คณะมนตรียุโรปมีมติให้ปรับเงินสเปนและโปรตุเกส เนื่องจากไม่สามารถปรับปรุงงบประมาณแผ่นดินให้มีผลขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป หรืออียู อีกทั้งไม่มีความพยายามมากพอที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เป็นข้อบังคับของอียู โดยทั้ง 2 ประเทศมีเวลา 10 วันเพื่อยื่นแผนลดการขาดดุลงบประมาณ แต่นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส มีความเห็นว่า การลงโทษจะยิ่งทำให้กระแสต่อต้านยูโรโซนรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นายปีเตอร์ คาซีมีร์ ประธานคณะมนตรียุโรป และรัฐมนตรีคลังสโลวาเกีย เชื่อว่าผลลัพธ์สุดท้ายจะออกมาในแนวทางที่ดี
ทั้งนี้ อียูออกมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเงินการคลังของประเทศสมาชิก หลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง จนกระทั่งกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และไซปรัส ต้องยื่นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ในปีงบประมาณ 2558 สเปนขาดดุลงบประมาณร้อยละ 5.1 ของจีดีพี และทำให้ในปี 2559 อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาจนลดลงมาอยู่ในกรอบงบประมาณขาดดุลร้อยละ 2.8 ตามเป้าหมายได้ เช่นเดียวกับโปรตุเกส ที่ขาดดุลงบประมาณร้อยละ 4.4 ของจีดีพีในปี 2558 ทำให้ไม่น่าจะปรับลดการขาดดุลลงมาอยู่ในกรอบร้อยละ 2.5 ในปี 2559
ทั้งนี้ อียูออกมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเงินการคลังของประเทศสมาชิก หลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง จนกระทั่งกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และไซปรัส ต้องยื่นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ในปีงบประมาณ 2558 สเปนขาดดุลงบประมาณร้อยละ 5.1 ของจีดีพี และทำให้ในปี 2559 อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาจนลดลงมาอยู่ในกรอบงบประมาณขาดดุลร้อยละ 2.8 ตามเป้าหมายได้ เช่นเดียวกับโปรตุเกส ที่ขาดดุลงบประมาณร้อยละ 4.4 ของจีดีพีในปี 2558 ทำให้ไม่น่าจะปรับลดการขาดดุลลงมาอยู่ในกรอบร้อยละ 2.5 ในปี 2559