นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเบื้องหลังปัญหารถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ ว่า เกิดจากคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐได้มีมติให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยเปลี่ยนจากระบบรัฐลงทุนเอกชนร่วมดำเนินการ เป็นเอกชนลงทุน และดำเนินการเองทั้งหมด พร้อมให้ทำสัญญาเดินรถแบบต่อเนื่องหรือที่เรียกว่าการเจรจา ซึ่งการเปลี่ยนระบบดังกล่าวจะทำให้บางบริษัทมีโอกาสได้ลงทุนในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งหมด คือ ตั้งแต่เตาปูน-ท่าพระ ที่ได้รับสัญญาสัปทานต่อเนื่อง 30 ปี จะสิ้นสุดในปี 2593
นายวิลาศ กล่าวอีกว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนรายใหญ่รายเดิม แบบไร้คู่แข่ง เพราะไม่เปิดให้ประมูลใหม่และรัฐจะเสียผลประโยชน์ ประชาชนจะต้องแบกรับค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐกลับมาทบทวนวิธีการจัดหาบริษัทเอกชนร่วมลงทุนใหม่ ก่อนที่จะมีมติอย่างทางการ
นายวิลาศ กล่าวถึงกรณีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่าเตรียมใช้งบประมาณ 174ล้านบาทต่อปี จัดหารถพิเศษรับส่งผู้โดยสารช่วงต่อขยายบางซื่อ-เตาปูน ว่า จะเกิดการสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ควรนำงบดังกล่าวไปพัฒนาและจัดเช่าขบวนรถไฟรับส่งช่วงต่อในสถานีดังกล่าวจะดีกว่า
นายวิลาศ กล่าวอีกว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนรายใหญ่รายเดิม แบบไร้คู่แข่ง เพราะไม่เปิดให้ประมูลใหม่และรัฐจะเสียผลประโยชน์ ประชาชนจะต้องแบกรับค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐกลับมาทบทวนวิธีการจัดหาบริษัทเอกชนร่วมลงทุนใหม่ ก่อนที่จะมีมติอย่างทางการ
นายวิลาศ กล่าวถึงกรณีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่าเตรียมใช้งบประมาณ 174ล้านบาทต่อปี จัดหารถพิเศษรับส่งผู้โดยสารช่วงต่อขยายบางซื่อ-เตาปูน ว่า จะเกิดการสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ควรนำงบดังกล่าวไปพัฒนาและจัดเช่าขบวนรถไฟรับส่งช่วงต่อในสถานีดังกล่าวจะดีกว่า