นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรม สบส. กล่าวว่า ในยุค 4.0 เป็นยุคที่นวัตกรรมต่อยอดพัฒนาก้าวกระโดด กรม สบส.ได้ปรับระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ และความเข้มแข็งภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมภาครัฐดำเนินการในเรื่องนี้ เน้นเชิงรุกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยได้พัฒนาระบบการตรวจสอบสถานพยาบาล คลินิกเอกชนที่มีกว่า 20,000 แห่งทั่วประเทศ โดยจะมีการใช้ระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ติดที่ใบอนุญาตการเปิดกิจการสถานพยาบาล และใบอนุญาตแพทย์ผู้ดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนใช้ตรวจสอบว่าเป็นใบอนุญาตที่ถูกต้องจริงหรือไม่ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า มีการปลอมแปลงเอกสารใบอนุญาตแพทย์ผู้ดำเนินการนำไปแสดงในคลินิก และให้บริการโดยบุคคลไม่ใช่แพทย์ โดยมีการนำรูปถ่ายบุคคลนั้นไปติดทับบนรูปถ่ายของแพทย์ตัวจริง ซึ่งยากต่อการที่ประชาชนจะตรวจสอบได้ ดังนั้นกรม สบส.จึงคิดกระบวนการแก้ปัญหาโดยนำระบบคิวอาร์โค้ดไปติดในใบอนุญาตทั้งใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล และใบอนุญาตแพทย์ผู้ดำเนินการ เมื่อประชาชนเห็นสัญลักษณ์ สามารถใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตนเอง สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบยืนยัน และทราบผลอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาทีว่าสถานพยาบาลหรือแพทย์ที่ให้บริการขณะนั้น ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรม สบส. หรือไม่
นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ข้อมูลที่บรรจุอยู่ในคิวอาร์โค้ด จะแสดงเลขที่ใบอนุญาตสถานพยาบาลจำนวน 11 หลัก และเลขที่ใบอนุญาตผู้ดำเนินการซึ่งจะแสดงข้อมูลแพทย์ผู้ดำเนินการพร้อมภาพถ่าย หากตรงกับที่ปรากฏในคลินิกทั้ง 2 หลักฐาน แสดงว่าเป็นสถานพยาบาลที่ถูกต้องและเป็นแพทย์จริง โดยจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด และสามารถใช้ภายในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ.2560
นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ข้อมูลที่บรรจุอยู่ในคิวอาร์โค้ด จะแสดงเลขที่ใบอนุญาตสถานพยาบาลจำนวน 11 หลัก และเลขที่ใบอนุญาตผู้ดำเนินการซึ่งจะแสดงข้อมูลแพทย์ผู้ดำเนินการพร้อมภาพถ่าย หากตรงกับที่ปรากฏในคลินิกทั้ง 2 หลักฐาน แสดงว่าเป็นสถานพยาบาลที่ถูกต้องและเป็นแพทย์จริง โดยจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด และสามารถใช้ภายในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ.2560