นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 29 มี.ค. เห็นชอบมาตรการภาษี 2 เรื่อง ได้แก่ 1. มาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ โดยบุคคลธรรมดาสามารถนำรายจ่ายจากการจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร (ไม่รวมสุรา เบียร์ ไวน์) รวมถึงค่าที่พักโรงแรม มาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 9 วัน ระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย.
ส่วนการต่ออายุมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอีก 1 ปี โดยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนนิติบุคคลที่จัดอบรมสัมมนา สามารถนำรายจ่ายค่าโรงแรมมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งมีผลในปี 2559 นี้
ทั้งนี้หลักคิดสำหรับมาตรการช่วงสงกรานต์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของครอบครัว โดยผู้ที่ใช้จ่ายท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ จะสามารถหักลดหย่อนได้รวมกันถึง 30,000 บาท โดยยืนยันว่า ผลกระทบในแง่รายได้รัฐจากมาตรการดังกล่าวมีไม่มาก อีกทั้งรัฐบาลต้องการดึงผู้ประกอบการเข้าระบบภาษี
ส่วนการต่ออายุมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอีก 1 ปี โดยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนนิติบุคคลที่จัดอบรมสัมมนา สามารถนำรายจ่ายค่าโรงแรมมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งมีผลในปี 2559 นี้
ทั้งนี้หลักคิดสำหรับมาตรการช่วงสงกรานต์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของครอบครัว โดยผู้ที่ใช้จ่ายท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ จะสามารถหักลดหย่อนได้รวมกันถึง 30,000 บาท โดยยืนยันว่า ผลกระทบในแง่รายได้รัฐจากมาตรการดังกล่าวมีไม่มาก อีกทั้งรัฐบาลต้องการดึงผู้ประกอบการเข้าระบบภาษี