พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ หรือ Nuclear Security Summit ครั้งที่ 4 อย่างเป็นทางการ ที่ศูนย์ประชุม Walter E.Washington Convention Center กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยกล่าวถ้อยแถลงช่วงเปิดการประชุมว่า ไทยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางนิวเคลียร์ โดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติฉบับใหม่ จะประกาศใช้ภายในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเป็นกฎหมายรองรับให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง เช่น อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการก่อการร้ายทางนิวเคลียร์ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองทางกายภาพของวัสดุนิวเคลียร์ เป็นต้น และกำลังปรับปรุงกฎระเบียบภายในเพื่อให้การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น นายกรัฐมนตรียังแสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์จำลองการรับมือเหตุการณ์วิกฤตความมั่นคงทางนิวเคลียร์ว่า จะต้องดำเนินการทั้งในระยะสั้น เน้นการควบคุมสถานการณ์ โดยระดมสรรพกำลังเพื่อจับตัวผู้ร้าย และดูแลความปลอดภัยของประชาชน เพื่อป้องกันความตื่นตระหนก และระยะยาว กำหนดมาตรการรับมือที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้อย่างถูกต้อง
จากนั้นนายกรัฐมนตรีร่วมหารือระหว่างอาหารกลางวัน ในการประชุม Nuclear Security Summit ครั้งที่ 4 และกล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ในฐานะไทยเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง ASEANTOM (อาเซียนตอม) (ASEAN Network of Regulatory Bodies on Atomic Energy) เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลนิวเคลียร์ของอาเซียน ขณะเดียวกัน ไทยให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และกรอบความร่วมมือต่างๆ อย่างเต็มที่ พร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางนิวเคลียร์
จากนั้นนายกรัฐมนตรีร่วมหารือระหว่างอาหารกลางวัน ในการประชุม Nuclear Security Summit ครั้งที่ 4 และกล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ในฐานะไทยเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง ASEANTOM (อาเซียนตอม) (ASEAN Network of Regulatory Bodies on Atomic Energy) เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลนิวเคลียร์ของอาเซียน ขณะเดียวกัน ไทยให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และกรอบความร่วมมือต่างๆ อย่างเต็มที่ พร้อมปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางนิวเคลียร์