พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ซึ่งประกอบกิจการเอสเอ็มอี และอยู่ในสถานะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง
ทั้งนี้ การฟื้นฟูกิจการคือ กระบวนการทางศาลเพื่อรักษาธุรกิจไว้ ให้กิจการดำเนินต่อไปได้ ที่ผ่านมาจะมีเฉพาะบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้นที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้ รัฐบาลจึงต้องการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ยังมีศักยภาพ แต่อาจมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่สามารถชำระหนี้จำนวนไม่สูงมากได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ธุรกิจไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและล้มละลาย โดยมีขั้นตอนที่สะดวก ประหยัด รวดเร็ว ผ่านแผนฟื้นฟูสำเร็จรูป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ลูกหนี้ที่ขอฟื้นฟูกิจการ เอสเอ็มอี ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ส่วนบริษัทจำกัด ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท และมีช่องทางธุรกิจที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง พร้อมแผนฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ และหลักฐานการประชุมร่วมกัน เพื่อให้ศาลพิจารณาออกคำสั่ง
เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องหรือยึดทรัพย์ลูกหนี้ไม่ได้ และให้งดการยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดไว้ แต่ไม่ให้งดบริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และลูกหนี้ยังสามารถขอสินเชื่อธุรกิจตามปกติได้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องการให้ทุกหน่วยงานพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ทันสมัยและเป็นสากล เช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลาย โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย ที่มีการพัฒนากฎหมายฟื้นฟูกิจการเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนเอสเอ็มอี รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนข้อดีในการประเมินความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกอีกด้วย
ทั้งนี้ การฟื้นฟูกิจการคือ กระบวนการทางศาลเพื่อรักษาธุรกิจไว้ ให้กิจการดำเนินต่อไปได้ ที่ผ่านมาจะมีเฉพาะบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้นที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้ รัฐบาลจึงต้องการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ยังมีศักยภาพ แต่อาจมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่สามารถชำระหนี้จำนวนไม่สูงมากได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ธุรกิจไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและล้มละลาย โดยมีขั้นตอนที่สะดวก ประหยัด รวดเร็ว ผ่านแผนฟื้นฟูสำเร็จรูป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ลูกหนี้ที่ขอฟื้นฟูกิจการ เอสเอ็มอี ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ส่วนบริษัทจำกัด ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท และมีช่องทางธุรกิจที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง พร้อมแผนฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ และหลักฐานการประชุมร่วมกัน เพื่อให้ศาลพิจารณาออกคำสั่ง
เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องหรือยึดทรัพย์ลูกหนี้ไม่ได้ และให้งดการยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดไว้ แต่ไม่ให้งดบริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และลูกหนี้ยังสามารถขอสินเชื่อธุรกิจตามปกติได้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องการให้ทุกหน่วยงานพัฒนากฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ทันสมัยและเป็นสากล เช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลาย โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย ที่มีการพัฒนากฎหมายฟื้นฟูกิจการเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนเอสเอ็มอี รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสนับสนุนข้อดีในการประเมินความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกอีกด้วย