นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษนำพาประเทศเข้าสู่สงครามที่วางแผนได้แย่และก่อคำถามด้านความชอบธรรมทางกฎหมายในอิรักปี 2003 บนพื้นฐานของข่าวกรองผิดๆว่าประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง จากผลการไต่สวนที่ล่าช้ามานานซึ่งถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันพุธ(6ก.ค.)
รายงานชิลคอต ซึ่งมีเซอร์ จอห์น ชิลคอต อดีตข้าราชการที่เป็นผู้นำการไต่สวนและใช้เวลานานกว่า 7 ปีถึงแล้วเสร็จ ระบุว่าอังกฤษเข้าร่วมปฏิบัติการรุกรานที่นำโดยสหรัฐฯ ทั้งที่ยังเหลือทางเลือกอื่นๆและอยู่บนพื้นฐานของข่าวกรองผิดๆว่านายซัดดัม ฮุสเซน ประธนาธิบดีอิรัก ณ ขณะนั้นมีอาวุธทำลายล้าง
นายแบลร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะต่อกรณีที่ให้คำสัญญาสนับสนุนประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช หนึ่งปีก่อนหน้าการรุกราน ด้วยเขียนหนังสือถึงผู้นำสหรัฐฯว่า "ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราจะอยู่เคียงข้างคุณ"
ในรายงานระบุว่านายแบลร์ ไม่มีแผนทรัพยากรที่สมบูรณ์ ยืดหยุ่นและปฏิบัติได้จริง และขาดการเตรียมการต่างๆ"อย่างเลวร้าย" สำหรับเข้ายึดครองหลังการรุกรานในเบื้องต้น
ทหารอิรักมากกว่า 150,00 นายเสียชีวิตในช่วงเวลานั้น ส่วนอังกฤษมีกำลังพลเสียชีวิตในสงคราม 179 นาย และถอนทหารเกือบทั้งหมดออกมาในปี 2009 ขณะที่ ณ ปัจจุบัน ประเทศแห่งนี้ยังคงถูกรังควานจากความรุนแรงระหว่างนิกาย
นายแบลร์ ระบุในถ้อยแถลงชี้แจงว่าเขาดำเนินการด้วยความตั้งใจที่สุจริตและเชื่อว่ามันเป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของประเทศชาติ "ผมขอรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อความผิดพลาดใดๆ โดยปราศจากข้อยกเว้นหรือคำแก้ตัว แต่ผมเชื่อว่ามันดีกว่าหากโค่นซัดดัม ฮุสเซน พ้นจากอำนาจ"
อย่างไรก็ตามผลการไต่สวนได้ข้อสรุปที่ต่างออกไป โดยมันพบว่าปฏิบัติการทางทหารในอิรักเป็นมีความจำเป็นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในเดือนมีนาคม 2003 ยังไม่มีภัยคุกคามอย่างปัจจุบันทันด่วนจากซัดดัม ฮุสเซน
รายงานชิลคอต ซึ่งมีเซอร์ จอห์น ชิลคอต อดีตข้าราชการที่เป็นผู้นำการไต่สวนและใช้เวลานานกว่า 7 ปีถึงแล้วเสร็จ ระบุว่าอังกฤษเข้าร่วมปฏิบัติการรุกรานที่นำโดยสหรัฐฯ ทั้งที่ยังเหลือทางเลือกอื่นๆและอยู่บนพื้นฐานของข่าวกรองผิดๆว่านายซัดดัม ฮุสเซน ประธนาธิบดีอิรัก ณ ขณะนั้นมีอาวุธทำลายล้าง
นายแบลร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะต่อกรณีที่ให้คำสัญญาสนับสนุนประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช หนึ่งปีก่อนหน้าการรุกราน ด้วยเขียนหนังสือถึงผู้นำสหรัฐฯว่า "ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราจะอยู่เคียงข้างคุณ"
ในรายงานระบุว่านายแบลร์ ไม่มีแผนทรัพยากรที่สมบูรณ์ ยืดหยุ่นและปฏิบัติได้จริง และขาดการเตรียมการต่างๆ"อย่างเลวร้าย" สำหรับเข้ายึดครองหลังการรุกรานในเบื้องต้น
ทหารอิรักมากกว่า 150,00 นายเสียชีวิตในช่วงเวลานั้น ส่วนอังกฤษมีกำลังพลเสียชีวิตในสงคราม 179 นาย และถอนทหารเกือบทั้งหมดออกมาในปี 2009 ขณะที่ ณ ปัจจุบัน ประเทศแห่งนี้ยังคงถูกรังควานจากความรุนแรงระหว่างนิกาย
นายแบลร์ ระบุในถ้อยแถลงชี้แจงว่าเขาดำเนินการด้วยความตั้งใจที่สุจริตและเชื่อว่ามันเป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของประเทศชาติ "ผมขอรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อความผิดพลาดใดๆ โดยปราศจากข้อยกเว้นหรือคำแก้ตัว แต่ผมเชื่อว่ามันดีกว่าหากโค่นซัดดัม ฮุสเซน พ้นจากอำนาจ"
อย่างไรก็ตามผลการไต่สวนได้ข้อสรุปที่ต่างออกไป โดยมันพบว่าปฏิบัติการทางทหารในอิรักเป็นมีความจำเป็นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในเดือนมีนาคม 2003 ยังไม่มีภัยคุกคามอย่างปัจจุบันทันด่วนจากซัดดัม ฮุสเซน