นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. กล่าวถึงความคืบหน้าการสร้างความปรองดองของ สปท. ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว ทั้งเรื่องการเยียวยา และเรื่องคดีความ โดยเบื้องต้น สปท. ได้วางแนวทางแก้ปัญหาไว้ 2 ระดับคือ 1.การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายรัฐ เช่น คดีความผิดเล็กน้อยหรือมีเจตนาไม่ร้ายแรง อาจมีนโยบายของรัฐไม่ดำเนินคดีต่อ เช่น การใช้มาตรา 44 ถอนฟ้อง
2.การแก้ปัญหาโดยตัวกฎหมาย จะใช้วิธีการออกพระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนดรอการกำหนดโทษเพื่อความปรองดอง เพื่อให้คดีสิ้นสุดลงทันที โดยไม่ต้องมีการตัดสินคดีหรือฟังคำพิพากษา ซึ่งจะใช้กับคดีที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีแกนนำบุกยึดสถานที่ราชการ การปิดสนามบินหรือสี่แยกต่างๆ ที่เป็นอุดมการณ์ต่อสู้ทางการเมือง แต่มีการกระทำเลยเถิด เกินเลย ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมตามมา อย่างไรก็ตามจะไม่รวมถึงคดีทุจริต มาตรา 112 และการวางเพลิงเผาทรัพย์
สำหรับเงื่อนไขการเข้าสู่กฎหมายรอการกำหนดโทษนั้น ผู้ถูกดำเนินคดีต้องยอมรับสารภาพว่าตัวเองกระทำผิดในชั้นศาลก่อน หลังจากได้รับการรอการกำหนดโทษแล้ว จะมีมาตรการอื่นๆ มาควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้กลับไปกระทำผิดอีก อาทิ การห้ามชุมนุมการเมือง การห้ามปลุกปั่นก่อความวุ่นวาย รวมถึงอาจตัดสิทธิการเมืองตลอดไป โดยข้อห้ามเหล่านี้จะกำหนดไปตลอดชีวิต ไม่มีอายุความ หากใครฝ่าฝืนก็จะถูกเรียกตัวกลับมาดำเนินคดีทันที
ทั้งนี้ขอยืนยันว่ามาตรการรอการกำหนดโทษแตกต่างจากการนิรโทษกรรม เพราะการนิรโทษกรรมไม่มีข้อห้ามต่างๆ มาควบคุมหลังจากได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว โดยขณะนี้มีผู้เห็นด้วยกับมาตรการนี้จำนวนมาก และ สปท. เตรียมขอเข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในสัปดาห์หน้า เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้ฟังเพิ่มเติม และจะผลักดันกฎหมายรอการกำหนดโทษให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ก่อน สปท.จะหมดวาระ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
2.การแก้ปัญหาโดยตัวกฎหมาย จะใช้วิธีการออกพระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนดรอการกำหนดโทษเพื่อความปรองดอง เพื่อให้คดีสิ้นสุดลงทันที โดยไม่ต้องมีการตัดสินคดีหรือฟังคำพิพากษา ซึ่งจะใช้กับคดีที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีแกนนำบุกยึดสถานที่ราชการ การปิดสนามบินหรือสี่แยกต่างๆ ที่เป็นอุดมการณ์ต่อสู้ทางการเมือง แต่มีการกระทำเลยเถิด เกินเลย ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมตามมา อย่างไรก็ตามจะไม่รวมถึงคดีทุจริต มาตรา 112 และการวางเพลิงเผาทรัพย์
สำหรับเงื่อนไขการเข้าสู่กฎหมายรอการกำหนดโทษนั้น ผู้ถูกดำเนินคดีต้องยอมรับสารภาพว่าตัวเองกระทำผิดในชั้นศาลก่อน หลังจากได้รับการรอการกำหนดโทษแล้ว จะมีมาตรการอื่นๆ มาควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้กลับไปกระทำผิดอีก อาทิ การห้ามชุมนุมการเมือง การห้ามปลุกปั่นก่อความวุ่นวาย รวมถึงอาจตัดสิทธิการเมืองตลอดไป โดยข้อห้ามเหล่านี้จะกำหนดไปตลอดชีวิต ไม่มีอายุความ หากใครฝ่าฝืนก็จะถูกเรียกตัวกลับมาดำเนินคดีทันที
ทั้งนี้ขอยืนยันว่ามาตรการรอการกำหนดโทษแตกต่างจากการนิรโทษกรรม เพราะการนิรโทษกรรมไม่มีข้อห้ามต่างๆ มาควบคุมหลังจากได้รับการนิรโทษกรรมแล้ว โดยขณะนี้มีผู้เห็นด้วยกับมาตรการนี้จำนวนมาก และ สปท. เตรียมขอเข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในสัปดาห์หน้า เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้ฟังเพิ่มเติม และจะผลักดันกฎหมายรอการกำหนดโทษให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ก่อน สปท.จะหมดวาระ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น