จากรณีเฟซบุ๊คของสถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความเมื่อวันอาทิตย์ (31 ก.ค.) ว่า กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า สมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี มีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มนี้มีเครือข่ายในโรงเรียน บริษัท ธนาคาร และสื่อมวลชนจำนวนมาก เพื่อใช้ฟอกเงินและประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของกลุ่ม
นอกจากนี้ สถานทูตตุรกียังยืนยันว่า สมาคมดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้แทนของเอกชนตุรกี และไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล จึงขอให้สมาคมเอกชน และหอการค้าของไทย ติดต่อกับสำนักงานส่งเสริมการค้าของสถานทูตโดยตรง
ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีขึ้นในช่วงที่เกิดกระแสข่าวรัฐประหารซ้ำสองในตุรกี โดยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “คุมฮูริเยต์” รายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่า ตำรวจตุรกีราว 7,000 นายพร้อมรถหุ้มเกราะอีกหลายร้อยคัน ทำการปิดล้อมฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นสถานที่ประจำการของทหารอเมริกันและเจ้าหน้าที่พลเรือนรวมกว่า 2,000 นายหลังฝ่ายความมั่นคงได้รับเบาะแสว่า มีการวางแผนเตรียมก่อการรัฐประหารครั้งใหม่เกิดขึ้นภายในฐานทัพแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม สมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี ออกแถลงการณ์ตอบโต้ยืนยันว่า สมาคมไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการรัฐประหารหรือกลุ่มก่อการร้ายตามที่ถูกกล่าวหา และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของไทย จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาลตุรกี อีกทั้งได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้ามาโดยตลอด โดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของตุรกีได้ร่วมทำพิธีเปิดสมาคมเมื่อปี 2550 ด้วย
การตอบโต้จากสมาคม ทำให้สถานทูตตุรกีโต้กลับว่า การที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของตุรกีไปร่วมงานของสมาคม เป็นเพียงเรื่องในอดีต และไม่สามารถรับรองความชอบธรรมขององค์กรได้ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
สมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี เป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยองค์กรที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการพยายามก่อรัฐประหาร เนื่องจากนายกูเลน เป็นผู้มีเครือข่ายกว้างขวางทั่วโลก เขาเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของตุรกี มีธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเปิดโรงเรียนสอนศาสนาในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ มีรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงไทยว่า หลังการพยายามก่อการรัฐประหารในตุรกี ปรากฏว่ารัฐบาลตุรกีได้แสดงท่าทีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับไทย โดยมีการระบุว่า กลุ่มนักธุรกิจตุรกีที่ดำเนินกิจการโรงเรียนนานาชาติในไทย มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มของนายเฟตุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาและศัตรูเบอร์ 1 ของรัฐบาลตุรกีที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ และระบุว่า นายอูฟุค เซเวเลค ประธานสมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี เป็นสมาชิกกลุ่มของนายกูเลน
ก่อนการรัฐประหาร มีความพยายามหยิบยกปัญหาเครือข่ายของกลุ่มนายกูเลนในประเทศไทยขึ้นมาหารือ แต่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันนัก กระทั่งมีสัญญาณชัดเจนจากรัฐบาลตุรกีภายหลังการพยายามรัฐประหารดังกล่าว ทำให้ฝ่ายไทยส่งสัญญาณกลับไปว่า ไทยไม่สนับสนุนให้มีบุคคลหรือกลุ่มใด ๆ ใช้ไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวหรือดำเนินการล้มล้างรัฐบาลประเทศอื่น ขณะที่ฝ่ายตุรกีได้ร้องขอให้ไทยดำเนินมาตรการลดบทบาทกับกลุ่มคนเหล่านี้
นอกจากนี้ สถานทูตตุรกียังยืนยันว่า สมาคมดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้แทนของเอกชนตุรกี และไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล จึงขอให้สมาคมเอกชน และหอการค้าของไทย ติดต่อกับสำนักงานส่งเสริมการค้าของสถานทูตโดยตรง
ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีขึ้นในช่วงที่เกิดกระแสข่าวรัฐประหารซ้ำสองในตุรกี โดยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “คุมฮูริเยต์” รายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่า ตำรวจตุรกีราว 7,000 นายพร้อมรถหุ้มเกราะอีกหลายร้อยคัน ทำการปิดล้อมฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นสถานที่ประจำการของทหารอเมริกันและเจ้าหน้าที่พลเรือนรวมกว่า 2,000 นายหลังฝ่ายความมั่นคงได้รับเบาะแสว่า มีการวางแผนเตรียมก่อการรัฐประหารครั้งใหม่เกิดขึ้นภายในฐานทัพแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม สมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี ออกแถลงการณ์ตอบโต้ยืนยันว่า สมาคมไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับการรัฐประหารหรือกลุ่มก่อการร้ายตามที่ถูกกล่าวหา และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของไทย จึงไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาลตุรกี อีกทั้งได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้ามาโดยตลอด โดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของตุรกีได้ร่วมทำพิธีเปิดสมาคมเมื่อปี 2550 ด้วย
การตอบโต้จากสมาคม ทำให้สถานทูตตุรกีโต้กลับว่า การที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของตุรกีไปร่วมงานของสมาคม เป็นเพียงเรื่องในอดีต และไม่สามารถรับรองความชอบธรรมขององค์กรได้ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
สมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี เป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยองค์กรที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการพยายามก่อรัฐประหาร เนื่องจากนายกูเลน เป็นผู้มีเครือข่ายกว้างขวางทั่วโลก เขาเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของตุรกี มีธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเปิดโรงเรียนสอนศาสนาในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ มีรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงไทยว่า หลังการพยายามก่อการรัฐประหารในตุรกี ปรากฏว่ารัฐบาลตุรกีได้แสดงท่าทีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับไทย โดยมีการระบุว่า กลุ่มนักธุรกิจตุรกีที่ดำเนินกิจการโรงเรียนนานาชาติในไทย มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มของนายเฟตุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาและศัตรูเบอร์ 1 ของรัฐบาลตุรกีที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ และระบุว่า นายอูฟุค เซเวเลค ประธานสมาคมธุรกิจไทย-ตุรกี เป็นสมาชิกกลุ่มของนายกูเลน
ก่อนการรัฐประหาร มีความพยายามหยิบยกปัญหาเครือข่ายของกลุ่มนายกูเลนในประเทศไทยขึ้นมาหารือ แต่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันนัก กระทั่งมีสัญญาณชัดเจนจากรัฐบาลตุรกีภายหลังการพยายามรัฐประหารดังกล่าว ทำให้ฝ่ายไทยส่งสัญญาณกลับไปว่า ไทยไม่สนับสนุนให้มีบุคคลหรือกลุ่มใด ๆ ใช้ไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวหรือดำเนินการล้มล้างรัฐบาลประเทศอื่น ขณะที่ฝ่ายตุรกีได้ร้องขอให้ไทยดำเนินมาตรการลดบทบาทกับกลุ่มคนเหล่านี้