นพ.ภานุวัตน์ ปานเกตุ โฆษกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประชาชนมีแนวโน้มป่วยจากโรคเอ็นซีดี หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะ 3 โรคที่เปรียบเสมือนเป็นเพื่อนสนิท ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ซึ่งไม่รวม กทม.ล่าสุดในปี 2558 จำนวนเพิ่มเป็น 7,622,455 คน มากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง 5 ล้านกว่าคน บางคนป่วยมากกว่า 1 โรค ผู้ป่วยกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี รวม 15,747 คน สะท้อนถึงการใช้พฤติกรรมชีวิตประจำวันที่ขาดและเกิน เช่นขาดการออกกำลังกาย กินผักผลไม้น้อย กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป
นพ.ภานุวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมประชาชนในการดูแลสุขภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง กรม สบส.ได้ร่วมกับมูลนิธิอุทัย สุดสุข ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ส่งเสริมประชาชนในชุมชนที่ป่วยเรื้อรัง 3 กลุ่มโรคที่กล่าวมา ปฏิบัติศาสนธรรมคือการสวดมนต์และทำสมาธิ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ใกล้วิถีชีวิต ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมตามหลักการของแพทย์คือ คุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับอารมณ์และการกินยาตามแพทย์สั่ง เนื่องจากมีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าการสวดมนต์ ทำสมาธิ ทำให้จิตใจสงบ ปรับสมดุลและสารเคมีในร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอาการได้ดีขึ้น โดยนำร่องศึกษาในชุมชน 12 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ลำพูน กำแพงเพชร ชลบุรี ชัยภูมิ ตรัง พังงา กาญจนบุรี ในปี 2557 ซึ่งได้บูรณาความ 5 องค์กรเครือข่าย ได้แก่ ภาคประชาชน คือ อสม.เป็นแกนหลัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วัด โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนตำบล ผลพบว่าผู้ป่วยในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้นมากถึงร้อยละ 83 ไม่เครียด ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ดียิ่งขึ้น
นพ.ภานุวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมประชาชนในการดูแลสุขภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง กรม สบส.ได้ร่วมกับมูลนิธิอุทัย สุดสุข ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ส่งเสริมประชาชนในชุมชนที่ป่วยเรื้อรัง 3 กลุ่มโรคที่กล่าวมา ปฏิบัติศาสนธรรมคือการสวดมนต์และทำสมาธิ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ใกล้วิถีชีวิต ไม่มีค่าใช้จ่าย ทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมตามหลักการของแพทย์คือ คุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับอารมณ์และการกินยาตามแพทย์สั่ง เนื่องจากมีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าการสวดมนต์ ทำสมาธิ ทำให้จิตใจสงบ ปรับสมดุลและสารเคมีในร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอาการได้ดีขึ้น โดยนำร่องศึกษาในชุมชน 12 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ลำพูน กำแพงเพชร ชลบุรี ชัยภูมิ ตรัง พังงา กาญจนบุรี ในปี 2557 ซึ่งได้บูรณาความ 5 องค์กรเครือข่าย ได้แก่ ภาคประชาชน คือ อสม.เป็นแกนหลัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วัด โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนตำบล ผลพบว่าผู้ป่วยในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้นมากถึงร้อยละ 83 ไม่เครียด ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของแพทย์ดียิ่งขึ้น