นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เตรียมนำรายละเอียดเกี่ยวกับการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปหารือกับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เพื่อสรุปว่าควรลดอัตราภาษีที่ขณะนี้มีอัตราสูงสุด 35% อย่างไร รวมถึงแนวทางปรับปรุงค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลที่ปัจจุบันให้หัก 40% แต่ไม่เกินปีละ 60,000 บาท หรือเดือนละ 5,000 บาทนั้น ที่เห็นว่าควรหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนในปี 59 เพื่อให้มีผลบังคับในปีภาษี 2560
“กรมได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นำเสนอไปยังฝ่ายนโยบาย 3-4 แนวทาง เพื่อให้ รมว.คลังตัดสินใจ ซึ่งขั้นตอนต่อไป รมว.คลังต้องหารือกับทีมเศรษฐกิจรัฐบาล เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดก่อนถึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะแต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียต่างกันและมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้รัฐที่แตกต่างกัน”
สำหรับการปรับปรุงภาษีเงินได้ครั้งนี้ เพื่อให้อัตราภาษีมีความทันสมัยและเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี และให้สอดคล้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ปรับลดลงเหลือ 20% จากเดิมจัดเก็บอยู่ที่ 30% และถ้านำภาษีเงินปันผลมารวมภาษีนิติบุคคลแล้ว ฐานของภาษีที่เสียจริงจะอยู่ที่ 28% ดังนั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เก็บ 35% จะพบว่า มีความแตกต่างกัน 7% ส่วนจะมีการลดอัตราสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับช่องว่างที่เกิดขึ้นหรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งนี้ กรมจะดูแลกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท ที่อยู่ในข่ายที่ไม่ต้องเสียภาษี และมีแนวโน้มว่าอาจเพิ่มอัตรารายได้ขั้นต่ำที่ไม่ต้องเสียภาษีให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้มีรายได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี รวมถึงจะปรับขั้นรายได้ของการเสียภาษี 7 ขั้นใหม่ด้วย
“รายการลดหย่อนที่จะปรับปรุงจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด เช่น ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3 คน แต่ของใหม่จะไม่กำหนดจำนวนบุตร เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีลูกมากขึ้น”.
“กรมได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นำเสนอไปยังฝ่ายนโยบาย 3-4 แนวทาง เพื่อให้ รมว.คลังตัดสินใจ ซึ่งขั้นตอนต่อไป รมว.คลังต้องหารือกับทีมเศรษฐกิจรัฐบาล เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดก่อนถึงจะเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะแต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียต่างกันและมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้รัฐที่แตกต่างกัน”
สำหรับการปรับปรุงภาษีเงินได้ครั้งนี้ เพื่อให้อัตราภาษีมีความทันสมัยและเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี และให้สอดคล้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ปรับลดลงเหลือ 20% จากเดิมจัดเก็บอยู่ที่ 30% และถ้านำภาษีเงินปันผลมารวมภาษีนิติบุคคลแล้ว ฐานของภาษีที่เสียจริงจะอยู่ที่ 28% ดังนั้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เก็บ 35% จะพบว่า มีความแตกต่างกัน 7% ส่วนจะมีการลดอัตราสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับช่องว่างที่เกิดขึ้นหรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งนี้ กรมจะดูแลกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท ที่อยู่ในข่ายที่ไม่ต้องเสียภาษี และมีแนวโน้มว่าอาจเพิ่มอัตรารายได้ขั้นต่ำที่ไม่ต้องเสียภาษีให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้มีรายได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี รวมถึงจะปรับขั้นรายได้ของการเสียภาษี 7 ขั้นใหม่ด้วย
“รายการลดหย่อนที่จะปรับปรุงจะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด เช่น ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3 คน แต่ของใหม่จะไม่กำหนดจำนวนบุตร เพื่อสนับสนุนให้คนไทยมีลูกมากขึ้น”.