เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พล.ต.ต.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า (บอร์ด อคส.) เปิดเผยว่า วันที่ 3 มิถุนายน จะหารือกับนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เพื่อขอความเห็นชอบดำเนินการกับมันเส้นในสต๊อกรัฐบาล ปริมาณรวม 387,000 ตัน แบ่งเป็นจากโครงการแทรกแซงมันสำปะหลังปี 2551/2552 ปริมาณ 31,400 ตัน ปี 2554/2555 ปริมาณ 99,000 ตัน และปี 2555/2556 ปริมาณ 250,000 ตัน เพราะจากการลงพื้นที่ตรวจสอบและหารือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน พบว่ามันเส้นดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ประโยชน์หรือแม้กระทั่งผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้อีก จึงจำเป็นต้องเผาทำลายทิ้ง ไม่เช่นนั้นจะเสียงบประมาณจัดเก็บเดือนละกว่า 11 ล้านบาท
“อคส.จะเสนอให้เผาทำลายทิ้งมันเส้นในโครงการปี 2551/52 ก่อน เพราะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว เป็นฝุ่นผงและเน่าเสีย ซึ่งยังไม่รู้ว่าถ้าเผาทิ้งจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ต้องรอ รมว.พาณิชย์ และคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลังเห็นชอบก่อน จึงจะศึกษาในรายละเอียดอีกครั้ง”พล.ต.ต.ไกรบุญกล่าว
และว่า ส่วนมันเส้นโครงการปี 2554/2555 และปี 2555/2556 มีบางส่วนที่ยังใช้ประโยชน์ได้ เพราะกระทรวงพลังงานแจ้งว่ายังสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ แต่โรงงานต้องมีกระบวนการผลิตที่ดี ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นผงที่เป็นมลพิษทางอากาศ ซึ่งขณะนี้รอกรมโรงงานอุตสาหกรรมยืนยันว่ามีโรงงานพลังงานทดแทนที่มีกระบวนการผลิตตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องเผาทำลายทิ้งเช่นกัน
พล.ต.ต.ไกรบุญกล่าวต่อว่า สำหรับการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น อคส.ฟ้องเจ้าของคลังสินค้าที่รัฐเช่าฝากเก็บ และบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (บริษัทเซอร์เวเยอร์)แล้ว เพราะพบว่ามันเส้นหายไปจากสต๊อก และคุณภาพเน่าเสียหายมาก โดยปี 2551/2552 แจ้งความดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องแล้ว 22 คดี ปี 2554/2555 ดำเนินคดีแล้ว 11 คดี และปี 2555/2556 ดำเนินคดีแล้ว 54 คดี ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากโครงการแทรกแซงราคาตั้งแต่ปี 2551/2552 รวม 94,000 ตัน อคส.คงต้องขอความเห็นชอบเผาทิ้งเช่นกัน เพราะเน่าเสียมากกว่ามันเส้น
ประธานบอร์ด อคส.ยังกล่าวถึงกรณีที่ผู้ชนะประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถรับมอบข้าว หรือขนข้าวออกจากโกดังได้ เพราะคุณภาพและชนิดไม่ตรงตามที่ประกาศในเงื่อนไขการประมูลว่า ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้าวในโกดังที่จ.ศรีสะเกษ และสุ่มเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบพบว่าข้าวเสื่อมสภาพมาก และยังเป็นข้าวผิดประเภท โดยรับจำนำข้าวหอมมะลิ แต่สินค้าในโกดังกลับเป็นข้าวขาว ส่วนที่จ.ชัยนาทที่รับมอบไม่ได้ 39,000 ตัน เพราะเป็นข้าวผิดประเภท เจ้าของคลังไม่รับผิดชอบ ซึ่งได้ยืนยันว่าคนที่ทำสัญญากับ อคส.ต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ ที่จ.นครสวรรค์ เชียงราย กำแพงเพชร รับมอบไม่ได้เช่นกัน อคส.ได้เจรจา เจ้าของและเซอร์เวเยอร์ยอมชดใช้แล้ว
พล.ต.ต.ไกรกล่าวด้วยว่า ต่อไปจะตรวจสอบอย่างละเอียดว่าข้าวเสื่อม ข้าวผิดชนิดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดก่อนหรือหลังจากที่ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ เพราะช่วงก่อนจะมีผู้ถือกุญแจโกดัง 4 คน คือ เจ้าของโกดัง, บริษัทเซอร์เวย์, ตัวแทนจังหวัด และเจ้าหน้าที่ อคส. หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) แต่หลังจากนั้นได้เพิ่มหน่วยงานทหารถือกุญแจด้วย ถ้าพบว่าผู้เกี่ยวข้องทั้ง 5 รายก่อให้เกิดการทุจริต จะดำเนินการตามกฎหมายทั้งแพ่งและอาญา และถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ยึดทรัพย์ด้วย เพราะเป็นความผิดฐานฟอกเงิน
รายงานข่าวแจ้งว่า มันเส้นและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รับจำนำในปี 2551/2552 เป็นช่วงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และปี 2554-2556 เป็นช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายแทรกแซงมันเส้นและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น
“อคส.จะเสนอให้เผาทำลายทิ้งมันเส้นในโครงการปี 2551/52 ก่อน เพราะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว เป็นฝุ่นผงและเน่าเสีย ซึ่งยังไม่รู้ว่าถ้าเผาทิ้งจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร ต้องรอ รมว.พาณิชย์ และคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลังเห็นชอบก่อน จึงจะศึกษาในรายละเอียดอีกครั้ง”พล.ต.ต.ไกรบุญกล่าว
และว่า ส่วนมันเส้นโครงการปี 2554/2555 และปี 2555/2556 มีบางส่วนที่ยังใช้ประโยชน์ได้ เพราะกระทรวงพลังงานแจ้งว่ายังสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ แต่โรงงานต้องมีกระบวนการผลิตที่ดี ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นผงที่เป็นมลพิษทางอากาศ ซึ่งขณะนี้รอกรมโรงงานอุตสาหกรรมยืนยันว่ามีโรงงานพลังงานทดแทนที่มีกระบวนการผลิตตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องเผาทำลายทิ้งเช่นกัน
พล.ต.ต.ไกรบุญกล่าวต่อว่า สำหรับการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น อคส.ฟ้องเจ้าของคลังสินค้าที่รัฐเช่าฝากเก็บ และบริษัทตรวจสอบคุณภาพ (บริษัทเซอร์เวเยอร์)แล้ว เพราะพบว่ามันเส้นหายไปจากสต๊อก และคุณภาพเน่าเสียหายมาก โดยปี 2551/2552 แจ้งความดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องแล้ว 22 คดี ปี 2554/2555 ดำเนินคดีแล้ว 11 คดี และปี 2555/2556 ดำเนินคดีแล้ว 54 คดี ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากโครงการแทรกแซงราคาตั้งแต่ปี 2551/2552 รวม 94,000 ตัน อคส.คงต้องขอความเห็นชอบเผาทิ้งเช่นกัน เพราะเน่าเสียมากกว่ามันเส้น
ประธานบอร์ด อคส.ยังกล่าวถึงกรณีที่ผู้ชนะประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถรับมอบข้าว หรือขนข้าวออกจากโกดังได้ เพราะคุณภาพและชนิดไม่ตรงตามที่ประกาศในเงื่อนไขการประมูลว่า ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้าวในโกดังที่จ.ศรีสะเกษ และสุ่มเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบพบว่าข้าวเสื่อมสภาพมาก และยังเป็นข้าวผิดประเภท โดยรับจำนำข้าวหอมมะลิ แต่สินค้าในโกดังกลับเป็นข้าวขาว ส่วนที่จ.ชัยนาทที่รับมอบไม่ได้ 39,000 ตัน เพราะเป็นข้าวผิดประเภท เจ้าของคลังไม่รับผิดชอบ ซึ่งได้ยืนยันว่าคนที่ทำสัญญากับ อคส.ต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ ที่จ.นครสวรรค์ เชียงราย กำแพงเพชร รับมอบไม่ได้เช่นกัน อคส.ได้เจรจา เจ้าของและเซอร์เวเยอร์ยอมชดใช้แล้ว
พล.ต.ต.ไกรกล่าวด้วยว่า ต่อไปจะตรวจสอบอย่างละเอียดว่าข้าวเสื่อม ข้าวผิดชนิดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดก่อนหรือหลังจากที่ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ เพราะช่วงก่อนจะมีผู้ถือกุญแจโกดัง 4 คน คือ เจ้าของโกดัง, บริษัทเซอร์เวย์, ตัวแทนจังหวัด และเจ้าหน้าที่ อคส. หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) แต่หลังจากนั้นได้เพิ่มหน่วยงานทหารถือกุญแจด้วย ถ้าพบว่าผู้เกี่ยวข้องทั้ง 5 รายก่อให้เกิดการทุจริต จะดำเนินการตามกฎหมายทั้งแพ่งและอาญา และถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จะส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ยึดทรัพย์ด้วย เพราะเป็นความผิดฐานฟอกเงิน
รายงานข่าวแจ้งว่า มันเส้นและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รับจำนำในปี 2551/2552 เป็นช่วงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และปี 2554-2556 เป็นช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยช่วงนั้นรัฐบาลมีนโยบายแทรกแซงมันเส้นและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น