นายแพทย์ประภาส อุครานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลทั่วประเทศในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2556 - 2558 พบการฆ่าตัวตายต่อเนื่องมากสุดในพื้นที่ภาคเหนือ การฆ่าตัวตายเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบว่าช่วงอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด เป็นช่วงอายุ 35 - 39 ปี ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด อกหักรักคุด ปัญหาจากการติดยาเสพติด ติดสุรา ปัญหาจากโรคเรื้อรังเป็นโรคจิต โรคซึมเศร้า รวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจจากความยากจน เงินไม่พอใช้ หรือเสียทรัพย์จากการพนัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นเหมือนโรคๆ หนึ่งที่รักษาได้ และป้องกันได้ด้วยความร่วมมือจากทุกคน ซึ่งปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาทั่วโลกซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายให้ประเทศทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศให้ลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ภายในปี 2563 ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ ต้องทำให้อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ เหลือไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 30 ราย ช่วงอายุ 41 - 50 ปี มีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด โดยหน่วยป้องกันและปราบปรามมีการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด ซึ่ง พันตำรวจโทหญิง แพทย์หญิงอัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ประจำกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ และอดีตรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ความจริงอัตราการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจไม่ได้สูงกว่าอาชีพอื่น แต่ด้วยอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จที่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 - 3 เท่า เนื่องจากมีอาวุธปืนในครอบครอง การที่มีอัตราการปลิดชีพตนเองสูงในสายงานตำรวจมีสาเหตุจากลักษณะงานที่มีความเสี่ยงสูง ภาระงานมาก มีปัญหาด้านการเงินส่งผลให้เกิดความเครียด พบว่าบางรายมีอาการทางจิตและโรคซึมเศร้า ยิ่งกว่านั้นสังคมภายนอกยังมองตำรวจในด้านลบมากขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้ คือชนวนที่นำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายของตำรวจ อย่างไรก็ตาม พบว่าการให้กำลังใจจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นเหมือนโรคๆ หนึ่งที่รักษาได้ และป้องกันได้ด้วยความร่วมมือจากทุกคน ซึ่งปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาทั่วโลกซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายให้ประเทศทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายในแต่ละประเทศให้ลดลงจากเดิมร้อยละ 10 ภายในปี 2563 ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ ต้องทำให้อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ เหลือไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 30 ราย ช่วงอายุ 41 - 50 ปี มีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด โดยหน่วยป้องกันและปราบปรามมีการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด ซึ่ง พันตำรวจโทหญิง แพทย์หญิงอัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ประจำกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจ และอดีตรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ความจริงอัตราการฆ่าตัวตายของข้าราชการตำรวจไม่ได้สูงกว่าอาชีพอื่น แต่ด้วยอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จที่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 - 3 เท่า เนื่องจากมีอาวุธปืนในครอบครอง การที่มีอัตราการปลิดชีพตนเองสูงในสายงานตำรวจมีสาเหตุจากลักษณะงานที่มีความเสี่ยงสูง ภาระงานมาก มีปัญหาด้านการเงินส่งผลให้เกิดความเครียด พบว่าบางรายมีอาการทางจิตและโรคซึมเศร้า ยิ่งกว่านั้นสังคมภายนอกยังมองตำรวจในด้านลบมากขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้ คือชนวนที่นำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายของตำรวจ อย่างไรก็ตาม พบว่าการให้กำลังใจจากคนใกล้ชิดและเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้