รายงานข่าวแจ้งว่าว่า ในวันที่ 4 พ.ค. เวลา 10.00 น. นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความพันธมิตรฯ พร้อมกับครอบครัว ญาติพี่น้องของผู้ที่สูญเสียและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จะเดินทางไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี เพื่อแสดงเจตนารมณ์ และยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. คัดค้านความพยายามในการถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551
นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แสดงความเห็นต่อกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ร้องขอความเป็นธรรมต่อ ป.ป.ช. ให้พิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า 1.คดีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มีการไต่สวนไปแล้ว ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 86 ระบุว่า เรื่องที่ศาลรับฟ้องและอยู่ในการพิจารณาคดีห้ามมิให้ ป.ป.ช.ยกข้อกล่าวหานั้น
2.คดีนี้ตามสำนวนคำฟ้องแรกของ ป.ป.ช. ทางอัยการสูงสุดทักท้วงว่าสำนวนฟ้องดังกล่าวมีสภาพไม่สมบูรณ์ จึงนำไปสู่การตั้งกรรมการร่วมระหว่างอัยการกับ ป.ป.ช. ร่วมกันแก้ไขสำนวนฟ้องใหม่ทำให้มีความสมบูรณ์ขึ้น แล้วจึงฟ้องศาล สังคมไทยได้รับการตอกย้ำถึงความหนักแน่นในคำฟ้องที่สององค์กรร่วมกันทำ แล้วอยู่ๆ จะมาถอนฟ้อง จึงเป็นเรื่องชอบกลที่แม้แต่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยังเตือนว่าถ้า ปปช.คิดจะถอนฟ้อง ก็ต้องเตรียมรับมือความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นด้วย
3.ถึงอย่างไรอำนาจการอนุญาตให้ถอนฟ้องเป็นของศาล เพราะคดีเข้าสู่สารบบการพิจารณาคดีแล้วหาก ป.ป.ช.ยืนยันเดินหน้าถอนฟ้อง ก็ต้องรับแรงกดดันทางจริยธรรมของสังคมไทยอย่างหนักหน่วง จะกลายเป็นมลทินทางประวัติศาสตร์ของ ป.ป.ช.ที่ล้างบาปให้คนอื่น แล้วบาปตกอยู่ที่ตนเอง เพราะ ป.ป.ช.จะกลายเป็นองค์กรสิ้นศรัทธา ที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อีกต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าผู้เสียหายในคดีดังกล่าวจะไปดำเนินการฟ้องร้องกับ ป.ป.ช.ได้หรือไม่ แต่ตรงนี้จะถือว่าเป็นการทำผิดก็ไม่ได้ ส่วนหนึ่งต้องไปดูเหตุผลในกรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ถ้าศาลบอกว่าไม่อนุญาตเพราะไม่มีอำนาจ อย่างนี้ ป.ป.ช.เสี่ยง แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะไม่มีเหตุผลอันสมควร ถึงแม้ ป.ป.ช.จะมีอำนาจ จะบอกว่า ป.ป.ช.ผิดไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของดุลยพินิจของศาล
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายเขียนว่าการถอนฟ้องในคดีอาญาไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม และไม่ว่าใครเป็นโจทก์ก็ตาม ต้องขอให้ศาลเห็นชอบ มันแสดงอยู่ในตัวว่ามีอำนาจในการถอนฟ้อง
"เรื่องนี้ต่างกับกรณีอดีตกรรมการ ป.ป.ช.มีมติขึ้นเงินเดือนตัวเอง เพราะกรณีขึ้นเงินเดือนตัวเอง ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจแต่กลับทำ ซึ่งเรื่องที่จบไปแล้ว โดยกรรมการ ป.ป.ช.ชุดนั้นภายหลังนึกได้ก็เอาเงินมาคืน แต่ถือว่าความผิดสำเร็จ เพราะฉะนั้นเรื่องการถอนฟ้องไม่ได้เป็นความผิดอะไรในตัว โดยเฉพาะถ้า ป.ป.ช.เชื่อว่าตัวเองมีอำนาจ” นายวิษณุกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ถ้าจะฟ้องกลับ ป.ป.ช.ต้องดูเหตุผลของศาลก่อนใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ใช่แค่ดูก่อน แต่ต้องนำเหตุผลของศาลมาพิจารณาประกอบด้วย
นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แสดงความเห็นต่อกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ร้องขอความเป็นธรรมต่อ ป.ป.ช. ให้พิจารณาถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า 1.คดีดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มีการไต่สวนไปแล้ว ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 86 ระบุว่า เรื่องที่ศาลรับฟ้องและอยู่ในการพิจารณาคดีห้ามมิให้ ป.ป.ช.ยกข้อกล่าวหานั้น
2.คดีนี้ตามสำนวนคำฟ้องแรกของ ป.ป.ช. ทางอัยการสูงสุดทักท้วงว่าสำนวนฟ้องดังกล่าวมีสภาพไม่สมบูรณ์ จึงนำไปสู่การตั้งกรรมการร่วมระหว่างอัยการกับ ป.ป.ช. ร่วมกันแก้ไขสำนวนฟ้องใหม่ทำให้มีความสมบูรณ์ขึ้น แล้วจึงฟ้องศาล สังคมไทยได้รับการตอกย้ำถึงความหนักแน่นในคำฟ้องที่สององค์กรร่วมกันทำ แล้วอยู่ๆ จะมาถอนฟ้อง จึงเป็นเรื่องชอบกลที่แม้แต่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยังเตือนว่าถ้า ปปช.คิดจะถอนฟ้อง ก็ต้องเตรียมรับมือความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นด้วย
3.ถึงอย่างไรอำนาจการอนุญาตให้ถอนฟ้องเป็นของศาล เพราะคดีเข้าสู่สารบบการพิจารณาคดีแล้วหาก ป.ป.ช.ยืนยันเดินหน้าถอนฟ้อง ก็ต้องรับแรงกดดันทางจริยธรรมของสังคมไทยอย่างหนักหน่วง จะกลายเป็นมลทินทางประวัติศาสตร์ของ ป.ป.ช.ที่ล้างบาปให้คนอื่น แล้วบาปตกอยู่ที่ตนเอง เพราะ ป.ป.ช.จะกลายเป็นองค์กรสิ้นศรัทธา ที่ไม่อาจเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อีกต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าผู้เสียหายในคดีดังกล่าวจะไปดำเนินการฟ้องร้องกับ ป.ป.ช.ได้หรือไม่ แต่ตรงนี้จะถือว่าเป็นการทำผิดก็ไม่ได้ ส่วนหนึ่งต้องไปดูเหตุผลในกรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ถ้าศาลบอกว่าไม่อนุญาตเพราะไม่มีอำนาจ อย่างนี้ ป.ป.ช.เสี่ยง แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะไม่มีเหตุผลอันสมควร ถึงแม้ ป.ป.ช.จะมีอำนาจ จะบอกว่า ป.ป.ช.ผิดไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของดุลยพินิจของศาล
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายเขียนว่าการถอนฟ้องในคดีอาญาไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม และไม่ว่าใครเป็นโจทก์ก็ตาม ต้องขอให้ศาลเห็นชอบ มันแสดงอยู่ในตัวว่ามีอำนาจในการถอนฟ้อง
"เรื่องนี้ต่างกับกรณีอดีตกรรมการ ป.ป.ช.มีมติขึ้นเงินเดือนตัวเอง เพราะกรณีขึ้นเงินเดือนตัวเอง ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจแต่กลับทำ ซึ่งเรื่องที่จบไปแล้ว โดยกรรมการ ป.ป.ช.ชุดนั้นภายหลังนึกได้ก็เอาเงินมาคืน แต่ถือว่าความผิดสำเร็จ เพราะฉะนั้นเรื่องการถอนฟ้องไม่ได้เป็นความผิดอะไรในตัว โดยเฉพาะถ้า ป.ป.ช.เชื่อว่าตัวเองมีอำนาจ” นายวิษณุกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ถ้าจะฟ้องกลับ ป.ป.ช.ต้องดูเหตุผลของศาลก่อนใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ใช่แค่ดูก่อน แต่ต้องนำเหตุผลของศาลมาพิจารณาประกอบด้วย