์ มีผู้ใช้ 4.5 ล้านคน และอินสตาแกรม 1.7 ล้านคน และล่าสุดนิยมใช้ไลน์มากขึ้น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเร็วทำให้ทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อสารได้ง่ายและเร็ว แต่ไม่มีการกลั่นกรอง ทำให้มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ ปัจจุบันประชาชนการโพสต์ภาพเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ รูปครอบครัวในห้องคลอด รูปผู้ป่วยประกอบการขอรับบริจาคเงิน เลือด และอวัยวะ รวมถึงการบันทึกภาพและเสียงระหว่างการรักษา อาจละเมิดสิทธิผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว ผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีโอกาสถูกละเมิดสิทธิได้ แม้แต่กระทรวงเองยังถูกปลอมข้อมูลเว็บไซต์แล้วนำภาพของผู้ป่วยมาตัดต่อเพื่อให้คนเข้ามาคลิกอ่านแล้วนำยอดคลิกไปหาโฆษณา ซึ่งปีนี้ถูกปลอมเว็บมา 3 ครั้งแล้ว ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญ มีการตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลข้อมูลโดยเฉพาะ ดังนั้นจะเห็นว่าเรื่องสำนึกของคนเป็นเรื่องสำคัญมาก การมีกฎข้อบังคับก็เป็นเรื่องที่ดี แต่จะเป็นการบีบให้สิทธิของคนน้อยลงหรือไม่ ขนาดพื้นที่บนโซเชียลฯ ยังโดนจำกัดอนาคตอาจจะทำให้มีการหันไปใช้วิธีการอื่น ๆ อีกก็ได้