นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับหัวหน้า คสช.ที่ออกคำสั่ง มาตรา 44 ให้เรียนฟรี 15 ปี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการปฏิรูประบบการศึกษาของชาติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนเข้าถึงและมีความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางการศึกษา เป็นการริเริ่มที่มีนัยสำคัญ ซึ่งต้องชื่นชมความกล้าหาญของ คสช.ที่ใช้อำนาจถูกทาง แต่คำสั่งดังกล่าวยังอยู่ในระดับของนโยบาย และอาจถูกมองว่าหวังผลทางการเมืองเท่านั้น จึงต้องเร่งหากลไกปฏิบัติ และมาตรการทางกฎหมายรองรับ เพื่อวางหลักประกันว่าคำสั่งดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติในระยะยาว และไม่ถูกรื้อทิ้งในรัฐบาลต่อ ๆ ไป
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า การใช้คำสั่งมาตรา 44 ของ คสช. ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปีในลักษณะเรียนฟรีนั้น ถือเป็นโมเดลการปฏิรูปที่ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องรอกฎหมายก็ย่อมทำได้ด้วยอำนาจเต็มของ คสช. และอยากให้ คสช.ใช้โมเดลนี้เร่งการปฏิรูปในด้านอื่นๆ เช่น การปฏิรูปตำรวจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด ไม่ต้องรอร่างรัฐธรรมนูญผ่าน เพราะในตัวร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เขียนเนื้อหาการปฏิรูปไว้ชัดเจนแต่อย่างใด หรือแม้แต่กรอบข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)ที่เตรียมเสนอให้ใช้สูตร 70:30 หรือการแต่งตั้งโยกย้ายตามลำดับอาวุโสห้ามข้ามหัว เว้นแต่มีเหตุสมควรนั้น เป็นแค่เสี้ยวส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น ยังไปไม่ถึงการกระจายอำนาจ การสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบตำรวจ
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า สปท.เองต้องระมัดระวัง อย่าทำให้สังคมเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อไปว่านี่คือการปฏิรูปตำรวจ เพราะประชาชนคาดหวังมากกว่านั้น ที่สำคัญกระแสปฏิรูปตำรวจที่มีความต่อเนื่องกว่าเรื่องอื่น เพราะประชาชนอยากให้ปฏิรูปตำรวจเร่งด่วนก่อนทุกเรื่อง และที่ผ่านมามีความพยายามของคนที่ไม่อยากปฏิรูปออกมาบิดเบือน และสร้างวาทกรรมเทียมเพื่อหลบกระแสเป็นระยะๆ
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า การใช้คำสั่งมาตรา 44 ของ คสช. ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปีในลักษณะเรียนฟรีนั้น ถือเป็นโมเดลการปฏิรูปที่ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องรอกฎหมายก็ย่อมทำได้ด้วยอำนาจเต็มของ คสช. และอยากให้ คสช.ใช้โมเดลนี้เร่งการปฏิรูปในด้านอื่นๆ เช่น การปฏิรูปตำรวจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด ไม่ต้องรอร่างรัฐธรรมนูญผ่าน เพราะในตัวร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เขียนเนื้อหาการปฏิรูปไว้ชัดเจนแต่อย่างใด หรือแม้แต่กรอบข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)ที่เตรียมเสนอให้ใช้สูตร 70:30 หรือการแต่งตั้งโยกย้ายตามลำดับอาวุโสห้ามข้ามหัว เว้นแต่มีเหตุสมควรนั้น เป็นแค่เสี้ยวส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น ยังไปไม่ถึงการกระจายอำนาจ การสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบตำรวจ
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า สปท.เองต้องระมัดระวัง อย่าทำให้สังคมเข้าใจผิด หรือหลงเชื่อไปว่านี่คือการปฏิรูปตำรวจ เพราะประชาชนคาดหวังมากกว่านั้น ที่สำคัญกระแสปฏิรูปตำรวจที่มีความต่อเนื่องกว่าเรื่องอื่น เพราะประชาชนอยากให้ปฏิรูปตำรวจเร่งด่วนก่อนทุกเรื่อง และที่ผ่านมามีความพยายามของคนที่ไม่อยากปฏิรูปออกมาบิดเบือน และสร้างวาทกรรมเทียมเพื่อหลบกระแสเป็นระยะๆ